ความสอดคล้องระหว่างการประเมินตนเองและการประเมินโดยเภสัชกรตามเกณฑ์โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวด้านเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ในจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลการทำงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต. ) ด้านเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข และประเมินความสอดคล้องระหว่างการประเมินตนเองด้านคุณภาพการทำงานโดย รพ.สต. กับการประเมินโดยเภสัชกรในพื้นที่จังหวัดเชียงราย วิธีการ: ผู้วิจัยปรับปรุงแบบประเมิน รพ.สต. ติดดาว ด้านเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2561 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข โดยปรับให้เป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์และส่งให้เจ้าหน้าที่ รพ.สต. จำนวน 217 แห่ง เพื่อให้ประเมินตนเองตามเกณฑ์ดังกล่าว และส่งให้เภสัชกรของแต่ละพื้นที่ประเมิน รพ.สต ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของตนเอง การศึกษาวิเคราะห์ความสอดคล้องของผลการประเมินในประเด็นบุคลากร การคัดเลือก การส่งมอบยาที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ คลังยาและเวชภัณฑ์ การใช้ยาอย่างปลอดภัยและมีความสมเหตุผล และการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ผลการวิจัย: เจ้าหน้าที่ใน รพ.สต. 154 แห่ง ตอบแบบประเมิน (ร้อยละ 71.0) เภสัชกรในพื้นที่ประเมิน รพ.สต. รวม 121 แห่ง (ร้อยละ 55.8) รพ.สต. 95 แห่ง (ร้อยละ 43.8) มีผลการประเมินตนเองและผลการประเมินโดยเภสัชกร ผลการประเมินด้านเภสัชกรรมมีความสอดคล้องน้อยถึงปานกลาง ประเด็นที่มีความสอดคล้องน้อย ได้แก่ บัญชีรายการยา เวชภัณฑ์ การมีเภสัชกรและเจ้าหน้าที่รับผิดชอบยา ความรู้ด้านยา การมีระบบเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยแพ้ยาและผู้ป่วยที่ใช้ยาเสี่ยงสูง สถานที่เก็บยาและเวชภัณฑ์ และการใช้ยาอย่างปลอดภัยสมเหตุผล ผลการประเมินด้านการคุ้มครองผู้บริโภคมีความสอดคล้องในระดับน้อยทุกประเด็น สรุป: ผลการประเมินตามเกณฑ์ รพ.สต. ติดดาวด้านเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภคระหว่าง เจ้าหน้าที่ รพ.สต. กับเภสัชกรในพื้นที่ มีระดับน้อยถึงปานกลาง ทั้งนี้อาจเกิดจากความไม่ชัดเจนของเกณฑ์และความเข้าใจของผู้ประเมินต่อเกณฑ์การประเมิน ดังนั้นควรมีการทบทวนเกณฑ์การประเมินให้มีวิธีการให้คะแนนที่ชัดเจน ตลอดจนถ่ายทอดวิธีการประเมินให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Sriprasert P. Performances of a stared sub-district health promoting hospitals in the year 2017 [online]. 2017 [cited Jan 15, 2018]. Available from: bps. moph.go.th/new_bps/sites/default/files/final_star_ho spital 2561.pdf.
3. Rimchaisith W. Quality assessment of sub-district health promoting hospital version 2018, pharmacy RDU and health consumer protection sections [on line]. 2017 [cited Dec 20, 2017]. Available from: r8 way.moph.go.th/r8way/view_publicize.php?id=236.
4. Sripanidkulchai B, Kanjanarach T, Jaisa-ard R , Kan janasilp J, Ploylearmsang C, Hongsamoot D, et al. Policy recommendations for equality access to good pharmaceutical services at all levels. Khon Kaen: Faculty of Pharmacy, Khon Kaen University; 2016.
5. Tongyong P. A guideline of pharmacy and public health consumer protection practice in health promoting hospitals. Bangkok: Health Consumer Protection Program; 2010.
6. Mateeapiruk P. The analysis of the performance in accordance with the pharmaceutical standards in primary care unit (PCU), Songkhla province. Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2017;4: 153-70.
7. Poonaovarat N, Kanjanarach T. Job performance and attitudes of health personnel at sub district health promoting hospitals toward health consumer protection: A case study of Chaiyaphum province. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2013; 9: 160-5.
8. Pasunon P. Evaluation of inter-rater reliability using Kappa statistics. Journal of Faculty of Applied Arts, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. 2015; 8: 2-20.
9. Jaisa-ard R, Kanjanarach T. Needs for competency improvement in pharmacy service at a primary care level. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2014; 10: 69-79.
10. Suamuang T, Juntawong S, Changkaew W. Factors affecting health product consumer protection in Sub-district health promoting hospital, Suphanburi province. Phranakhon Rajabhat Research Journal (Science and Technology) 2017; 12: 24-37.