ความต้องการการพัฒนาสมรรถนะทางด้านงานบริการส่งมอบและให้คำแนะนำใน การใช้ยาของผู้ให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

ชยาภา ใหญ่พษ์
จันทรรัตน์ สิทธิวรนันท์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินและเปรียบเทียบระดับสมรรถนะทางด้านงานบริการส่งมอบและให้คำแนะนำในการใช้ยาที่มีอยู่จริงและที่คาดหวังของผู้ให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จังหวัดกาญจนบุรี และ เพื่อรวบรวมปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาสมรรถนะดังกล่าว วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน ในระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเชิงปริมาณที่ใช้วิธีสำรวจแบบภาคตัดขวางด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ให้บริการที่รับผิดชอบหลักด้านการส่งมอบและให้คำแนะนำในการใช้ยาใน รพ.สต. 144 คน ระยะที่ 2 เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกในผู้ให้ข้อมูล 10 คนจากการศึกษาระยะที่ 1 ผลการวิจัย: ระยะที่ 1 แบบสอบถามถูกตอบกลับครบทั้ง 144 ฉบับ ตัวอย่างต้องการพัฒนาสมรรถนะ ดังนี้ 1) กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งมอบ 5 ด้าน ได้แก่ การวินิจฉัยความรุนแรงของปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยา (drug related problems: DRPs) การค้นหา DRPs การแก้ไข DRPs การตรวจสอบความถูกต้องด้านเทคนิคในการบริหารยา และด้านขนาดยา 2) กระบวนการส่งมอบและให้คำแนะนำในการใช้ยา 7 ด้าน ได้แก่ การบันทึกอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยา การประเมินและการจัดการกรณีผู้ป่วยแพ้ยา การบันทึกแจ้งเตือนผู้ป่วยใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงในคอมพิวเตอร์ การบันทึกแจ้งเตือนผู้ป่วยแพ้ยาในคอมพิวเตอร์ การตรวจสอบความร่วมมือในการใช้ยา การบันทึกและทำสัญลักษณ์ผู้ป่วยแพ้ยา และการให้คำแนะนำในการใช้ยาโดยวาจาร่วมกับการใช้เอกสารประกอบ 3) กระบวนการประเมิน DRPs และการส่งต่อ 4 ด้าน ได้แก่ การค้นหาปัญหาและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด DRPs ที่บ้าน การค้นหา DRPs และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด DRPs การวินิจฉัยความรุนแรงของ DRPs และการส่งต่อ และการประเมินผลการแก้ DRPs คะแนนสมรรถนะที่มีอยู่จริงและระดับสมรรถนะที่คาดหวังในทุกประเด็นที่กล่าวมามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระยะที่ 2 ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานส่งมอบและให้คำแนะนำในการใช้ยา ได้แก่ การขาดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ความเข้าใจด้านภาษา และการเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วย รวมถึงความไม่เพียงพอของบุคลากร คู่มือ แนวปฏิบัติหรือเอกสารทางวิชาการ ข้อเสนอแนะในการพัฒนาสมรรถนะด้านการส่งมอบและให้คำแนะนำในการใช้ยา ได้แก่ การจัดอบรมให้ความรู้ การสนับสนุนบุคลากร คู่มือ แนวปฏิบัติหรือเอกสารทางวิชาการ ฉลากยารูปภาพ ฉลากยาภาษาต่างประเทศ คู่มือการสื่อสารภาษาต่างประเทศ และการเชื่อมโยงข้อมูลที่ดี สรุป: ผู้ให้บริการใน รพ.สต.ยังต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านการส่งมอบและให้คำแนะนำในการใช้ยาตามแนวทางการดำเนินงานเภสัชกรรมปฐมภูมิและแนวทางการพัฒนา รพ.สต.ติดดาวในหลายด้าน ดังนั้นจึงควรจัดอบรมและจัดหาปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับความต้องการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Supawongse C, Chunharas S, Sirilak S, Damrikarnlerd L, Srivanichakorn S, Wetsutthanon K. Handbook of health service in Tambon health promoting hospitals. 2nd ed. Bangkok: The War Veterans Organization of Thailand Printing Mill; 2009.

2. Strategy and Planning Division, Ministry of Public Health. A manual on development of quality criteria for sub-district health promoting hospitals (stared SDHPHs) in 2017 [online]. 2016 [cited Jun 30, 2017]. Available from: bkpho.moph.go.th/bungkanpho/uplo ad s/media/20161208113835741.pdf

3. Health Consumer Protection Program. A manual for pharmacist on the implementation of primary care pharmacy in primary care unit in 2010 [online]. 2010 [cited Apr 20, 2017]. Available from: www.thaihealthc onsumer.org/wp-content/uploads/2017/05/คู่มือเภสัช ปฐมภูมิ53.pdf

4. Wanthong C, Lochid-amnuay S. Opinions of physi cians and nurses toward the roles of pharmacists in primary health care. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2017; 9: 118-29.

5. Khangsri D, Awiphan R, Suwannaprom P. Participa- tion of primary heath care personnel in the develop- ment process for drug dispensing and counseling services. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2013; 5: 91-107.

6. Health Consumer Protection Program. A manual for pharmacist on the implementation of primary care pharmacy in primary care unit in 2017 [online]. 2017 [cited May 5, 2017]. Available from: www.thaihealth consumer.org/wp-content/uploads/2017/07/PharBO OK20170505.pdf

7. Anuwatworakul U. needs for development of technical competencies in consumer protection in health products among officers of sub-district health promoting hospitals in Buriram. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2016;8: 388-98.

8. Phoembun S, Praditbatuka S, Wiwatanapongpan K. Practice expectation, actuality and performances of professional nurses in Si Sa Ket hospital [master thesis]. Bangkok: Sukhothai Thammathirat Open University; 2010.

9. Strategy and Planning Division, Ministry of Public Health. A manual on development of quality criteria for sub-district health promoting hospitals (stares SDHPHs) in 2018 [online]. 2017 [cited Jan 20, 2018]. Available from: www.ylo.moph.go.th/webssj/file2018/ d261260-1.pdf

10. Sutheewasinnon P, Pasunon P. Sampling strategies for qualitative research. Parichart Journal, Thaksin University. 2016; 29: 31-48.

11. Thongchai T. Motivation affecting pharmaceutical service performance of health personnel at primary care units Nongkhai province [independent study]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2009.

12. Jaisa-ard R, Kanjanarach T. Needs for competency improvement in pharmacy service at a primary care level. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences. 2014; 10: 69-79.

13. Mateepiruk P. The analyze the performance in accordance with the pharmaceutical standards in primary care unit (PCU), Songkhla province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 2017; 4: 153-70.

14. Prasert V, Chanjaruporn F. Drug management in Tambon health promoting hospitals: a systematic review. Journal of Public Health and Development. 2015; 13: 55-67.

15. Chalongsuk R, Lochid-amnuay S, Sribundit N, Tangtrakultham S. Primary care pharmacist system: case studies in the area of the National District 5th Ratchaburi. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences 2015; 10: 46-64.

16.Sawaengdee K, Rajataram B, Sarakshetrin A, Chantra R, Muangyim K, Wattanakul S, et al. A study of the healthcare workforce for community public health, dental public health and technical pharmacy under the supervision of Praboromarajchanok institute for health workforce development. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 2017; 4: 119-34.

17. Boonklang P, Kanjanarach T, Jaisa-ard R. Problems and Recommendations for the continuity of pharmaceutical care through home visit by pharmacists. The 5th Annual Northeast Pharmacy Research Conference of 2013 “Pharmacy profession : moving forward to ASEAN harmonization”; 2013 Feb 16-17; Faculty of Pharmaceutical Sciences Khon Kaen University, Thailand. Khon Kaen: University; 2013. p.85-9.