สถานการณ์คุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญและระบบการบำรุงรักษา ในพื้นที่อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจคุณภาพของน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญ และศึกษาระบบการบำรุงรักษาของตู้น้ำหยอดเหรียญในพื้นที่อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา วิธีการ : การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาที่สำรวจสภาพสุขาภิบาลและการดูแลรักษาตู้น้ำหยอดเหรียญ ทั้งอำเภอเชียงม่วน จำนวน 20 ตู้ หลังจากนั้นวิเคราะห์ด้วยชุดทดสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้นของกรมอนามัย ประกอบด้วยชุดวิเคราะห์โคลิฟอร์มแบคทีเรีย คลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำดื่ม ความกระด้างของน้ำดื่ม และวิเคราะห์ค่าความเป็นกรดด่างด้วย pH Kit test โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิท และใช้แบบสัมภาษณ์ผู้ดูแลตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ สำหรับเก็บข้อมูลระบบการบำรุงรักษาตู้น้ำดื่ม ผลการศึกษา : น้ำดื่มผ่านเกณฑ์เชื้อจุลินทรีย์ร้อยละ 40.00 ที่ 24 ชั่วโมง แต่ผ่านลดลงเหลือ ร้อยละ 15 ที่ 48 ชั่วโมง ผ่านเกณฑ์ความเป็นกรด – ด่างร้อยละ 55 ผ่านเกณฑ์ความกระด้างร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์คลอรีนร้อยละ 30 และผ่านเกณฑ์วิเคราะห์ทุกด้าน คิดเป็นเพียงร้อยละ 5 ผลการสำรวจสภาพสุขาภิบาลและการดูแลบำรุงรักษาตู้น้ำหยอดเหรียญพบว่า ประเด็นที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ คือ การควบคุมคุณภาพมาตรฐานน้ำบริโภค และ การบันทึกการรายงาน ส่วนระบบการดูแลรักษาตู้น้ำหยอดเหรียญในแต่ละหมู่บ้าน มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบทบาทและทัศนคติของผู้ดูแล ระบบการบริหารกองทุนระดับหมู่บ้าน ทั้งด้านโครงสร้างของกรรมการ การบริหารด้านรายได้ ค่าใช้จ่าย และระบบการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
สรุปผลและข้อเสนอแนะ : น้ำดื่มผ่านเกณฑ์ทั้งด้านเคมีและจุลินทรีย์ เพียงร้อยละ 5 และมีระบบการดูแลที่ต่ำกว่าเกณฑ์ในบางประเด็น ซึ่งชุมชนควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งในระบบการดูแลรักษา และควรมีหน่วยงานทั้งจากภาครัฐ ท้องถิ่นเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อให้น้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Pinprateep P. Resolution of the 9th National Health Assembly. Nonthaburi: National Health Commis- sion Office of Thailand; 2016.
Food Act, B.E. 2522. Royal Gazette No. 96, Part 79 special (May 13, 1979).
Public Health Ministerial Declaration No. 362 in 2013 on drinking water from vending machines. Royal Gazette No. 130, Part 136D special (Aug 16, 2013).
Tatpikulthong P, Playngam J, Wongboongeakool N. Factors affecting quality of water from vending machines. Samutprakarn; Samutprakarn Provin- cial Public Health Office. 2007.
Janwithayanuchit I, Chuwongwattana S, Phumeesat P, Rangsipanuratn W, Puengmueng P. Drinking water quality from vending machine in Bangkok. Journal of Health Sciences. 2007; 17: 68-73.
Department of Health. Environmental health accredit tation: standard operating procedure. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2015.
Ravadchai N, Sungsitthisawad W. Factors affecting of drinking water quality of vending machine. KKU Research Journal 2012; 17:480-92.
Research and Laboratory Development Center, Department of Health. User manual for drinking water test kit. Nonthaburi: Department of Health, Ministry of Public Health; 2015.
Taweesuai P, Pho-in M. Situation of safety on drinking water from vending machines. Bangkok: Independent Committee for Consumer Protection; 2016.
Khunkwae T, Nguendee P, Singthong N. The Relationship between sanitary conditions and drinking water quality of vender machine in the municipality of Nakhon Ratchasima. APHEIT Inter- national Journal 2017; 6: 108-17.