เหตุผลการเคลื่อนย้ายกำลังคนของเภสัชกรร้านยาในจังหวัดเชียงใหม่: งานวิจัยเชิงคุณภาพ

Main Article Content

นภคิน แก้วปัญญา
ขวัญมณธิดา เดชอิ่ม
พักตร์วิภา สุวรรณพรหม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเข้าใจเหตุผลการตัดสินใจในการเคลื่อนย้ายกำลังคนของเภสัชกรร้านยา ปัจจัยนำเภสัชกรย้ายเข้า และปัจจัยที่ทำให้เภสัชกรย้ายออกจากการทำงานร้านยาในจังหวัดเชียงใหม่ วิธีการ: งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเภสัชกรร้านยา 21 คนที่ปฏิบัติงานในอำเภอเมืองเชียงใหม่และอำเภอใกล้เคียง ผู้ให้ข้อมูลถูกคัดเลือกแบบจำเพาะเจาะจงและแบบลูกโซ่ โดยเป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระยะเวลา 10 ปี เก็บข้อมูลระหว่างมิถุนายน 2562 ถึงกุมภาพันธ์ 2563 และวิเคราะห์เชิงคุณภาพแบบพรรณนาเชิงแก่นสาระ ผลการวิจัย: การย้ายเข้าและย้ายออกจากร้านยามีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัย ประกอบด้วย 1) ปัจจัยส่วนบุคคล เป็นเหตุผลที่เกี่ยวกับครอบครัวและบุคลิกส่วนตัว เช่น ความรับผิดชอบต่อครอบครัว ความต้องการมีธุรกิจส่วนตัว หรืออุปนิสัยส่วนตัว เป็นต้น 2) ปัจจัยด้านลักษณะของงานร้านยา เช่น การดูแลผู้ป่วยในโรคพื้นฐานทำให้เภสัชกรมีความมั่นใจในการทำงาน มีความเป็นอิสระ และมีความมั่นคงในส่วนของเงินเดือนทำให้เภสัชกรย้ายเข้า ในทางกลับกันความไม่แน่นอนของตารางงานนี้ก็ทำให้เภสัชกรย้ายออกเช่นกัน และ 3) ปัจจัยด้านประสบการณ์ในทางวิชาชีพจากการฝึกปฏิบัติงานซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เภสัชกรเลือกปฏิบัติงานในร้านยา สรุป: ปัจจัยส่วนบุคคลและครอบครัว ลักษณะของงานในร้านยา รวมถึงประสบการณ์ในการทำงานและการฝึกงาน ล้วนแล้วแต่มีผลต่อการตัดสินใจของเภสัชกรในการเคลื่อนย้ายงานจากร้านยา ข้อมูลดังกล่าวมีประโยชน์ต่อการวางแผนกำลังคนเภสัชกร และการกำหนดนโยบายเพื่อสนับสนุนให้เภสัชกรเข้ามาทำงานและคงอยู่ในร้านยาเพื่อพัฒนางานบริการในงานร้านยาอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Drug Act B.E. 2510. Royal Gazette. No. 88, Part 101. (Oct 25,1967).

Juntaparsar K, Jaisa-art R, Kasemsombun N. Migration of pharmacy manpower in Thailand since past until now. Journal of Health Systems Research. 2008; 1: 47-55.

The Pharmacy Council of Thailand. The Assembly of Pharmacy in Thailand to celebrate one hundred years anniversary of pharmacy in Thailand. Bangkok: U-sa publishing; 2013.

The Committee of Pharmacy Academics. The past, present and future of pharmacy academic in Thailand (Part 1). Isan Journal of Pharmaceutical Sciences. 2014; 10: 1-15.

Public Health Ministerial Rule in 2013 on license application and licensing of modern drug selling. Royal Gazette No.130, Part 126A (Dec 27, 2013).

National Health Security Office. Community pharmacy. [online]. 2019. [cited Jun 14, 2020]. Available from: www.nhso.go.th/FrontEnd/page-contentdetail.aspx?CatID=MTI4OA==.

Sanatorium Act B.E. 2541. Royal Gazette. No. 115, Part 15A. (March 15,1998).

Suttajit S, Suwannaprom P, Supapaan T, Eakanunkul S, Tangkiatkumjai M, Kongkaew C, et al. Are we on the right track? Answers from a national survey of Thai graduates’ perceptions during the transition to the 6-year PharmD program. Adv Med Educ Pract 2018; 9: 713-22.

Suttajit S, Suwannaprom P, Chanakit T, Tangkiatkumjai M, Kongkaew C, Eakanunkul S, et al. Professional competency and perceptions toward the pharmacy profession and pharmacy curriculum among pharmacy graduates 2016. Chiang Mai: Center for Community Drug System Research and Development; 2017.

Pumpoung S. Factors influencing staff resignation trend of at a private hospital in Rat-Burana District [independent study]. Bangkok: Rajamangala Univer- sity of Technology Rattanakosin; 2016.

Suwannaprom P, Suttajit S, Plodpai P, Prapaso N, Srisuphan V. Pharmacy workforce: a call for professionnal cohesion to meet the rising healthcare demand. Journal of Health Science 2020; 29: s141-51.

National Health Security Office. Ministry of Public Health. Explaining the guidelines for filling prescriptions from drugstores-Increase convenience for patients, reduce congestion in the hospital before D-Day [online]. 2019. [cited May 16, 2020]. Available from: ww.nhso.go.th/frontend/NewsInformationDetail .aspx?newsid=MjU5MA==.

Waleekhachonloet O, Suksai N, Rattanachotphanit T, Limwattananon C, Srithamrongsawat S. Know ledge on policy supporting health services for chronic disease and hospital pharmacist participa tion at primary care unit. Journal of Health Systems Research 2012; 6: 446-54.

Tezuka K. Physicians and professional autonomy. Jpn Med Assoc J 2014; 57: 154-8.

Tsao NW, Gastonguay L, Marra CA. Factors associated with pharmacists’ perceptions of their working conditions and safety and effectiveness of patient care. Can Pharm J 2016; 149: 18-27.

Lamp S, Tsuyuki RT. Pharmacists vs employers: A showdown over professional autonomy and patient care? Can Pharm J 2017; 150: 138-9.