การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบปลอดยาปฏิชีวนะ ยาชุด ยาผสมสารสเตียรอยด์ : กรณีเทศบาลตำบลทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบปลอดยาปฏิชีวนะ ยาชุด และยาผสมสารสเตียรอยด์ในเทศบาลทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย วิธีการ: การศึกษาเชิงปฏิบัติการนี้ทำใน 2 วงรอบ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการสำรวจข้อมูลสภาพปัญหาใน 13 หมู่บ้านเพื่อนำไปวางแผน ระยะที่ 2 มีกิจกรรมประกอบด้วยการวางแผนและแก้ไขปัญหาผ่านประชาคม การสร้างนโยบายสาธารณะที่ตกลงร่วมกัน ผลักดันให้เป็นนโยบายผ่านคณะกรรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต และบรรจุในธรรมนูญสุขภาพ การออกตรวจของเภสัชกรและเครือข่ายในชุมชน การจัดการแหล่งกระจายยา การสัมภาษณ์เชิงลึกแกนนำเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข (คบส.) จำนวน 45 คน ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 26 คน แกนนำชุมชน 13 คน ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 คน ตัวแทนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 2 คน เภสัชกรในระดับโรงพยาบาล 1 คน และระดับจังหวัด 1 คน การวัดความรู้ก่อน-หลังการอบรมในผู้ประกอบการร้านชำ 37 ร้าน ระยะที่ 3 เป็นการประเมินผลการดำเนินงานโดยประชาชน ทั้ง 13 หมู่บ้านหย่อนกล่องแสดงความคิดเห็น และการเขียนชื่อร้านที่มีการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสม หมุนเวียนไปทุกหมู่บ้านและทุกเดือน ผลการวิจัย: การสำรวจร้านชำในระยะที่ 1 พบร้านชำที่จำหน่ายยาที่ผิดกฎหมายร้อยละ 75.68 โดยเป็นยาปฏิชีวนะ (ร้อยละ 64.86 ของร้านชำ) ยาชุด (ร้อยละ 21.62 ของร้านชำ) และยาแผนโบราณที่ผสมสารสเตียรอยด์ (ร้อยละ 13.22 ของร้านชำ) ในระยะที่ 2 คะแนนความรู้เฉลี่ยของผู้ประกอบการร้านชำก่อนการอบรม คือ เฉลี่ย 7.32±1.38 หลังการอบรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเป็น 16.00±1.26 (P<0.001) (คะแนนเต็ม 20 คะแนน) หลังการดำเนินงานไม่พบร้านค้าในชุมชนที่จำหน่ายยาปฏิชีวนะ ยาชุด ยาผสมสารสเตียรอยด์เลย จากการเฝ้าระวังโดยเครือข่าย คบส. และ อสม. ตลอดจนการแจ้งเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ผ่านเวทีประชุม อสม. หรือกลุ่มไลน์คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลทุกเดือน ทำให้ปัญหาดังกล่าวหมดไป สรุป: กลไกการมีส่วนร่วมผ่านรูปแบบคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับหมู่บ้านถึงระดับอำเภอ ช่วยให้ชุมชนตำบลทุ่งหลวง สามารถเป็นชุมชนต้นแบบปลอดยาปฏิชีวนะ ยาชุด ยาผสมสารสเตียรอยด์ได้
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Drug. Act B.E. 2510. Royal Gazette No. 84, Part101 special (Oct 20, 1967).
Chuengsatiansup K, Sringern-Yuang L, Paunil W. Drug and community: cultural dimension. Bangkok: DeewonPrint; 2007.
Word Health Organization. Promoting rational use of medicines: core components. Geneva: Word Health Organization; 2002.
National Antimicrobial Resistance Surveillance Center of Thailand. Situations of drug resistance in Thailand [online]. 2018 [cited Oct 25, 2019]. Available from: narst.dmsc.moph.go.th/links.html.
Achananupap S. Triple triangle theory: concepts, strategies and tactics for change [online]. 2019 [cited Dec 18, 2019]. Available from: www.faceboo k.com/notes/surakiat-achananuparp/10906278911 0057.
Phectcharaburain P, Saokaew S. Prevalence of unsafe medicines in groceries: a case study in districts of Lom Kao, KhaoKho and Nam Nao in Phetchabun province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2018; 2: 422-30.
WiriyanutaiP. Prevalence and characteristics of groceries provided antibiotics in Ngaodistric, Lam pang provice. Thai Journal of Pharmacy Practice 2015; 7: 167-77.
Booddawong B, Yoongthong W. Community empo werment in the management of the problem on inappropriate drugs and health products: case study of Nonkhun district, Sisaket province. Thai journal of Pharmacy Practice 2016; 8: 331-43
Booddawong B, Kiatying-Angsulee N, Wanleepong K, Boonmanus L, Kadsomboon O, Dokbua J, Pratomnam J, et al. Sources and distribution of unlawful medicines in 8 provinces of Thailand: to inform the public policy change. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2016; 11 (Supplement): 260-8.
Boonyoung U, Muenpa R. Prevalence of factors affecting inappropriate sale of drugs in grocery stores within Phitsanulok Province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2018; 10: 105-18.
Plengchai S. Interventions for inappropriate distri bution of drugs in communities. Roi-Et: Health Consumer protection program; 2011. Report No.:52-00-0360/52-12.
Pattamasaravut P, Muenpa R. Development of model grocery stores from the civil state project on collective action for drugs safety in communities Thai Journal of Pharmacy Practice 2020; 12: 601-11.