ความชุกของยาไม่ปลอดภัยในร้านชำ: กรณีศึกษาอำเภอหล่มเก่า เขาค้อ และน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

พยอม เพชระบูรณิน
สุรศักดิ์ เสาแก้ว

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของยาที่ไม่ปลอดภัยในร้านชำ ในอำเภอหล่มเก่า เขาค้อ และน้ำหนาวในจังหวัดเพชรบูรณ์ วิธีการ: การวิจัยเชิงสำรวจนี้กำหนดให้ “ยาไม่ปลอดภัยในร้านชำ” คือ ยาทุกชนิดที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ ร้านชำในอำเภอหล่มเก่า เขาค้อ และน้ำหนาว จำนวน 428 ร้านจากร้านชำทั้งหมด 635 ร้าน การศึกษาใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองในการเก็บข้อมูล ได้แก่ รายการยาที่พบ ปริมาณที่พบ วันหมดอายุ แหล่งที่มาของยา ความเหมาะสมของการการเก็บยาลักษณะการซื้อขาย กลุ่มลูกค้าที่มักถามหายา สาเหตุการใช้ และวิธีการใช้ โดยเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นผู้เก็บข้อมูลในเดือนมกราคม 2561 ผลการวิจัย: ร้านชำ 322 ร้าน (ร้อยละ 73.75) จำหน่ายยาไม่ปลอดภัย ยาที่ไม่ปลอดภัยที่พบมากที่สุดคือ ยาแก้ไข้หวัด เช่น tiffy, decolgen และ apracur ซึ่งพบใน 282 ร้าน (ร้อยละ 65.89) รองลงมา คือ ยารักษาโรคทางเดินอาหาร เช่น ยาธาตุน้ำขาวตรากระต่ายบิน ซึ่งพบใน 231 ร้าน (ร้อยละ53.97) และยาปฏิชีวนะ ซึ่งพบใน 220 ร้าน (ร้อยละ 68.32) ยาปฎิชีวนะที่พบมากที่สุดคือ tetracycline (85 ร้านหรือร้อยละ 19.86) รองลงมาคือ amoxicillin (73 ร้านหรือร้อยละ 17.06) และ penicillins (59 ร้าน หรือร้อยละ 13.79) ยากลุ่ม NSAIDs พบใน 139 ร้าน (ร้อยละ 43.17) ยากลุ่ม NSAIDsที่พบมากที่สุด คือ piroxicam (71 ร้านหรือร้อยละ 16.59) รองลงมาคือ aspirin (64 ร้าน หรือร้อยละ 14.95) สาเหตุของการจำหน่ายยา คือมีลูกค้ามาถามซื้อ (290 รายหรือร้อยละ 67.76) รองลงมาคือ แหล่งจำหน่ายแนะนำให้ขาย (20 ร้านหรือร้อยละ 4.67) ร้านชำส่วนใหญ่รายงานว่า แหล่งที่มาของยา คือร้านขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ (118 ร้าน หรือร้อยละ 36.65) รองลงมา คือ ร้านขายยาแผนปัจจุบัน (99 ร้านหรือร้อยละ 30.43) และร้านชำอื่น ๆ (62 ร้านหรือร้อยละ 19.25) สรุป: ยาที่ไม่ปลอดภัยยังมีการจำหน่ายจำนวนมากในร้านชำในเขตอำเภอหล่มเก่า เขาค้อ และน้ำหนาว ร้านชำเป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายและสะดวกที่สุด จึงควรมีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้เกิดความรู้และเข้าถึงยาที่ปลอดภัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Drug Act, B.E. 2510. Royal Gazette No.84, Part 101 Special (Oct 20, 1967)

2. Booddawong B, Yoongthong W. Community empow erment in the management of the problems on inappropriate drugs and health products: case study of Nonkhun district, Sisaket Province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016; 8: 331-343.

3. Poophalee T, Arpasrithongsakul S, Yingyoud W, Saengsuwan T, Ammart L. Grocery development model with community involvement in Phon Sung Subdistrict, Sakon Nakhon. Food and Drug Adminis tration Journal 2014; 21: 57-63.

4. Mongkonchaipak J, Ruamsuk J, Chaiprateep A. The study of customer’s knowledge and behavior in using antibiotics at community drug store in Pathum Thani Province. EAU Heritage Journal; 2012; 6: 91-100.

5. Sopontammarak A. Educate the community to take medication safely [online]. 2015 [cited Dec 7, 2017]. Available from: www.thaihealth.or.th/Content/26655-.html.

6. Ministry of Public Health. Health data center [online]. 2017 [cited Nov 7, 2017]. Available from: pnb.hdc. moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

7. Khaokho Hospital. Data from HosXP program during 2016-2017. Phetchabun: Khaokho Hospital; 2017.

8. Phetchabun Provincial Public Health Office. Report on complaints regarding health product and service in 2016.Phetchabun: Phetchabun Provincial Public Health Office; 2016.

9. Phetchabun Provincial Public Health Office. Report on complaints regarding health product and service in 2017. Phetchabun: Phetchabun Provincial Public Health Office; 2017.

10. Aekakun T. Research methods in behavioral sciences and social sciences. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani Rajabhat University; 2000.

11. Ruenruay S, Saokaew S. Situation of medicines and dietary supplements in the health provider board region 3. Thai Journal of Pharmacy Practice 2017; 9: 231-2.

12. Koonyodying A. Prevalence and characteristics of antibiotics providing groceries in Amphoe Wangnuea, Lampang province. Thai Journal of Pharmacy Prac tice 2016; 7: 114-20.

13. Sungthong W. Prevalence of grocery stores with antibiotics selling at Maesuai district, Chiang Rai Province and its affecting factors. Thai Journal of Pharmacy Practice 2015; 7: 38-46.

14. Surin N. Prevalence and characteristics of grocery stores that sold antibiotics in Amphoe Muangpan, Lampang province. Thai Journal of Pharmacy Prac tice 2015;7:200-5.

15. Pentongdee K. Interventions for inappropriate drugs in communities: case studies of Yasothorn. In: Sirisinsuk Y, editors. Report on situation on drug system in 2011. Bangkok: Usa printing; 2011.p.64-5

16. Anon. 'Diarrhea': do not taking anti-motility drugs [online]. [cited Dec 20, 2017]. Available from: www. thaihealth.or.th/Content/33734.