การสำรวจปัญหาและอุปสรรคในระบบการเฝ้าระวังการแพ้ยาซ้ำใน เครือข่ายผู้ให้บริการสุขภาพระดับอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจปัญหาและอุปสรรคในระบบการเฝ้าระวังการแพ้ยาซ้ำให้ครอบคลุมผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาข้ามเขตพื้นที่รอยต่อของเครือข่ายผู้ให้บริการสุขภาพระดับอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพระหว่างเดือนเมษายน–พฤศจิกายน 2561 ผู้ให้ข้อมูลถูกเลือกมาแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วยผู้ปฏิบัติงานในเครือข่ายบริการสุขภาพจำนวน 11 คน ประกอบด้วย แพทย์ 1 คน เภสัชกรผู้ให้บริการ 2 คน พยาบาลจุดคัดกรอง 1 คน พยาบาลผู้ให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 คน นักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 2 คน เจ้าหน้าที่เวชระเบียน จำนวน 1 คน และเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ 2 คน การศึกษาเก็บข้อมูลขั้นตอนการทำงานจริงของเจ้าหน้าที่และปัญหาในระบบเฝ้าระวังการแพ้ยาซ้ำของโรงพยาบาลใช้การสัมภาษณ์ การสังเกตพฤติกรรม และ การอภิปรายกลุ่ม และหาข้อสรุปในการดำเนินงานตามระบบการเฝ้าระวังการแพ้ยาซ้ำ ผลการวิจัย: ปัญหาและอุปสรรคในระบบการเฝ้าระวังการแพ้ยาซ้ำในปัจจุบันเกิดจากผู้ป่วยให้ประวัติแพ้ยาของตนไม่ชัดเจน และการส่งต่อข้อมูลแพ้ยาที่ไม่สมบูรณ์ระหว่างสถานพยาบาลทุกระดับสำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาข้ามเขตพื้นที่ในระดับอำเภอและจังหวัด จุดแข็งหลักทั้งในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คือ การเน้นการสร้างฐานข้อมูลในเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ แต่จุดอ่อน คือ การส่งต่อข้อมูลแพ้ยามีความล่าช้า และขาดความแลกเปลี่ยนข้อมูลแพ้ยาระหว่างสถานพยาบาล ในเรื่องการวางแนวทางเฝ้าระวังการแพ้ยาซ้ำในเครือข่ายผู้ให้บริการสุขภาพระดับอำเภอขุนยวม การพูดคุยในกลุ่มเห็นพ้องกันว่า ระบบในปัจจุบันเป็นระบบที่ดี และบุคลากรทางการแพทย์สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนของระบบได้ครบถ้วน แต่ยังขาดการแลกเปลี่ยนข้อมูลการแพทย์ จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบข้อมูลในการป้องกันการแพ้ยาซ้ำ และระบบการจัดการฐานข้อมูลในประเทศไทย พบว่าการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการแพทย์ผ่านโปรแกรมสืบค้นประวัติผู้รับบริการ (PHR Search) เป็นรูปแบบการเฝ้าระวังการแพ้ยาซ้ำที่เหมาะสม และเป็นไปได้มากที่สุดในการนำมาพัฒนาระบบในอำเภอขุนยวม ขั้นตอนการทำงานที่ควรเพิ่มเติม คือ การตรวจสอบประวัติแพ้ยาและประวัติการได้รับยาในกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยเกิดการแพ้ยา สรุป: ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในระบบการเฝ้าระวังการแพ้ยาซ้ำ คือ ฐานข้อมูลในเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ของสถานพยาบาลแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน ทำให้เป็นไปได้ยากในการใช้ข้อมูลเพื่อเฝ้าระวังการแพ้ยาซ้ำของผู้ป่วยข้ามเขตให้บริการ ในการศึกษานี้แก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่พบโดยใช้กระบวนการนำข้อมูลประวัติผู้ป่วยจากฐานข้อมูลระดับจังหวัดไปใช้ในการคัดกรองข้อมูลผู้ป่วยแพ้ยาเพิ่มเติม เพื่อให้ครอบคลุมในการส่งต่อข้อมูลทางการแพทย์ระหว่างผู้ให้บริการทางการแพทย์ภายในเครือข่าย ผู้ให้บริการทางการแพทย์ระดับจังหวัด และจังหวัดข้างเคียง แต่ทั้งนี้ควรมีการประเมินผลการดำเนินงานจากการใช้ระบบดังกล่าว เพื่อให้ได้แนวทางการเฝ้าระวังการแพ้ยาซ้ำที่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติจริง และสามารถเป็นต้นแบบในการป้องกันการแพ้ยาซ้ำหรือป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ของประเทศไทย
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Leape LL, Bates DW, Cullen DJ, et al. Systems analysis of adverse drug events. JAMA. 1995; 274: 35-43.
3. Kaelber DC, Bates DW. Health information exchange and patient safety. J Biomed Inform 2007; 40(6 Suppl):S40-5.
4. Thaikla B, Supakul S. Development of medical information exchange system among healthcare providers in contracting unit for primary care network. Thai Journal of Hospital Pharmacy 2014; 24: 85-96.
5. Suriyong P. Effect of a model of repeated drug allergy surveillance system in primary health care service network at Saraphi District, Chiang Mai Province [dissertation]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2010.
6. Bureau of Policy and Strategy. Manual of standards in storage and delivery; Health Information Standards Ministry of Public Health Version 2.1 fiscal year B.E. 2559. Nonthaburi: Bureau of Policy and Strategy, Ministry of Public Health; 2016.
7. Sawanpanyalert P, Suwankasawong V. Health product vigilance system in Thailand. Nonthaburi: National Library of Thailand Cataloging in Publication Data, 2016.
8. Kuperman G, Marston E, Paterno M, Rogala J, Plaks N, Hanson C, et al. Creating an enterprise-wide allergy repository at partners healthcare system. AMIA Annu Symp Proc. 2003: 376–80.
9. Kazandjian VA, Ogunbo S, Wicker KG, Vaida AJ, Pipesh F. Enhancing medication use safety: benefits of learning from your peers. Qual Saf Health Care 2009; 18:331-5. doi: 10.1136/qshc.200 8.027938.
10. Ramalingam B, Mendizabal E, van Mierop ES. Strengthening humanitarian network: Applying the network functions approach [online]. 2008. [cited Apr 15, 2018]. Available from: www.odi.org/sites/od i.org.uk/files/odi-assets/publications-opinion-iles/831 .pdf.