ความชุกและการจัดลำดับความสำคัญของ ยา อาหาร และเครื่องสำอาง ที่ไม่ปลอดภัยในอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและการจัดลำดับความสำคัญของยา อาหาร และเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย ในอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง ตัวอย่างคือครัวเรือน 200 ครัวเรือนที่เลือกมาด้วยวิธีการสุ่มแบบตามชั้นภูมิ ประชากรถูกแบ่งเป็นชั้นตามตำบล ในแต่ละตำบล ผู้วิจัยเลือกหมู่บ้านมาอย่างสุ่ม 1/3 ของจำนวนหมู่บ้านทั้งหมดในตำบล หลังจากนั้นเลือกครัวเรือนด้วยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคระดับอำเภอจำนวน 13 คนที่ผ่านการอบรมเป็นผู้ช่วยวิจัยในเก็บข้อมูลการใช้ยา อาหาร และเครื่องสำอางในครัวเรือนด้วยการสัมภาษณ์และสังเกตผลิตภัณฑ์ การตรวจสอบความถูกต้องของฉลากผลิตภัณฑ์ที่พบทำโดยตรวจสอบกับฐานข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังตรวจสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่พบด้วยฐานข้อมูลกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และแผ่นพับเครื่องสำอางห้ามใช้ของ อย. ทั้งยังตรวจผลิตภัณฑ์ยาและอาหารที่สงสัยด้วยชุดทดสอบสเตียรอยด์เบื้องต้น วิธีการจัดลำดับสินค้าไม่ปลอดภัยอ้างอิงจากคู่มือการดำเนินงานการจัดลำดับความสำคัญสินค้าไม่ปลอดภัยเพื่อการดำเนินการงานคุ้มครองผู้บริโภคระดับอำเภอ ของแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกลคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงและเกณฑ์การประเมินความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา จากการอภิปรายเหตุผลเชิงวิชาการและสรุปความคิดเห็นร่วมของคณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคระดับอำเภอ ผลการวิจัย: ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยที่พบมากที่สุดได้แก่ ยาปฏิชีวนะเหลือใช้ (ร้อยละ 10.5 ของครัวเรือนที่สำรวจ) รองลงมาคือ ยาชุด (ร้อยละ 7) และยาที่ไม่มีเลขทะเบียน (ร้อยละ 6.5) ความชุกของยาที่ไม่ปลอดภัยพบมากที่สุดในเขตเทศบาลเมืองปากพนัง (ร้อยละ 17.5 ของครัวเรือนที่พบยาไม่ปลอดภัย) รองลงมาคือ ตำบลคลองน้อย (ร้อยละ 11.1) ตำบลปากพนังฝั่งตะวันตกและตำบลเกาะทวด (ร้อยละ 7.9) ความชุกของครัวเรือนที่พบอาหารไม่ปลอดภัยพบมากในตำบลป่าระกำ ตำบลบ้านใหม่ และตำบลท่าพยา (ร้อยละ 25 ของครัวเรือนที่พบอาหารไม่ปลอดภัย) ความชุกของครัวเรือนที่พบเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยพบสูงสุดที่เขตเทศบาลเมืองปากพนัง (ร้อยละ 33.3 ของครัวเรือนที่พบเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย) ตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก (ร้อยละ 19) ตำบลบ้านใหม่และตำบลคลองน้อย (ร้อยละ 14.3) ผลการจัดลำดับ ยา อาหาร และเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยพบว่า ปัญหา 5 อันดับแรกได้แก่ 1. เครื่องสำอางห้ามใช้ 2. ยาชุดและยาปฏิชีวนะเหลือใช้/ไม่ได้ใช้ 3. ยาที่ตรวจพบสเตียรอยด์ 4. เครื่องสำอางฉลากไม่ถูกต้อง และ 5. ยาที่ไม่มีเลขทะเบียนและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่มีเลขสารบบ สรุป: การแก้ไขปัญหาสินค้าที่ไม่ปลอดภัยในอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ควรเป็นนโยบายสำคัญของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอโดยประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อมุ่งเป้าไปยังรายการยา อาหาร และเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องสำอางห้ามใช้ ยาชุด/ยาปฏิชีวนะเหลือใช้หรือไม่ได้ใช้ และยาที่ตรวจพบสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นรายการที่มีความเสี่ยงและมีความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาสูง
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Sriviriyanuparp W, Sukamolson S. Survey report of unsafe products and services published to the public from newspapers 2012-2013. Bangkok. Health Consumer Protection Program, Chulalongkorn University: 2013.
3. Sukamolson S, Sriviriyanuparp W, Kunsomboon W. Issue prioritization, prevalence and distribution of unsafe products in Thailand. Journal of Health Systems Research 2016; 10: 65-79.
4. Cochran WG. Sampling techniques. 2nd ed. New York: John Wiley and Sons; 1963.
5. Ruenrouy S, Saokaew S. Situation of medicines and dietary supplements in the health provider board region 3. Thai Journal of Pharmacy Practice 2017; 9: 225-35.
6. Drug Act, B.E. 2510. Royal Gazette No. 84, Part 101 special (Oct 20, 1967).
7. Food Act, B.E. 2522. Royal Gazette No. 96, Part 79 special (May 13, 1979).
8. Cosmetic Act B.E. 2558. Royal Gazette No. 132, Part 86A (Sep 8, 2015).
9. Phandej A. Collective action: Consumers throughout Thailand unite to inform clues for Illegal health, file product complaints with the FDA. Food and Drug Administration Journal 2014; 21: 76-8.
10. Thongyoung P, Mungkatok Y, Muenpa R. Issue prioritization for unsafe products for consumer protection. Bangkok: Health Consumer Protection Program, Chulalongkorn University; 2012.
11.Pungmanee S, Sukamolson S, Bunniti P, Funsoyraya S, Ponwanichanun R, Chaisuwan T. 10 provinces took an active role to inspect dangerous goods in marketplace. San Palang 2013; 9: 14-5.