ผลของการให้ความรู้ด้านยาโดยเภสัชกรในชั้นเรียนและแอปพลิเคชันไลน์ในนักเรียนอาสาสมัคร ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตเทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ธนอมร รักกมล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการให้ความรู้ด้านยาในห้องเรียนโดยเภสัชกรและการให้ความรู้ทางแอปพลิเคชันไลน์ในนักเรียนอาสาสมัครของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตเทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช  วิธีการ: ตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2 และ 3 ที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ กลุ่มยุวกาชาดหรือกลุ่มเนตรนารีของโรงเรียน 3 แห่งในเขตเทศบาลเมืองปากพนัง ตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกได้รับความรู้ด้านยาในห้องเรียนโดยเภสัชกร กลุ่มที่สองได้รับความรู้ทางแอปพลิเคชันไลน์ และกลุ่มควบคุม ตัวอย่างตอบแบบวัดความรู้แบบปรนัย 5 ตัวเลือก จำนวน 20 คำถาม ก่อนและหลังการแทรกแซง ผลการวิจัย: หลังการให้ความรู้เรื่องยา กลุ่มที่ได้รับความรู้ในห้องเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 8.43±5.04 เป็น 11.50±8.25 (จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน) กลุ่มที่ได้รับความรู้ทางแอปพลิเคชันไลน์มีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 7.10±5.92 เป็น 8.64±9.89 ทั้งสองกลุ่มมีความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้กลุ่มที่ได้รับความรู้ในห้องเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ได้รับความรู้ทางแอปพลิเคชันไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุป: การให้ความรู้เรื่องยากับนักเรียนอาสาสมัครทั้งการให้ความรู้ในห้องเรียนและผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ทำให้นักเรียนมีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้น แต่การให้ความรู้ในห้องเรียนทำให้ความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่าแต่มีข้อจำกัดหลายประการ เช่น จำนวนนักเรียนที่สามารถให้ความรู้และทรัพยากรที่ต้องใช้ การให้ความรู้ทางแอปพลิเคชันไลน์เป็นเทคโนโลยีที่ง่าย น่าสนใจ เข้าถึงประชากรหลายกลุ่มครอบคลุมพื้นที่ ช่วยประหยัดเวลา แรงงาน และงบประมาณ จึงเป็นรูปแบบการให้ความรู้ที่น่าสนใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Food and Drug Administration. Situation of drug use, reason, problem and factors [online]. 2016 [cited Dec 5, 2018]. Available from: www.fda.moph.go.th/ uploads/policy_file/20170801152053.pdf 2016.

2. Aisoonphisarnkul P, Krisanapun C. A Survey of medi cation knowledge and self-medication practices among first-year students at Srinakharinwirot University. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2013; 10: 46-52.

3. Yimlamai A, Chanthapasa K. Medication management in the schools in Phrayuen District, Khonkaen Province. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2016; 11: 218-28.

4. Anuwong K, Kwanboonchan S, Susoarat P, Sukharo mana R, Yensabye A, Jearajit C, et al. Medication services in primary schools, bangkok. Journal of Faculty of Physical education 2012; 15: 396-407.

5. Electronic Transactions Development Agency. Thai land internet user profile 2018 [online]. 2018 [cited Oct 16, 2018]. Available from: www.etda.or.th/ pub lishing-detail/thailand-internet-user-profile-20 18.html.

6. Komontree J. Calculating sample size. Journal of Mental Health of Thailand 2012; 20: 193-8.

7. Pattiyathani S. Educational measurement. Kalasin: Prasan Printing; 2008. p.62-97.

8. Wangpradit O, Chuaybamroong R, Sinprajakpol K, Prasert W. Effect of series of drug use information and activities on drug use knowledge and behavior of village health volunteers. Public Health Journal of Burapha University 2015; 10: 89-95.

9. Tanthien P. Habits of self-medication among Thais. Journal of Hematology and Transfusion Medicine 2012; 19: 309-16.