การทดสอบการใช้ชุดเครื่องมือในการป้องกันและจัดการ อันตรกิริยาของ HMG-CoA Reductase Inhibitor ในร้านยา

Main Article Content

ณัฐสุดา คงหอม
ชวนชม ธนานิธิศักดิ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบการใช้งานชุดเครื่องมือสำหรับเภสัชกรชุมชนในการป้องกันและจัดการอันตรกิริยาระหว่างยา (drug interaction: DI) ที่เกี่ยวข้องกับยากลุ่ม HMG-CoA reductase inhibitor วิธีการ: เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยรูปภาพยา แผ่นป้ายเตือนคู่ยาที่เกิด DI ซึ่งติดที่ชั้นวางยา และแผนผังแนวทางจัดการ DI ของยา 10 รายการที่พบบ่อยในร้านยา และมีรายงานความรุนแรงของ DI ระดับ 1-3 กับยากลุ่ม HMG-CoA reductase inhibitor การทดสอบเครื่องมือใช้เวลา 4 สัปดาห์ (เดือนมีนาคม 2561) ในร้านยาคุณภาพ 10 ร้านในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจำนวนครั้งที่มีการใช้ชุดเครื่องมือ คู่ยาที่ตรวจพบ DI การจัดการตามแนวทางที่กำหนดไว้ และใช้แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจของเภสัชกรชุมชนต่อชุดเครื่องมือ ผลการวิจัย: เภสัชกรพบการจ่ายหรือการเรียกหายาที่อาจเกิด DI 145 ครั้ง การใช้เครื่องมือฯ ทำให้พบยาที่มีโอกาสเกิด DI กับยากลุ่ม HMG-CoA reductase inhibitor 18 ครั้ง (ร้อยละ 12.41) DI ดังกล่าว 17 ครั้งได้รับการจัดการแก้ไขตามแนวทางการจัดการที่ระบุในแผนผังของเครื่องมือ ยาที่อาจเกิด DI ที่พบการจ่ายหรือเรียกหามากที่สุด 3 อันดับแรกคือ clarithromycin, fluconazole, และ gemfibrozil คิดเป็น 41, 28, และ 17 ครั้ง (ร้อยละ 28.27, 19.31 และ 11.72 ตามลำดับ) คู่ DI ที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ amlodipine/simvastatin 4 ครั้ง, clarithromycin/simvastatin 3 ครั้ง, clarithromycin/atorvastatin 2 ครั้ง และ colchicine/atorvastatin 2 ครั้ง เภสัชกรพึงพอใจต่อรูปภาพยา แผ่นป้ายเตือน และแผนผังแนวทางจัดการ DI อยู่ในระดับ 3.8±0.4, 3.8±0.4, และ 3.6±0.6 จากคะแนนเต็ม 5 ตามลำดับ และมีข้อเสนอแนะให้จัดทำเครื่องมือในกลุ่มยาที่มีการใช้บ่อยในร้านยาเพื่อให้ครอบคลุมยาในร้าน สรุป: ชุดเครื่องมือในการป้องกันและจัดการ DI กลุ่ม HMG-CoA reductase inhibitor กับยาที่จ่ายในร้านยา สามารถนำไปใช้ได้จริงในการช่วยให้เภสัชกรสามารถค้นหาและจัดการ DI ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ยาอย่างปลอดภัยต่อผู้ป่วยในร้านยา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Thai Atherosclosis Society. 2016 RCPT Clinical practice guideline on pharmacology therapy of dyslipidemia for atherosclerotic cardiovascular dis ease prevention [online]. 2017 [cited May 20, 2018]. Available from: drive.google.com/file/d/0B6jJRVBeC 1frYS16dXg1cFJLRWc/view.

2. Thai Food and Drug administration. Nation list of essential medicines [online]. 2016 [cited May 20, 2018]. Available from: drug.fda.mopg.gp.th:81/nlem. In.th/medicine/Essential/list/48

3. Siriangkhawut M, Uchalapichat V, Tansakul P. Mus culoskeletoal adverse event associated associated with simvastatin drug interactions and physician response to pharmacist interventions. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2016; 11: 190-201

4. Siriangkhawut M, Tansakul P, Uchalapichat V. Prevalence of potential drug interactions in Thai patients receiving simvastatin: The causality assess ment of musculoskeletal adverse events induced by statin interaction. Saudi Pharm J 2017; 25: 823-29

5. Jiang G, Liu H, Solbrig HR, Chute CG. Mining severe drug-drug interaction adverse events using Semantic Web technologies: a case study. Bio Data Min 2015; 8: 12. doi: 10.1186/s13040-015-00 44-6.

6. Office of Pharmacy Accreditation. Names and addresses of quality drugstores [online]. 2015 [cited Oct 3, 2017]. Available from: www.pharmacycouncil. org/index.php?option=content_detail&menuid=39&itemid=633&catid=0.

7. Michael B. Statin safety and drug interactions: Clinical Implications. AJC 2006; 97: 27-31

8. Tatro DS. Drug interaction facts. Missouri: Wolters Kluwer Health; 2011. p 860-86

9. Causevic-Ramosevac A, Semiz S. Drug interactions with statins. Acta Pharm. 2013; 63: 277–93.

10. Anantapong M, Futrakul W, Kongkiatkamon S. Development and implementation of drug-drug inter action prevention and management tools: Case studies in accredited community pharmacies in Bangkok [independent study]. Phitsanolok: Naresu an University; 2007.

11. Hylton LA, Flurie RW, Lajthia E, Dixon DL. Clinical guidance for managing statin and antimicrobial drug-drug interactions. Curr Atheroscler Rep. 2017; 19: 46. doi: 10.1007/s11883-017-0682-x.

12. Wiggins BS, Saseen JJ, Page RL, Reed BN, Sneed K, Kostis JB. et al. Recommendations for manage ment of clinically significant drug-drug Interactions with statins and select agents used in patients with cardiovascular disease. Circulation. 2016; 134: e468 -e495.

13. Indermitte J, Beutler M, Bruppacher R, Meier CR, Hersberger KE. Managemrnt of drug interaction alerts in community pharmacies. J Clin Pharm Ther 2007; 32: 133-42.

14. Arkaravichien W , Patcharapanukul P, Wattanapi taksakul N, Pheukpan J, Rattanasaeng P, Hannok S. Satisfaction to simple printed materials to support pharmaceutical care in community pharmacies. Srinagarind Medical Journal 2017; 32: 220-8.