ความท้าทายของเภสัชกรโรงพยาบาลในงานบริหารเวชภัณฑ์ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

ภาวิตา เพชรประยูร
รัตนาภรณ์ อาวิพันธ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความท้าทายในงานบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และศึกษาองค์ประกอบของลักษณะงานที่ทำให้เกิดความท้าทายสำหรับเภสัชกรโรงพยาบาลในจังหวัดนครสวรรค์ วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาที่เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลและแบบสอบถาม และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์ตัวอย่างที่เป็นเภสัชกรโรงพยาบาลจำนวน 13 คน ผลการวิจัย: เภสัชกรโรงพยาบาลส่วนใหญ่ มีความท้าทายในงานบริหารเวชภัณฑ์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่ามัธยฐาน (พิสัยระหว่างควอไทล์) 3.07 (2.78, 3.41) โดยมีความท้าทายในส่วนการบริหารจัดการที่เป็นการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่จากหลายสาขาวิชาชีพ รวมถึงการใช้ทักษะติดต่อประสานงานกับผู้บริหาร และการผลักดันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ร่วมมือกันทำงาน เมื่อพิจารณาจากตำแหน่งงาน พบว่า เภสัชกรที่เป็นหัวหน้าส่วนใหญ่ มีความท้าทายต่อการริเริ่มทำงานใหม่ที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อน โดยรับรู้ถึงบทบาทตนในฐานะผู้นำที่จะกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อให้งานเกิดการพัฒนา ในขณะที่เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่รับรู้ว่า อำนาจการตัดสินใจในการทำงานทั้งหมดไม่ได้ขึ้นอยู่กับตน จึงขาดความท้าทายต่อการทำงานที่มีความเสี่ยงสูง และงานที่มีขอบเขตและขนาดการทำงานที่มากขึ้น โดยเฉพาะเภสัชกรผู้ปฏิบัติงานที่เพิ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานนี้ ส่วนใหญ่มีความไม่มั่นใจและขาดแรงจูงใจในการทำงาน นอกจากนั้น ยังพบว่า ไม่ใช่การปฏิบัติงานจากเภสัชกรโรงพยาบาลเท่านั้นที่มีผลต่อการประเมิน รพ.สต. ติดดาว แต่การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สามารถส่งผลต่อการตรวจประเมินด้วยเช่นกัน สรุป: ความท้าทายในงานบริหารเวชภัณฑ์ของเภสัชกรโรงพยาบาลส่วนใหญ่ คือ การทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่และการประสานงานกับผู้บริหารและทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งการอยู่ในตำแหน่งของกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกันส่งผลต่อความท้าทายในงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Sriwanidchakorn S, Ritsriboon P, Kommoon K, Jirapongsa WZ. Guidelines for assessment and accreditation of contracting unit for primary care. Nakhonpathom: Office of Community Based Health Care Research and Development; 2012

Sunthonthum S, Sridumrongsawat S, Srirattanabun J, Thummatudari J, Aungsiriwan B, Nipaporn S. Universal coverage in Thailand. Bangkok: National Health Security Office; 2012.

Boonthum K, Apinyanon S, Nuipree S, Chunjarunsuk K, Kasamsin S. Primary care award: PCA. Nontha- buri: Ministry of Public Health; 2009.

Committee of the Criteria for Starred Sub-District Health Promotion Hospitals. Guideline for developing the criteria for starred sub-district health promotion hospitals. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2016.

Office of the Permanent Secretary. Performance agreement: PA 2017 [online]. 2017 [cited Aug 9, 2017]. Available from: www.rno.moph.go.th/SSJblog /yootasad_ranong/doc/2560/1_Plan60/KPITemplate 60.pdf

Working Group for Guideline of Pharmaceutical Operations in Primary Care Units. Guideline of pharmaceutical operations in primary care units. Bangkok: National Health Security Office; 2017.

Office of Community Based Health Care Research and Development. Report of primary care system situation 2011. Bangkok: Health Systems Research Institute (HSRI); 2011.

Pongpipat M, Somsak W, Rattanaporm W. Roles and attitude of hospital pharmacist in upper northern primary care unit. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2005.

Wonganutrot P. Psychology of human resource management. Bangkok: Additional Media Center; 2001.

Kaewkuntharat P. Competency is not final answer [online]. 2007 [cited Apr 19, 2017]. Available from: www.generaloutsourcing.co.th/news_detail.php?News_ID=15.

McCauley CD, Ohlott PJ, Ruderman MN. Job challenge profile: facilitator’s guide. San Francisco: Pfeiffer; 1999.

Brutus S, Ruderman MN, Ohlott PJ, McCauley CD. Developing from job experiences: the role of organization-based self-esteem. Hum Resour Dev Q 2000; 11: 367-80.

Fungsuk N, Ponnok A. Development of efficient medicine inventory management of the health promoting hospital, Uthai district, Phranakorn Sri Ayutthaya province. HCU Journal of Health Science 2017; 41: 109-22.

McCauley CD, Ohlott PJ, Ruderman MN. Job challenge profile: facilitator’s guide. San Francisco: Pfeiffer; 2015.

Mukdasanit S. Job challenge and turnover intention of employees: a case study of employees in Rakluke Group Co, Ltd. [master thesis] Bangkok: King Mongkut’s University of Technology North Bangkok; 2009.

Naruebunyarid P. Drug distribution system development of district hospital to increase effectiveness of inventory management of sub-district health promotion hospitals, Sapphaya District, Chainat Province. [master thesis] Chiang Mai: Chiang Mai University; 2013.

Wahing R. Education management pharmaceuticals and medicine in public hospital in the District Ao Luek, Krabi. Region 11 Medical Journal 2015; 29: 449-63.

McCauley CD, Ohlott PJ, Ruderman MN. On-the-job development: a conceptual model and preliminary investigation. J Manag Issues 1989; 1: 142-58.

McCauley CD, Ruderman MN, Ohlott PJ, Morrow JE. Assessing the developmental components of managerial jobs. J Appl Psychol 1994; 79: 544-60.

Bandura A. Social foundations of thought and action: a social cognitive theory. Englewood Cliffs: New Jersey; 1986

Upakdee N, Thanawut P. Survey of hospital pharma cists activities in Thailand. Journal of Health Sciences 2016; 25: 723-33.

Udornpong W. Inventory management system in primary care unit at Mueng Lamphun District [master thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2018.