การทดสอบแบบวัดความแตกฉานด้านสุขภาพของคนไทยที่อิงความสามารถในการใช้ฉลากโภชนาการ และความแตกฉานด้านสุขภาพของผู้รับบริการจากโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ธนินนาถ พิทักษ์วงศ์
สงวน ลือเกียรติบัณฑิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบความตรงและความเที่ยงของแบบวัดความแตกฉานด้านสุขภาพ (health literacy: HL) ของคนไทยที่อิงการวัดความสามารถในการใช้ฉลากโภชนาการ (Thai Health Literacy Assessment Instrument: Nutrition Label; THLA-N8) ตลอดจนหาเกณฑ์คะแนน (cut-off) สำหรับใช้แปลผลระดับ HL ที่วัดโดย THLA-N8 และเพื่อประเมิน HL ของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกจากโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดนครศรีธรรมราช วิธีการ: การศึกษาทดสอบความตรงและความเที่ยงของ THLA-N8 ในผู้รับบริการ 1,003 รายจากโรงพยาบาลชุมชน 1 แห่ง จำนวน 503 รายและโรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง จำนวน 500 ราย การศึกษาทดสอบความตรงโดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย THLA-N8 ของผู้ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน และการหาความสัมพันธ์ระหว่าง THLA-N8 กับความสามารถในการเข้าใจเอกสารสุขภาพและคำถามที่บ่งบอก HL ที่นำมาจากแบบวัดทักษะที่บ่งบอก HL สำหรับคนไทยหรือ Thai Health Literacy Skills Instrument (THLA-S) การศึกษาใช้การวิเคราะห์โค้ง receiver operating characteristics  (ROC) ในการหาเกณฑ์แปลผลคะแนน โดยใช้คะแนนความสามารถในการเข้าใจเอกสารสุขภาพเป็นตัววัดมาตรฐานที่ 1 (gold standard 1: GS1) และใช้ผลรวมคะแนนความสามารถในการเข้าใจเอกสารสุขภาพและคะแนนคำถาม 4 ข้อจาก THLA-S เป็นตัววัดมาตรฐานที่ 2 (GS2) การประเมิน HL ของผู้รับบริการทำในตัวอย่าง 1,100 รายที่มารับบริการจากแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั้ง 23 แห่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการวิจัย: THLA-N8 มีความเที่ยงของ Cronbach 0.71 แบบวัดมีความตรงโดยผู้ที่มีระดับการศึกษาที่สูงกว่า มีคะแนน THLA-N8 มากกว่าผู้ที่ระดับการศึกษาที่ต่ำกว่า (P<0.001) THLA-N8 มีค่าสหสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับตัวชี้วัด HL 2 ตัว คือความเข้าใจเอกสารสุขภาพและคำถาม 4 ข้อซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ THLA-S (r=0.52 และ 0.47 ตามลำดับ) ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์โค้ง ROC พบว่า แบบวัด THLA-N8 มีพื้นที่ใต้โค้ง 0.76 และ 0.82 เมื่อใช้ GS1 และ GS2 เป็นตัววัดมาตรฐานตามลำดับ ซึ่งบ่งชี้ว่า แบบวัดสามารถคัดแยกผู้ที่มี HL เพียงพอหรือไม่เพียงพอออกจากกันได้ดี คะแนน THLA-N8 น้อยกว่าหรือเท่ากับ 4.83 บ่งบอกระดับ HL ที่ไม่เพียงพอ แบบวัดมีความไว 0.75 และ 0.80 มีความจำเพาะ 0.67 และ 0.74 เมื่อใช้ GS1 และ GS2 เป็นตัววัดมาตรฐานตามลำดับ เมื่อใช้จุดตัดคะแนน THLA-N8 ที่ 4.83 คัดกรองผู้รับบริการ พบผู้รับบริการในภาพรวมมี HL ไม่เพียงพอร้อยละ 51.90 ผู้ที่มีการศึกษาในระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย/ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นต้นในทุกกลุ่มอายุ (20 ถึง 80 ปี) มี HL ไม่เพียงพอร้อยละ 51.72 ถึง 100.00  ผู้ที่มีการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปริญญาตรีหรือสูงกว่ามี HL ไม่เพียงพอในทุกกลุ่มอายุ (20 ถึง 80 ปี) ร้อยละ 36.08 – 49.21 สรุป: THLA-N8 มีความตรง ความเที่ยง ความไว และความจำเพาะอยู่ในระดับที่น่าพอใจใกล้เคียงกับงานวิจัยในอดีต THLA-N8 สามารถใช้คัดกรองผู้รับบริการในระบบสุขภาพได้ ผู้มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นต้นหรือต่ำกว่าในทุกกลุ่มอายุมี HL ไม่เพียงพอประมาณร้อยละ 50.00 หรือมากกว่า ปัญหาพบมากขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Sørensen K, Van den Broucke S, Fullam J, Doyle G, Pelikan J, Slonska Z, Brand H. Health literacy and public health: a systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health 2012; 12:80. doi: 10.1186/1471-2458-12-80.

Berkman ND, Sheridan SL, Donahue KE, Halpern DJ, Viera A, Crotty K, et al. Health literacy interven tions and outcomes: an updated systematic review. Evid Rep Technol Assess 2011; 199:1-941.

Kanj M, Mitic W. Health literacy and health promotion definitions, concepts and examples in the Eastern Mediterranean region [online]. 2009 [cited Nov 12, 2017]. Available from: www.dors.it/documentazione /testo/201409/02_2009_OMS%20Nairobi_Health%20Literacy.pdf

Kutner M, Greenberg E, Jin Y, Paulsec C. U.S. Department of Education, National Center for Education Statistics. The health of America’s adults: Result from the 2003 National Assessment of Adult Literacy (NCES 2006-483). Washington DC; 2006.

Sørensen K, Pelikan JM, Röthlin F, Ganahl K, Slonska Z, Doyle G, et al. Health literacy in Europe: comparative result of the European health literacy survey (HLS-EU). Eur J public health 2015; 1053-58.

Nguyen TH, Paasche-Orlow MK, Kim MT, Han HR, Chan KS. Modern measurement approach to health

literacy scale development and refinement: over view, current use, and next step. J Health Commun.

; 20: S112-5.

Duell P, Wright D, Renzaho AMN, Bhattacharya D. Optimal health literacy measurement for the clinical

setting: A systematic review. Patient Educ Couns 2015; 98: 1295-307.

Na Pattalung P. Development of a Health Literacy Screener for Thais Based on the Approach of the Newest Vital Sign [master thesis]. Songkhla: Prince of Songkla University; 2018.

Chew LD, Bradley KA, Boyko EJ, Brief questions to identify patients with inadequate health literacy.

Fam Med. 2004; 36: 588-94.

Faul GF, Erdfelder E, Buchner A and Lang AG. Statistical power analyses using G*Power 3:1: tests for correlation and regression analyses. Behav Res Methods 2009; 41: 1149-60.

Warotamakul P. Development of a measure of health literacy skills for Thai based on the approach of the Health Literacy Skill Instrument [master thesis]. Songkhla: Prince of Songkla University; 2019.

Howell DC. Statistical methods for psychology. Belmont, CA: Thomson Wadsworth, 2010.

Youden WJ. Index for rating diagnostic tests. Cancer 1950; 3:32-5.

Swets JA. Measuring the accuracy of diagnostic systems. Science 1988; 240: 1285-93.

Jaeschke R, Guyatt GH, Sackett DL. Users' guides to the medical literature. III. How to use an article about a diagnostic test. A. Are the results of the study valid? JAMA 1994; 271:389-91.

Cochrane WG, Sampling techniques. 3rd 3d. New York: John Wiley & Sons; 1977.

Ministry of Public Health. Outpatient service utilization rate in 23 hospitals in Nakhon Si Tham marat Provinces [online]. 2016 [cited Nov 12, 2017]. Available from: hdcservice.moph.go.th/hdc/reports /report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=9d8c311d6336373d40437c4423508cad&id=4b35d96e225bf34a16774b13705250f4.

Nunnally JC, Bernstein IH. Psychometric theory. New York: McGraw-Hill Education; 1994.

Weiss BD, Mays MZ, Martz W, Casto KM, DeWalt DA, Pignone MP, et al. Quick assessment of lite racy in primary care: The Newest Vital Sign. Ann Fam Med 2005; 3: 514-22.

Kline P. A Handbook of test of construction. London: Methuen; 1986:143.

Jindawong B. Development of health literacy screening tools for patients at Srinagarind Hospital, Khon Kaen, Thailand [master thesis]. Khon Khaen: Khon Khaen University; 2013.

Intarakamhang U. Health literacy: measurement and development [online]. 2017 [cited Mar 16, 2018]. Available from: bsris.swu.ac.th/upload/268335.pdf.

Phantong W. Development of the Thai Health Literacy Assessment using Word List (THLA-W) [minor thesis]. Songkhla: Prince of Songkla Univer- sity; 2016.

Janchooto P. Development of the Thai Health Literacy Assessment Using Word List with Extended Questions to Test Comprehension (THLA -W+): Testing in Sadao Hospital [minor thesis]. Songkhla: Prince of Songkla University; 2017.

Daraman N. Testing of the Thai Health Literacy Assessment Using Word List with Extended Questions to Test Comprehension: Testing in Muslim Patients [master thesis]. Songkhla: Prince of Songkla University; 2019.

Hayibueraheng H. Development of the Thai Health Literacy Assessment Using Word List with Extended Questions to Test Comprehension (THLA -W+): Testing in Community [master thesis]. Songkhla: Prince of Songkla University; 2019.

Department of Provincial Administration, Ministry of Interior.Population in Nakorn Si Thammarat pro vince [online]. 2010 [cited Sep 30, 2019]. Available from: service.nso.go.th/nso/nsopublish/districtList/ page1.htm.