ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจส่วนบนของผู้ป่วยนอกที่เป็นโรคดังกล่าวในโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

Main Article Content

ทิพวรรณ วงเวียน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจส่วนบนของผู้ป่วยนอกที่เป็นโรคดังกล่าว และเปรียบเทียบความรู้ในผู้ป่วยที่มีปัจจัยด้านประชากรและสังคมแตกต่างกัน วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยนอกที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจส่วนบนในโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 93 ราย ในเดือนตุลาคม 2555 ถึง มกราคม 2556 โดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ผลการวิจัย: ผู้ป่วยในโรคนี้มีคะแนนความรู้เฉลี่ย 2.5±1.9 คะแนนจากคะแนนเต็ม 8.0 คะแนน ส่วนใหญ่ได้คะแนน 0-3 คะแนน (ร้อยละ 77.4) ผู้ป่วยส่วนใหญ่เชื่อว่า ยาปฏิชีวนะเป็นยาที่ปลอดภัยและไม่เคยมีใครตายจากการใช้ยานี้ (ร้อยละ 91.4) การกินยาปฏิชีวนะช่วยรักษาอาการไข้ จาม น้ำมูกไหล ไอ และเจ็บคอ (ร้อยละ 90.3) และยาปฏิชีวนะสามารถฆ่าเชื้อได้ทุกชนิด (ร้อยละ 77.4) นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยที่อ่านข้อมูลจากโปสเตอร์รณรงค์การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลมีคะแนนความรู้มากกว่าผู้ที่ไม่ได้อ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.022) สรุป: ผู้ป่วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจส่วนบนมีความรู้น้อยเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคนี้ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลแก่ผู้ป่วยในโรงพยาบาล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Treebupachatsakul P, Tiengrim S, Thamlikitkul V. Upper respiratory tract infection in Thai adults: prevalence and prediction of bacterial causes, and effectiveness of using clinical practice guidelines. J Med Assoc Thai 2006;89: 1178-86.

2. Issarachaikul R, Suankratay C. Antibiotic prescription for adults with upper respiratory tract infection and acute bronchitis at King Chulalongkorn Memorial Hospital, Thailand. Asian Biomed 2013;7: 15-20.

3. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินโครงการ Antibiotics Smart Use [ออนไลน์]. 2552 [สืบค้นวันที่ 1 เมษายน 2555]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://newsser.fda.moph .go.th/rumthai/userfiledownload/asu38dl.pdf

4. Vinker S, Ron A, Kitai E. The knowledge and expectations of parents about the role of antibiotic treatment in upper respiratory tract infection--a survey among parents attending the primary physician with their sick child. BMC Fam Pract 2003;4: 20 doi:10.1186/1471-2296-4-20.

5. สุวัฒน์ ปริสุทธิวุฒิพร, มัณฑนา เหมชะญาติ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้มารับบริการในโรงพยาบาลขลุง จังหวัดจันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2557;31: 114-27.

6. Saengcharoen W, Lerkiatbundti S, Kaewmang K. Knowledge, attitudes, and behaviors regarding antibiotic use for upper respiratory tract infections: a survey of Thai students. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2012;43: 1233-44.

7. บุปผา ศิริรัศมี. พฤติกรรมสุขภาพในเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะของประชาชนในจังหวัดนครปฐม. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2540.

8. กานนท์ อังคณาวิศัลย์, พศวัต พึ่งเกียรติไพโรจน์, นวลนิตย์ แปงดี, สคณรัช ทองคำคูณ, กัลยรัตน์ วิไลวงศ์เสถียร, พิรญาณ์ เพียรกลิ่นธรรม และคณะ. ความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2555. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2555;6: 374-81.

9. นิธิมา สุ่มประดิษฐ์, เสาวลักษณ์ ฮุนนางกูร, ภาณุมาศ ภูมาศ, ภูษิต ประคองสาย. การสำรวจระบบการควบคุมและเฝ้าระวังการใช้ยาปฏิชีวนะและการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล: ผลการศึกษาเบื้องต้น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2555;6: 361-73.

10. Sumpradit N, Chongtrakul P, Anuwong K, Pumtong S, Kongsomboon K, Butdeemee P, et al. Antibiotics Smart Use: a workable model for promoting the rational use of medicines in Thailand. Bull World Health Organ 2012;90: 905-13.

11. ภานุมาศ ภูมาศ, ตวงรัตน์ โพธะ, วิษณุ ธรรมลิขิตกุล, อาทร ริ้วไพบูลย์, ภูษิต ประคองสาย, สุพล สิมวัฒนานนท์. ผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐศาสตร์จากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย : การศึกษาเบื้องต้น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2555;6: 352-60.

12. นุศราพร เกษสมบูรณ์, รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์, อินทิรา กาญจนพิบูลย์, ศิริพา อุดมอักษร, อัญชลี จิตรักนที. การวิจัยและพัฒนาระบบ เพื่อการจัดทำบัญชีรายจ่ายยาแห่งชาติ. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข; 2555. หน้า 86-88.

13. ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. สรุปรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาประจำปี 2554 [ออนไลน์]. 2554. [สืบค้นวันที่ 6 เมษายน 2555]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://thaihpvc.fda.moph.go.th/ thaihvc/Public/NewsAdr/uploads/hpvc_154.pdf

14. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. แนะนำโครงการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล Antibiotics Smart Use [ออนไลน์]. 2552 [สืบค้นวันที่ 1 เมษายน 2555]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://newsser.fda.moph.go.th/rumthai/asu/introduce.php

15. พณพัฒณ์ โตเจริญวาณิช, กรองแก้ว ร่มสงฆ์. ความคาดหวังของผู้ปกครองของเด็กที่มาพบแพทย์ด้วยอาการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบน ณ คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลหาดใหญ่. สงขลานครินทร์เวชสาร 2549;24: 117-26.

16. Gonzales R, Lopez-Caudana AE, Gonzalez-Flores T, Jayanthan J, Corbett KK, Reyes-Morales H. Antibiotic knowledge and self-care for acute respiratory tract infection in Mexico. Salud Publica Mex 2012;54: 152-7.