การทดแทน ปัญหาและข้อเสนอแนะในการทดแทนยาแผนปัจจุบันด้วยยาสมุนไพรในโรงพยาบาลของรัฐ: การศึกษานำร่องจากมุมมองของบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ปัทมา แคสันเทียะ
ทิพาพร กาญจนราช

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อรวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะในการทดแทนยาแผนปัจจุบันด้วยยาสมุนไพรในโรงพยาบาลของรัฐ โดยศึกษาจากมุมมองของบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  วิธีการวิจัย: การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล คือ บุคคลากรทางการแพทย์ 30 คนในโรงพยาบาลของรัฐที่ตั้งในจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น และร้อยเอ็ด ประกอบด้วยแพทย์และพยาบาลวิชาชีพละ 10 คน เภสัชกรและแพทย์แผนไทยวิชาชีพละ 5 คน การเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกตามแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อเพื่อรวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะในการทดแทนยาแผนปัจจุบันด้วยยาสมุนไพรในโรงพยาบาลของรัฐ  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาตามกรอบการจัดการ คือ บุคลากร งบประมาณ วัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ และการจัดการและนโยบาย รวมถึงด้านผู้ใช้ยา ผลการวิจัย: ปัญหาในด้านบุคลากรที่พบมาก คือ การขาดความรู้เกี่ยวกับยาสมุนไพร ข้อเสนอแนะของผู้ให้ข้อมูลในการแก้ปัญหา คือ ให้จัดการอบรมให้ความรู้ด้านยาสมุนไพร ด้านงบประมาณมีปัญหาที่พบมาก คือ ต้นทุนการรักษาด้วยยาสมุนไพรต่อครั้งสูงกว่ายาแผนปัจจุบัน ข้อเสนอแนะ คือ ควรหาแนวทางลดต้นทุนยาสมุนไพร ด้านวัตถุดิบมีปัญหาที่พบมาก คือ สมุนไพรมีรูปลักษณ์ที่ไม่น่าใช้ จึงควรปรับปรุงรูปลักษณ์ให้น่าใช้มากขึ้น ด้านการจัดการและนโยบายพบปัญหา คือ ผู้บริหารยังไม่เห็นความสำคัญในเรื่องการทดแทนยาแผนปัจจุบันด้วยยาสมุนไพร  ข้อเสนอแนะในด้านนี้ คือ กระทรวงสาธารณสุขควรหาแนวทางกระตุ้นเพื่อให้ผู้บริหารให้ความสำคัญมากขึ้น ปัญหาด้านผู้ใช้ยา ผู้ให้ข้อมูลมองว่า ผู้ป่วยยังไม่เชื่อมั่นยาสมุนไพร ดังนั้น ควรให้ข้อมูลเรื่องประสิทธิผลของยาสมุนไพรแก่ประชาชน สรุป: ปัญหาและข้อเสนอแนะของการทดแทนยาแผนปัจจุบันด้วยยาสมุนไพรในมุมมองของผู้ให้บริการที่สำคัญอยู่ในด้านบุคลากร จึงควรมุ่งส่งเสริมความรู้ ทัศนคติ และความเชื่อมั่นต่อยาสมุนไพรให้บุคคลากรทางการแพทย์ให้มากขึ้น ส่วนในด้านงบประมาณ ควรหาแนวทางในการลดต้นทุนของยาสมุนไพรให้ถูกลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

National Drug Committee. National Drug List 2004, List of herbal medicinal products A.D.2006. 5th ed. Bangkok: Publising House of the Agricultural Coope rative Federation of Thailand; 2006.

Nonting P, Charoenporn S, Kunwaradisai N, Watcha rathanakij S, Vadhnapijyakul A. Situation and restrictions for the use of herbal medicines in public hospitals. In: Patanasethanont D, editors. The 5th Annual Northeast Pharmacy Research Conference; “Pharmacy Profession: Moving Forward to ASEAN Harmonization”; 2003 Feb 16 – 17; Mahasarakham: Mahasarakham University; 2013. p29.

Strategy and Planning Division, Office of the Permanent Secretary. Details of indicators from the Ministry of Public Health Annual budget 2019. Nontaburi: Office of Policy and Strategy Ministry of Public Health; 2019.

Department of Thai Traditional and Alternative Medicine. Thai public health report: Thai traditional medicines, folk medicine and alternative medicine. Bangkok: Printing House of the Agricultural Cooperative Federation of Thailand; 2016.

Harinawan P, Damnoenssawat W, Srikajang P, Maneewong N. Usage of herbal alternatives to modern medicine in Lampang hospital and community hospitals in Lampang Province. Lampang: Lampang Public Health Office; 2009.

Academic and Planning Division, Department of Thai Traditional and Alternative Medicines. Strategic plan of the Department of Thai Traditional Medicine and Alternative Medicine for 5 years (2017 - 2021). Nonthaburi:Department of Thai Traditional Medi cine; 2019.