การประเมินและถอดบทเรียนโครงการส่งเสริมยาปลอดภัยในชุมชนจังหวัดพิษณุโลกปีงบประมาณ 2560

Main Article Content

อัปสร บุญยัง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลและถอดบทเรียนเพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จ ปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้ยาปลอดภัยในชุมชนของจังหวัดพิษณุโลกปีงบประมาณ 2560 วิธีการวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมที่มี 3 ขั้นตอน ได้แก่  1) การประเมินผลการดำเนินงานซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสำรวจยาในครัวเรือนและแบบบันทึกการตรวจร้านค้าปลีก  2) การคัดเลือกพื้นที่เพื่อถอดบทเรียนโดยใช้แบบประเมิน และ 3) การถอดบทเรียนเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย: ในขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินงาน การสำรวจยาในครัวเรือนพบว่า ตำบลนาบัว อำเภอนครไทยมีครัวเรือนที่พบยาปฏิชีวนะเหลือใช้น้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 7.4 และพบยาหรือผลิตภัณฑ์ปนเปื้อนสเตียรอยด์น้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 12 ผลการสำรวจยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านค้าปลีกพบว่า ตำบลนี้มีจำนวนร้านค้าปลีกที่พบยาปฏิชีวนะน้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 57.1 และไม่พบยาหรือผลิตภัณฑ์ปนเปื้อนสเตียรอยด์ ผู้วิจัยจึงเลือกตำบลนี้เพื่อถอดบทเรียน ผลการศึกษาพบว่า ตำบลนี้ประสบความสำเร็จในการดำเนินโครงการฯ โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ ทุกภาคีเครือข่ายยอมรับว่า การทำงานให้สำเร็จนั้นจะต้องใช้ความมีส่วนร่วมของหุ้นส่วน และคนเพียงคนเดียวหรือกลุ่มบุคคลเดียวไม่สามารถทำงานได้  มีการร่วมกันกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์  วิธีการดำเนินงาน และผลลัพธ์ที่ต้องการก่อนลงมือปฏิบัติในพื้นที่จริง ผู้บริหารระดับสูงของตำบลมีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหายาไม่ปลอดภัยในชุมชนร่วมกัน มีความไว้วางใจซึ่งกันและกันของแต่ละภาคีเครือข่าย มีการจัดทำโครงการที่ชัดเจน ซึ่งกิจกรมต่าง ๆ เป็นกิจกรรมที่ไม่มีความยุ่งยากซับซ้อนและภาคีเครือข่ายได้มีส่วนร่วมในการประเมินผล สรุป: การประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการฯ พบว่า ตำบลนาบัวมีผลการดำเนินงานดีที่สุด การถอดบทเรียนจากตำบลนี้ทำให้ทราบปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินโครงการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. World Health Organization. Promoting rational use of medicines: core components. Geneva, 2002: 1-6.
2. Menanan S.The Health Intervention and Technology Assessment Program (HITAP) [online]. 2013 [cited Dec 12, 2016].
Available from: www 2.p h.mahidol.ac.th/research/thai/Training/ResearchCa re&Talk/3-2556/Introduction_to_0HITAP_Apr_2513 .pdf
3. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, ลือชัย ศรีเงินยวง, วิชิต เปานิล. ยากับชุมชน : มิติทางสังคมวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัทหนังสือดีวัน จำกัด; 2550.
4. เบญจมาศ บุดดาวงศ์และคณะ แหล่งต้นทางและเส้นทางการกระจายยาไม่เหมาะสมในชุมชนจาก 8
จังหวัด สู่ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาการกระจายยาไม่เหมาะสมเชิงระบบ. วารสารเภสัช
ศาสตร์อีสาน 2559; 11(ฉบับพิเศษ): 260-268
5. อัปสร บุญยัง, รุ่งทิวา หมื่นปา.ความชุกของการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมของร้านชำในจังหวัดพิษณุโลกและปัจจัยที่มีผล.วารสารเภสัชกรรมไทย ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 เดือน ม.ค.-มิ.ย. พ.ศ. 2562
6. สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ. การสาธารณสุขไทย 2548 - 2550. กรุงเทพมหานคร : สำนักนโยบายและ
ยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.2550)
7. พรรณนภา ศรีสวัสดิ์ (๒๕๕๘) การประเมินการดำเนินงานของศูนย์เตือนภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนของจังหวัดศรีสะเกษ.วารสารเภสัชกรรมไทย. 255๘;2: หน้า ๑๘๑.
8. พัณณ์ชิตา โยคะนิตย์,นรินทร์ สังข์รักษา การถอดบทเรียนการเรียนรู้สุขภาพชุมชน ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรีวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัยปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2553)
9. มังกร กลิ่นแก้ว. (๒๕๕๐) “ระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกประชาคมหมู่บ้านต่อการจัดทำแผนพัฒนา ๓ ปีขององค์การบริหารส่วนตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา.” รายงานการศึกษา
อิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยปกครองท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
10. Health. Health promoting clubs to healthy Thailand. Bangkok: The Agricultural
Cooperative Federation of Thailand, Limited; 2005.
11. Ongkasea D. Women’s group collaboration and development in rural communities.
[master thesis]. Chiang Mail: Chiang Mai University; 1997