การพัฒนาเกณฑ์ขั้นพื้นฐานประเมินคุณภาพขององค์กรผู้บริโภคและการรับรององค์กร เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

Main Article Content

วรรรณา ศรีวิริยานุภาพ
วิทยา กุลสมบูรณ์
สรีรโรจน์ สุกมลสันต์
สุนันทา ฟุ้งสร้อยระย้า

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นพื้นฐาน (เกณฑ์ฯ) และประเมินองค์กรผู้บริโภคด้วยเกณฑ์ดังกล่าว วิธีการ: การศึกษาระดมสมองจากผู้ทรงคุณวุฒิ 8 ท่านเพื่อพัฒนาเกณฑ์ฯ และเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานขององค์กรผู้บริโภคด้านสุขภาพ 100 องค์กรเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การให้คะแนนจาก 0-3 หลังจากนั้นนำเกณฑ์ฯ ที่ได้ประเมินองค์กรผู้บริโภค 297 องค์กรที่ยื่นขอรับรองคุณภาพขั้นพื้นฐานซึ่งถือเป็นการประเมินระยะที่ 1 หลังจากนั้นมีการกำหนดเกณฑ์ที่ใช้ประเมินเพื่อต่ออายุใบรับรองสำหรับองค์กรที่ผ่านการประเมินแล้ว การตรวจประเมินระยะที่ 2 จัดห่างจากระยะที่ 1 เป็นเวลา  2 ปีนั้น โดยสำหรับองค์กรผู้บริโภคเข้าตรวจรับรองเป็นครั้งแรก และองค์กรที่ประเมินเพื่อต่ออายุการรับรอง ผลการวิจัย: เกณฑ์เพื่อรับรององค์กรผู้บริโภค 14 ข้อประกอบด้วยเกณฑ์ด้านโครงสร้าง 7 ข้อ ด้านกระบวนการทำงาน 5 ข้อ และด้านผลการทำงาน 2 ข้อ ส่วนเกณฑ์ประเมินเพื่อต่ออายุการรับรอง 6 ข้อประกอบด้วยเกณฑ์ด้านกระบวนการทำงาน 5 ข้อ และด้านผลการทำงาน 1 ข้อ ซึ่งทั้งหมดเป็นเกณฑ์เดียวกับที่ปรากฏในเกณฑ์เพื่อรับรององค์กรผู้บริโภค เกณฑ์ผ่านการประเมิน คือ ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม การประเมินในระยะที่ 1 องค์กรผู้บริโภคผ่านการประเมิน 250 แห่งจากทั้งหมด 297 องค์กรที่เข้าประเมิน (ร้อยละ 84.18) ในการประเมินระยะที่ 2 องค์กรผู้บริโภคผ่านการประเมิน 156 องค์กรจากทั้งหมด 218 แห่ง (ร้อยละ 71.56) ทั้งนี้องค์กรผู้บริโภคที่ขอรับรองใหม่ 134 องค์กรผ่านการประเมิน 95 องค์กร (ร้อยละ 70.90) ส่วนองค์กรผู้บริโภคที่ขอรับรองเพื่อต่ออายุ 84 องค์กร ผ่านการประเมิน 61 องค์กร (ร้อยละ 72.62) ในเกณฑ์โครงสร้าง องค์กรที่รับการตรวจประเมินใหม่ ได้คะแนนเฉลี่ย 2.48 - 3.00 คะแนน (คะแนนเต็ม 3) สำหรับเกณฑ์กระบวนการทำงาน องค์กรที่รับการตรวจประเมินใหม่ และองค์กรผู้บริโภคที่รับการตรวจเพื่อต่ออายุได้คะแนนเฉลี่ย 1.32 - 2.04 และ 1.76 - 2.44 คะแนน ตามลำดับ สำหรับเกณฑ์ผลงานนั้น องค์กรที่รับการตรวจประเมินใหม่ได้คะแนนเฉลี่ย 0.59-2.67 ส่วนองค์กรที่รับการประเมินเพื่อต่ออายุได้คะแนนเฉลี่ย 2.67 คะแนน เกณฑ์ที่องค์กรที่ขอรับรองใหม่จำนวนมากได้เต็ม 3 คะแนนใน 3 อันดับแรก คือ จำนวนคนทำงาน (ร้อยละ 100 ขององค์กร) คณะกรรมการ/คณะทำงานตําแหน่งสําคัญ (ร้อยละ 97.01) ชื่อ (ร้อยละ 92.54) เกณฑ์ที่องค์กรที่ประเมินเพื่อต่ออายุจำนวนมากได้เต็ม 3 คะแนนใน 3 อันดับแรก คือ กิจกรรม/ผลงาน (ร้อยละ 79.76)  เอกสารที่สามารถตรวจสอบและอ้างอิง (ร้อยละ 59.52) มีบันทึกการประชุม (ร้อยละ 55.95) สรุป: เกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพขั้นพื้นฐานที่พัฒนาขึ้น สามารถนำมาใช้ประเมินคุณภาพขององค์กรผู้บริโภคเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาองค์กรดังกล่าวและเตรียมความพร้อมการเป็นองค์กรผู้บริโภคในสภาองค์กรของผู้บริโภคตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Constitution of the Kingdom of Thailand B.E.2540. Royal Gazette No. 114, Part 55A (Oct 11, 1997).

Constitution of the Kingdom of Thailand B.E.2550. Royal Gazette No. 124, Part 47A (Aug 24, 2007).

Constitution of the Kingdom of Thailand B.E.2560. Royal Gazette No. 134, Part 40A (Apr 6, 2017).

Act on Establishment of Consumers Council B.E. 2562. Royal Gazette No. 136, Part 67A (May 22, 2019).

Central Registrar Declaration in 2020 on Establish ment of Consumers Council B.E. 2563. Royal Gazette No. 137, Part 288D special (Dec 9, 2020).