การพัฒนาสถานที่ผลิตเครื่องสำอางในจังหวัดสงขลา

Main Article Content

วิไลวรรณ สาครินทร์
อารยา ส่องศรี
ดุริพัธ แจ้งใจ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัญหาของสถานที่ผลิตเครื่องสำอางในจังหวัดสงขลา และพัฒนาสถานที่ผลิตเครื่องสำอางให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการผลิตหรือนำเข้าเครื่องสำอาง พ.ศ. 2561 วิธีการ: การศึกษาแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 เป็นการศึกษาสภาพปัญหาของสถานที่ผลิตเครื่องสำอางในจังหวัดสงขลาจำนวน 325 แห่งที่ปรากฏข้อมูลในระบบ e-submission ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยเก็บข้อมูลตามแบบสำรวจสถานที่ผลิตเครื่องสำอาง ช่วงที่ 2 เป็นการพัฒนาสถานที่ผลิตเครื่องสำอางเป้าหมาย จำนวน 38 แห่ง โดยใช้วัฏจักร Deming (Plan-Do-Check-Act: PDCA) จำนวน 2 รอบ และประเมินผลโดยใช้แบบประเมินสถานที่ผลิตตามประกาศฯ ผลการศึกษา: การศึกษาช่วงที่ 1 พบสถานที่ผลิตเครื่องสำอางตรงตามที่จดแจ้งเพียงร้อยละ11.69 สถานที่ซึ่งไม่พบตามที่จดแจ้งไว้นั้น ส่วนใหญ่เป็นอาคารที่ไม่ใช้สถานที่ผลิตและผู้ประกอบการว่าจ้างผู้อื่นให้ทำการผลิตเครื่องสำอางให้ รองลงมาพบว่าเป็นบ้านไม่มีผู้อยู่อาศัย บ้านร้าง บ้านปิด หรือประกอบกิจการอื่น การศึกษาช่วงที่ 2 พบว่า สถานที่ผลิตเครื่องสำอางทุกแห่งที่ได้รับการพัฒนาตามวัฏจักร Deming ในรอบที่ 2 มีคะแนนประเมินสูงกว่ารอบที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) สถานที่ผลิตเครื่องสำอางผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.63 เป็นร้อยละ 68.42 เมื่อพิจารณาคะแนนประเมินสถานที่ผลิตเครื่องสำอางเป็นรายหมวด พบว่า คะแนนประเมินในรอบที่ 2 สูงกว่ารอบที่ 1 ทุกหมวด หมวดที่มีคะแนนประเมินเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ หมวดการควบคุมคุณภาพ รองลงมา คือ หมวดข้อร้องเรียนและหมวดข้อมูลทั่วไป สรุป: ผลการศึกษาทำให้ทราบสภาพปัญหาสถานที่ผลิตเครื่องสำอาง การพัฒนาตามวัฏจักร Deming ทำให้สถานที่ผลิตเครื่องสำอางเป็นไปตามหลักเกณฑ์เพิ่มขึ้น แต่ยังคงมีสถานที่ผลิตจำนวนหนึ่งที่ไม่ผ่านเกณฑ์ในบางประเด็น ดังนั้น  จึงควรมีการพัฒนาและติดตามอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มมาตรการด้านการบังคับใช้กฎหมายในกรณีที่ผู้ผลิตเครื่องสำอางไม่ให้ความร่วมมือในการพัฒนาสถานที่ให้เป็นไปตามประกาศฯ   

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Songkhla Provincial Health Office. Summary of consumer protection activities. Songkhla: Songkhla Provincial Health Office; 2017.

Cosmetics Act. B.E 2558. Royal Gazette No. 132, Part 86A (September 8, 2015).

Niampoka R, Saokaew S. The study of the situation of cosmetic production sites and the potential of cosmetic manufacturers in Thailand. Thai Food and Drug Journal 2019; 26: 54-67.

Public Health Ministerial Declaration in 2018 on regarding the criteria, procedures and condition for manufacturing and importing of cosmetics. Royal Gazette No. 135, Part 117D special (May 23, 2018).

Pobsamai R. The development of a health promotion management practice guideline for hypertension client in Sakon Nakhon Hospital Brance1, Sakon Nakhon Province. [master thesis]. Chonburi: Burapa University; 2016.

Public Health Ministerial Declaration No. 193 in 2000 on production process, production equipment and food storage. Royal Gazette No. 118, Part 6D special (Jan 24, 2001).

Pongsanit P, Leethongdee S, Sota C. The quality improvement for child care centre based on the healthy child care centre standard: A case study of child care centre Saimoon District, Yasothon Province. Rajabhat Maha Sarakham University Journal 2013; 7: 75-83.

Preechathaveekid S. Evaluation of cosmetic manu facturing facilities according to the criteria, procedures, and conditions in cosmetic manufacturing. Thai Food and Drug Journal 2019; 26: 68-78.

Sawasdee W, Pichainarong N, Sulaporn Loiha S. The development of the laboratory model at tambon health promoting hospital, Khuangnai District, Ubon Ratchathani Province. Journal of Srivanalai Vijai 2017; 7: 133-143.

Chamnakpol P. Policy option for controlling the controlled cosmetic Manufacturing Site. Thai Food and Drug Journal 2016; 23: 54-62