การพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยโดยการมี ส่วนร่วมของชุมชนในตำบลบ้านค้อ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

พิมลพรรณ ศรีภูธร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) บ้านค้อ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในผู้เข้าร่วมการประชุมที่คัดเลือกมาแบบเฉพาะเจาะจง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย ผู้ประกอบการร้านชำ ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ รพ.สต. เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และปลัดอำเภอโนนสัง รวม 25 คน การวิจัยใช้กระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการด้วยกระบวนการ A-I-C (appreciation-influence-control) ซึ่งเปิดโอกาสให้บุคคลและผู้แทนของกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชน การประเมินใช้แบบสอบถามความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทัศนคติต่อการจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยในชุมชน การวิเคราะห์ใบงานจากกระบวนการ A-I-C ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1) การย้อนอดีต ทบทวนปัจจุบัน และวาดฝันอนาคต 2) การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และ 3) การกำหนดวิธีการจัดการปัญหา จากนั้นประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการประชุมต่อรูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการด้วยกระบวนการ A-I-C และประเมินความคิดเห็นต่อจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังและเตือนภัยในชุมชน “คุ้มเฮา คุ้มกัน” โดยใช้แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ นอกจากนี้ยังประเมินความคิดเห็นต่อรูปแบบการประชุมจากตัวแทนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 5 คนที่คัดเลือกโดยผู้วิจัย โดยการสังเกตการณ์และบันทึกลงแบบสอบถามปลายเปิด ผู้วิจัยร่วมกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านค้อ ติดตามประเมินผลการดำเนินงานในชุมชนภายหลังการประชุม 2 เดือน ผลการวิจัย: ผู้เข้าร่วมการประชุมมีความพึงพอใจสูงสุดต่อทักษะของวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ (ค่าเฉลี่ย 4.4±0.80) และการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมซักถามหรือร่วมแสดงความคิดเห็น (ค่าเฉลี่ย 4.4±0.63) ประเด็นปัญหาหลักของชุมชน 3 ปัญหา คือ รถเร่ขายยา ยาอันตรายในร้านชำ และการโฆษณาเกินจริงจากสื่อวิทยุและโทรทัศน์ ผู้เข้าร่วมการประชุมได้ร่วมกำหนดร่างแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม อุปกรณ์ งบประมาณ และผู้รับผิดชอบ เพื่อจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในชุมชน ผู้เข้าร่วมการประชุมมีความพึงพอใจสูงสุดต่อบทบาทหน้าที่ศูนย์ “คุ้มเฮา คุ้มกัน”  คือ “ตรวจ เตือน ประชาสัมพันธ์ และรับเรื่องร้องเรียน” (ค่าเฉลี่ย 4.36 ± 0.62) ผลการติดตามพบว่า ในชุมชนเกิดเครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในชุมชนจากเดิม 1 จุดเพิ่มขึ้นอีก 4 จุด จากการประเมิน พบว่า ผู้ใหญ่บ้าน และ อสม. ทั้ง 4 จุด มีทักษะในการใช้ชุดทดสอบสเตียรอยด์ การบันทึกข้อมูลการตรวจตัวอย่าง ตลอดจนเข้าใจระบบการส่งต่อข้อมูลกรณีผลการตรวจเบื้องต้นเป็นบวก และมีการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน จากผลิตภัณฑ์สุขภาพ 10 ตัวอย่าง ผลตรวจสเตียรอยด์เป็นบวก 3 ตัวอย่างในยาผงจินดามณี ยาลูกกลอนสมุนไพรนานาชนิด และสมุนไพรมังกร (ยาแผนโบราณชนิดแคปซูล) สรุป: กระบวนการ A-I-C ช่วยกระตุ้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหา บูรณาการกับการตั้งศูนย์เฝ้าระวังและเตือนภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน “คุ้มเฮา คุ้มกัน” ช่วยให้ผู้ป่วยและคนในชุมชนเข้าถึงการตรวจสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างรวดเร็ว การศึกษาทำให้เกิดรูปแบบการจัดการปัญหาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งช่วยลดปัจจัยเสี่ยงจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Food and Drug Administration. Summary report of the implementation of the project to promote the use of safe drugs in communities 2018-2019 [online]. 2019 [cited Jul 9, 2020]. Available from: ndi.fda. moph.go.th/uploads/sensible_file/20191118101736.pdf.

Prasertsuk S. The crisis of “steroid” leakage outside the system – the unchanged uses of inappropriate drugs [online]. 2016 [cited Jul 9,2020]. Available from: www.hfocus.org/conten t/2016/12/13188

Saramon P, Ruengorn C, Seangphichai S, Wonghan kla B. Epidemic of Inappropriate health products and associated adverse events among chronic disease patients in border area, Wieng Kan District, Chiang Rai Province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2019; 11: 307-17

Academic Centers for Drug System Surveillance and Development. Managing advertising problems to the public [online]. 2011. [cited Jul 5, 2020]. Available from: www.thaidrugwatch.org/download/series/serie s12.pdf

Khontum A, Chanthapasa K. Situations on look-alike, sound-alike, look twins sound twins drugs in commu nities: case study in one sub-district in northeastern region. Thai Journal of Pharmacy Practice 2020; 12: 216-29.

Booddawong B, Kiatying-Angsulee N, Wanleepong K, Boonmanus L, Kadsomboon O, Dokbua J, et al. Sources and distribution of unlawful medicines in 8 provinces of Thailand : to Inform the public policy change. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2016; 11 (supplement): 260-8.

Department of Pharmacy and Consumer Health Protection, Non Sang Hospital. Report of health product surveillance center. Nongbualamphu: Non Sang Hospital; 2019-2020.

Department of Pharmacy and Consumer Health Protection, Non Sang Hospital. Report of primary care pharmaceutical center. Nongbualamphu: Non Sang Hospital; 2020.

Asipong S. Health product use behavior with no medical indications among patients with chronic diseases at Rasi Salai, Sisaket Province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2015; 7: 106-13

Hongsuksawat P. Promoting the correct and reasonable uses of drugs. Ya Wipak 2015; 5: 13-4

Phuumalee T, Arphasrithongkul S, Yingyod W, Saengsuwan T, Ammat L. Groceries development model with community Involvement in Phon Sung Subdistrict, Sakon Nakhon . Food and Drug Journal 2014: 57-63.

Luangsai N, Ruengorn C. Effect of the empower ment of village health volunteers in the area of prohibited drugs free quality groceries.Thai Journal of Pharmacy Practice 2019; 11: 639-47.

Yingyod W. The manual of the consumer protection system development project regarding health products (developments of the community warning centers on health products). 2018-2019 [online]. 2019 [cited Jul 1, 2020].Available from: www.sa wanghospital.com/sawang/myfile/190318_104823.pdf.

Angkanavisul T, Musikachai P. Lessons learned from the project on drug safety management within community by engaging the network of partners in Phra Nakhon Si Ayutthaya during 2015 – 2017. Thai Journal of Pharmacy Practice 2018; 10: 143-60.

Saenpakdee P. Mind map & AIC for participatory planning [online]. 2016 [cited Feb 27, 2017]. Availa ble from: www.prachasan.com/mindmapknowledge/ aic.htm.

Dhanasilangkura W. Management of the problem on cosmetics with prohibited substances by using community participation: A case study of Don-gloy Subdistrict, Phibunrak District in Udon Thani Province.Thai Journal of Pharmacy Practice 2018; 10: 61-8

Phaengkhamlai S, Pinata C. Development of mea sures to solve the problems associated with steroid use among the elderly through community participa tion, Bangu Subdistrict, Yangsrisurat District, Maha sarakham Province. Public Health Journal 2019;28 :441-54

Health Consumer Protection and Pharmacy Depart ment. Community drug safety campaign in Phitsanu lok during the fiscal year 2019 . Nongbualamphu: Nongbualamphu Public Health Office; 2019.

Department of Pharmacy and Consumer Health Protection, Non Sang Hospital. Report of health product vigillance center. Nongbualamphu: Nonsang Hospital; 2018-2019.