มุมมองของเจ้าพนักงานเภสัชกรรมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อความสามารถในการปฏิบัติตามสมรรถนะวิชาชีพของเจ้าพนักงานเภสัชกรรมในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงมุมมองของเจ้าพนักงานเภสัชกรรมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อความสามารถในการปฏิบัติตามสมรรถนะวิชาชีพของเจ้าพนักงานเภสัชกรรมในประเทศไทย วิธีการ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจในเจ้าพนักงานเภสัชกรรมทั่วประเทศ จำนวน 342 คนซึ่งเลือกมาด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ตัวอย่างแบ่งเป็น 5 กลุ่มตามสถานที่ปฏิบัติงาน คือ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน/โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สถานพยาบาลอื่นๆ (เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) และโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงอื่นและโรงพยาบาลเอกชน การศึกษายังเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงานร่วมกับเจ้าพนักงานเภสัชกรรมในหน่วยงานทั้ง 5 กลุ่มข้างต้นจำนวน 342 คนซึ่งเลือกตัวอย่างมาแบบลูกโซ่ การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามความคิดเห็นต่อความสามารถในการปฏิบัติตามสมรรถนะวิชาชีพของเจ้าพนักงานเภสัชกรรมใน 7 งาน คือ งานบริการเภสัชกรรม งานผลิตยา งานบริหารเวชภัณฑ์ งานเภสัชสาธารณสุข งานบริการเภสัชสนเทศ งานบริบาลเภสัชกรรม และงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ ผลการวิจัย: เจ้าพนักงานเภสัชกรรมจากสถานที่ปฏิบัติงานทั้ง 5 กลุ่มรายงานความสามารถในการปฏิบัติตามสมรรถนะวิชาชีพที่แตกต่างกันในงานเภสัชสาธารณสุข (P=0.02) และเห็นว่า ความสามารถในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพของตนอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับมาก (คะแนนเต็ม 5) ดังนี้ งานบริการเภสัชกรรม (4.25±0.64) งานบริหารเวชภัณฑ์ (3.98±0.90) งานบริบาลเภสัชกรรม (3.90±0.65) งานผลิตยา (3.86±1.00) งานเภสัชสาธารณสุข (3.69±0.96) งานบริการเภสัชสนเทศ (3.57±1.13) และงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ (3.49±1.00) สำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากสถานที่ปฏิบัติงานทั้ง 5 กลุ่มรายงานความสามารถในการปฏิบัติตามสมรรถนะวิชาชีพที่แตกต่างกันในงานการผลิตยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) และเห็นว่า ความสามารถในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพทุกงานอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับมาก (คะแนนเต็ม 5) ดังนี้ งานบริการเภสัชกรรม (4.18±0.59) งานบริหารเวชภัณฑ์ (3.92±0.69) งานบริบาลเภสัชกรรม (3.82±0.65) งานผลิตยา (3.80±0.78) งานเภสัชสาธารณสุข (3.69±1.12) งานบริการเภสัชสนเทศ (3.40±0.98) งานเภสัชกรรมปฐมภูมิ (3.45±1.01) สรุป: เจ้าพนักงานเภสัชกรรมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงาน เห็นว่า เจ้าพนักงานเภสัชกรรมมีความสามารถในการปฏิบัติตามสมรรถนะวิชาชีพในระดับปานกลางถึงมาก แต่สมรรถนะที่ยังต้องพัฒนา คือ งานด้านบริการเภสัชสนเทศและเภสัชกรรมปฐมภูมิ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Kanjanapibul I. Pharmacists's attitude on the role of pharmacy supportive personnel in hospitals under the Provinial Hospital Division, Ministry of Public Health [master thesis] Bangkok: Chulalongkorn University; 1997.
Praboromarajchanok institute. Diploma programme in pharmaceutical techniques, revised 2018. Nonthaburi: Praboromarajchanok institute; 2018.
Thongnoi V. The relationships between role percep- tion and performance of pharmacy techinians according to pharmaceutical service standards of community hospital In the public health region 2 [indepent study] Khon kaen: Khon Kaen University; 2007.
Mattingly AN. Advancing the role of the pharmacy technician: A systematic review. J Am Pharm Assoc 2018; 58:94-108.
Sawaengdee K, Rajataram B, Sarakshetrin A, Chantra R, Muangyim K, Wattanakul S, et al. A study of the healthcare workforce for community public health, dental public health and technical pharmacy under the supervision of praboromarajchanok institute for health workforce development. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 2015; 3: 119-34.
Working Group to Prepare a Manual for Pharmacists in Primary Care Units. Manual for pharmacists in primary care units. Bangkok: Sri Muang Printing; 2017.
Chalongsuk R, Sribundit N, Tangtrakultham S, Lochid-amnuay S. Pharmacist's primary care service: A case study from National Health Security Office Region 5 Ratchaburi. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences 2015; 10: 46-67.
Pharmacy Council of Thailand. Competency of the pharmacy technician by the pharmacy council from the pharmacy council no. 6/2014 on July 21, 2014. Nonthaburi: Pharmacy Council of Thailand; 2014.
Lwanga SKLS. Sample size determination in health studies: a practical manual. Geneva: World Health Organization; 1991.
Uthaipan P. Development of an evaluation model for assessment of desirable competencies of pharma ceutical technique students in Sirindhorn College of Public Health under Praboromarajchanok Institute [dissertation] Bangkok: Sukhothai Thammathirat Open University; 2010.
Srisa-ard B. Preliminary research. 9th ed. Bangkok: Suwiriyasan; 2013.
Sirikaensai S. The performance of pharmacy techni cians in community hospital public health region 12 [master thesis] Khon Kaen: Khon Kaen University; 2012.
Rassameethammachot S. Approaches to develo- ping human potential with competency. 4th ed. Bangkok: Siriwattana Interprint; 2549.
Sayorwan W. Role of pharmacy technician in consu- mer protection fair in provincial public health office [master thesis]. Nakhorn pathom: Silpakorn University; 2004.