ผลการให้คำแนะนำโดยเภสัชกรในผู้ป่วยนอกที่ได้รับยาลิเทียมจาก หน่วยตรวจจิตเวชศาสตร์ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการให้คำแนะนำปรึกษาโดยเภสัชกรในผู้ป่วยที่ได้รับยาลิเทียมต่อความรู้เกี่ยวกับยาดังกล่าว วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบวัดผลก่อนและหลังให้การแทรกแซงในตัวอย่าง 39 รายที่ได้รับยาลิเทียม การวัดผลการศึกษาใช้แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาลิเทียมซึ่งมี 4 หมวด คือ ข้อมูลยาและผลข้างเคียง วิธีรับประทานยา การปฏิบัติตัว และอันตรกิริยาของยา การวัดผลทำ 3 ครั้ง คือ ก่อนให้คำแนะนำ หลังให้คำแนะนำทันที และในการนัดครั้งถัดไปหลังจากให้คำแนะนำประมาณ 12 สัปดาห์ ผลการวิจัย: การประเมินความรู้หลังการให้คำแนะนำโดยเภสัชกรทั้งสองครั้งพบว่า ผู้เข้าร่วมการศึกษามีความรู้โดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนการศึกษา โดยมีค่ามัธยฐานคะแนนเท่ากับ 5, 11 และ 11 (จากคะแนนเต็ม 12) ในการวัดผลก่อนให้คำแนะนำ หลังให้คำแนะนำทันที และ 12 สัปดาห์ถัดมา การศึกษาไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของคะแนนความรู้หลังได้รับคำแนะนำทันทีและ 12 สัปดาห์ถัดมา (P=0.268) ความรู้ในหมวดข้อมูลยาและผลข้างเคียง หมวดวิธีรับประทานยา และหมวดการปฏิบัติตัวมีลักษณะเหมือนความรู้โดยรวม แต่ความรู้ในหมวดอันตรกิริยาของยาความรู้หลังให้คำแนะนำทันทีมีสูงกว่าใน 12 สัปดาห์ถัดมา (P=0.045) สรุป: การให้ความรู้โดยเภสัชกรในผู้ป่วยที่ได้รับยาลิเทียม ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้ในการใช้ยาลิเทียมมากขึ้น และความรู้ดังกล่าวคงอยู่แม้เวลาจะผ่านไปค่อนข้างนานก็ตาม ซึ่งอาจเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดปัญหาจากการใช้ยาได้
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Kessler RC, Chiu WT, Demler O, Walters EE. Prevalence, severity and comorbidity of twelve-month DSM-IV disorder in the National Comorbidity Survey Replicaion (NCS-R). Arch Gen Psychiatry 2005; 62: 617-27.
3. Kittiratanapaiboon P, Tantirangsee N, Chutha W, Tanaree A, Kwansanit P, Assanangkornchai S, et al. Prevalence of mental disorders and mental health problems: Results from Thai national mental heath survey 2013. Nonthaburi: Bureau of Mental Health Service Administration, Department of Mental Health ; 2016.
4. Tanabodeetummajaree P, Khomchai B. The effect of group psychoeducation on quality of life inpatients with bipolar disorder inpatient department. J Psychiatyr Ment Health Nurs 2013;27:62-78.
5. Lotrakul M. Psychotropic drug handbook. 5th ed. Bangkok: Moh-Chao-Ban Publishing house; 2014.
6. Poolsup N, Li Wan Po A, de Ovliveira IR. Systematic overview of lithium treatment in acute mania. J Clin Pharm Ther 2000; 25:139-56.
7. Ittasakul P. Using lithium to treat patients with bipolar disorder. J Psychiatr Assoc Thailand 2012; 57: 477-8.
8. Goodwin FR, Jamison K. Manic-depressive illness. New York: Oxford University Press; 1990.
9. Zornberg GL, Pope HG Jr. Treatment of depression in bipolar disorder: new directions for research. J Clin Psychopharmacol 1993; 13: 397-408.
10. Suanchang O. Development and evaluation of a pharmaceutical care process in patients with bipolar disorder at outpatient lithium clinic of Somdet Chao praya hospital [master thesis]. Bangkok: Mahidol University; 2002.
11. Hongsing D, Pongpunna S. Survey of the interaction of other drugs with lithium and analysis of patients’ lithium knowledge in Prasrimahabhodi Psychiatric hospital Ubon Ratchathani [dissertation]. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani University; 2011.
12. Soares J, Stintzing C, Jackson C, Skolding B. Psychoeducation for patients with bipolar disorder: An exploratory study. Nord J Psychiatry 2009;51:439-46.
13. Singh M, Madhusoodan. Effectiveness of teaching plan on knowledge, for patients on lithium carbonate therapy at selected psychiatric centre of Jaipur City. Paper presented at: 3ICMRP-2016 Conference Proceeding; 2016 Dec 24; Ahmedabad Gujarat, India.
14. Wiriyasirisakul T, Isariyachaikul T, Kanjanasilp J, Suttiruksa S. Outcomes of pharmaceutical care in outpatients with schizophrenia: A randomized controlled trial. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016; 8: 377-87.
15. Colom F, Vieta E, Reinares M, Aran A, Torrent C, Goikolea J, et al. Psychoeducation efficacy in bipolar disorder: beyond compliance enhancement. J Clin Psychiatry 2003; 64:1101-105.