สถานการณ์การโฆษณายาทางสื่อวิทยุในอำเภอชนบท ของจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจสถานการณ์การโฆษณายาแผนปัจจุบันที่ผิดกฎหมายทางสื่อวิทยุที่มีการเผยแพร่ในชุมชนชนบททางภาคเหนือของประเทศไทย วิธีการ: การศึกษาสำรวจโฆษณายาแผนปัจจุบันทางสื่อวิทยุที่กระจายเสียงอยู่ในเขตอำเภอชนบทจำนวน 2 อำเภอ ของจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือ โดยสุ่มบันทึกเสียงการเผยแพร่ออกอากาศของสถานีวิทยุจำนวน 13 สถานี (เป็นสถานีทั้งหมดที่รับฟังได้) โดยทำการบันทึกเสียงตั้งแต่สถานีเปิดจนสถานีปิด จำนวนสถานีละ 4 วัน คือวันธรรมดา 2 วัน และวันเสาร์-อาทิตย์ ผลการวิจัย: สถานีวิทยุมีโฆษณายาแผนปัจจุบันผิดกฎหมายจำนวน 5 สถานี (ร้อยละ 38.46) และพบโฆษณายาแผนปัจจุบันทั้งหมด 50 ชิ้น (ที่ไม่ซ้ำกัน) โดยเป็นโฆษณาที่ผิดกฎหมาย 37 ชิ้น (ร้อยละ 74.0) ยาแผนปัจจุบันที่พบโฆษณาทางสื่อวิทยุมากที่สุดคือ ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ ยา tetracycline (19 โฆษณา) และ ยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ได้แก่ ยา piroxicam (18 โฆษณา) การฝ่าฝืนข้อห้ามการโฆษณายาที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ 1) การแสดงสรรพคุณยาอันตราย (ร้อยละ 54.0) 2) การโอ้อวดสรรพคุณ การแสดงสรรพคุณอันเป็นเท็จหรือเกินจริง (ร้อยละ 52.0) 3) การชักชวนให้ผู้บริโภคใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อเกินความจำเป็น (ร้อยละ 42.0) สรุป: ในชุมชนชนบทยังพบปัญหาการโฆษณายาแผนปัจจุบันที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายการโฆษณายาทางสื่อวิทยุ ซึ่งอาจทำให้เกิดพฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม และเกิดอันตรายต่อผู้ใช้ยาตามมา ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณายาและบุคลากรทางสาธารณสุขควรร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาการโฆษณายาที่ไม่ถูกกฎหมายเหล่านี้
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Office of the Consumer Protection Board. The 4th ad detectives project [online]. 2012 [cited June 13, 2013]; Available from: www.ocpb.go.th/download/pdf/ad2.pdf
3. Chuntarawong M. Situation and impacts of drug and health product advertisements with legal problems on community radio broadcasts toward consumers in Chiang Mai Province [master Thesis] Chiang Mai: Chiang Mai University; 2011.
4. Anon. The resolution for illegal advertisings of medicines, food and health products in radios, televi- sion, and internet [online]. 2012 [cited June 13, 2013]; Available from: www.samatcha.org/sites/default/files/ document/0405-Main-4-1.pdf.
5. Suwanmanee O. Advertising of health products with illegal drugs claim among local radios [master thesis]. Songkhla: Prince of Songkla University; 2012.
6. Kittisopee T, Anantachoti P, Tangcharoensathien V. Radio drug advertisement situation and 2regulation in Thailand [online]. 2005 [cited April 28, 2019]; Availa ble from: kb.hsri.or.th/dspace/.
7. Suwanmanee O, Lerkiatbundit S. Illegal advertising of products classified as drugs by law among local radios. Thai Journal of Pharmacy Practice 2011; 3: 41-56.
8. Office of the National Broadcasting and Telecommu- nications Commission. Random check on radio advertisements of health and beauty products found 96% being illegal. Consumers are at risk of "being deceived, wasting money, being harm and death". Proposal for FDA, NBTC, National Police Bureau to enforce the law strictly, actively and in timely fashion to protect the public [online]. 2013 [cited Apr 25, 2019]; Available from: www.nbtc.go.th/News/Press-Center/สุ่มศึกษาสปอตวิทยุโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม-พ.aspx.
9. Anon. The resolution for illegal advertisings of medicines, food and health products in radios, television, and internet [online]. 2012 [cited April 4, 2019]; Available from: www.samatcha.org/node/111.
10. Drug Act, B.E. 2510. Royal Gazette No. 84, Part 101 special (Oct 20, 1967).
11. Tangchroensathien V, Kongsawat S, Wadwongtham A, Eurchaikul C, Eupamayun Y, Taruekachong S, et al. Survey on radio advertisement of food, drug and cosmetics, 1993 [online]. 1993 [cited 2014 Sept 24]. Available from: kb.hsri.or.th/dspace/
12. Chanakha K. Prevalence of illegal health product advertisements on local radio broadcasts in Amphur Mueang, Buriram Province. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2015; 8:435-41.
13. Lomas K, Chanthapasa K. The situation of radio advertisement of drug and food claimed as drug in Phraibueng municipality, Sisaket province. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2012; 8: 55-60.
14. Diagnostic laboratory, Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. Results on bacterial antibiotic susceptibility test of the specimens [online]. 2014 [cited Nov 26, 2014]. Available from: www.med.cmu.ac.th/hospital/ lab/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=87%3Aantibiogram&catid=91&Itemid=563.
15. Speer BS, Shoemaker NB, Salyers AA. Bacterial resistance to tetracycline: mechanisms, transfer, and clinical significance. Clin Microbiol Rev 1992; 5: 387-99.
16. Sringanyuang L. The uterus and drug use of rural women in Northeast. Health System Research Journal 1996; 4: 61-6.