การควบคุมและกำกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับอนุญาตผ่านระบบ E-submission: กรณีศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ไชยวิชิต ไชยสิทธิ์
กนกพร ธัญมณีสิน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานด้านการควบคุมและกำกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับอนุญาตผ่านระบบ E-submission  ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาที่เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากตัวอย่าง 8 คนที่เลือกมาแบบเจาะจง ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบงานควบคุมกำกับผลิตภัณฑ์หลังออกสู่ตลาดด้านอาหารของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการอนุญาตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผ่านระบบ E–submission ในปีงบประมาณ 2560 การศึกษาเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามในประเด็นการควบคุมกำกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลังออกสู่ท้องตลาด ปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมาย และสัมภาษณ์เชิงลึกถึงสภาพปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารภายในจังหวัด อุปสรรคในการดำเนินงาน และความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการอนุญาตผ่านระบบ E-submission  ผลการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูล 7 จาก 8 คนเป็นเภสัชกร หน่วยงานที่ศึกษาทุกแห่งได้ตรวจประเมินสถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในพื้นที่รับผิดชอบ หน่วยงานที่ศึกษาครึ่งหนึ่งมีฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ขออนุญาตผลิตภัณฑ์ผ่านระบบ E-submission  ส่วนใหญ่เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสถานที่ผลิตเพื่อตรวจเฝ้าระวัง ไม่มีหน่วยงานใดดำเนินคดีกับผู้จำหน่ายที่ผลการตรวจวิเคราะห์ไม่ผ่านมาตรฐาน แต่มีบางแห่งดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับฉลาก กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า การอนุญาตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผ่านระบบ E-submission  โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ไม่มีการแจ้งข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของสถานที่ผลิต และจำนวนผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับอนุญาตมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาในการเฝ้าระวัง ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผลิตในจังหวัดไม่พบปัญหาด้านคุณภาพมาตรฐาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมีมาตรการในการจัดการเรื่องร้องเรียน แต่งบประมาณในการตรวจวิเคราะห์ที่ไม่เพียงพอเป็นข้อจำกัดในการปฏิบัติงาน ผู้ให้ข้อมูลจึงใช้วิธีการตักเตือนและขอความร่วมมือผู้จำหน่ายให้ระงับการจำหน่ายเมื่อตรวจพบสารที่มีฤทธิ์ทางยา แต่ไม่มีการประกาศผลตรวจวิเคราะห์ อย่างไรก็ตามมีการส่งต่อข้อมูลไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของสถานที่ผลิตให้ดำเนินการต่อไป สรุป: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ควรพัฒนาให้ระบบ E-submission  มีขั้นตอนแจ้งผลการอนุญาตให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทราบ ทบทวนหลักเกณฑ์ให้ผู้ผลิตส่งมอบฉลากให้พิจารณาก่อนอนุญาตผลิตภัณฑ์ จัดทำฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุญาต และระบบแจ้งเตือนผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตราย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดควรมีแผนการตรวจสอบเฝ้าระวังสถานที่ผลิตและสถานที่จำหน่ายอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ควรบังคับใช้กฎหมายและประกาศผลการตรวจวิเคราะห์ให้ประชาชนทราบ ตลอดจนยกเลิกหลักฐานการได้เลขสารบบอาหาร พักใช้ใบอนุญาต และเพิกถอนใบอนุญาตกับผู้ผลิตที่ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Licensing Facilitation Act, B.E. 2558. Royal Gazette No. 132, Part 4A (Jan 22, 2015).

2. Order of the Thai Food and Drug Administration No. 22/2016 [online]. [cited Oct 10, 2017] Available from: food.fda.moph.go.th/law/data/command_fda/22_255 9.pdf

3. Notification of Ministry of Public Health No.293 in 2005 on Food Supplement. Royal Gazette, No.122 Special, Part 150 (December 28, 2005).

4. Strategic Indicators in 20 Years of Ministry of Public Health [online]. 2017 [cited Oct 10, 2017] Available from: bps.moph.go.th/new_bps/node/91

5. Matichon online. Thai Food and Drug Administration inspects food supplement after Trang girl died. [on line]. 2016 [cited Oct 10, 2017] Available from: www. matichon.co.th/news/182670

6. Chonwihanpan W. Prevalence of inappropriate use of health products for weight control among female teenagers in Saraburi Province and factors affecting it. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016; 2: 442-55.

7. Sirichanchuen B, Norwong J, Sankule N, Chinwong D. Reasons influencing purchase decisions of diet- ary supplements on the internet in Thailand. Thai Journal of Pharmacy Practice 2017; 1: 259-68

8. Notification of Ministry of Public Health No.182 in 1998 on Nutrition Labelling. Royal Gazette No.115, Part 47 (June 11, 1998).

9. Bureau of Food. The process of using the E-sub mission system in food licensing for entrepreneur [online]. 2017 [cited Oct 10, 2017]. Available from: food.fda.moph.go.th/ESub/pages/manual2.php

10. Bureau of Food. Guidelines for permission and approving dietary supplements, royal jelly and royal jelly products [online]. 2017 [cited Oct 10, 2017]. Available from: food.fda.moph.go.th/data/manual/2(1 )_dietarysupplement_royaljelly.pdf

11. Food Act, B.E. 2522. Royal Gazette No. 96, Part 79 special (May 13, 1979).

12. Notification of Ministry of Public Health No.193 in 2000 on production processes, production equip ment, and foods storages. Royal Gazette No.118, Special Part 6 (January 24, 2001).

13. Regulation of the Food and Drug Administration on procedures of food serial numbers No.4, B.E. 2017 (December 15, 2017)