การประเมินการสั่งใช้ยา cefoperazone/sulbactam ในโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินการใช้ยา cefoperazone/sulbactam ของโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งในด้านข้อบ่งใช้ แบบแผนการใช้ ผลการรักษา มูลค่ายาที่สูญเสียจากการใช้ยาไม่เหมาะสมและไม่ทำให้อาการทางคลินิกของผู้ป่วยดีขึ้น วิธีการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากแฟ้มประวัติของผู้ป่วยในที่ใช้ยา cefoperazone/sulbactam ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 ในโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง ผู้วิจัยประเมินการใช้ยาตามเกณฑ์มาตรฐานซึ่งสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม และคำนวณค่าใช้จ่ายด้านยาที่สูญเสียจากการใช้ยาไม่เหมาะสมจากข้อมูลปริมาณยาที่ใช้ไม่สอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานด้านข้อบ่งชี้และจำนวนผู้ป่วยที่มีผลการรักษาไม่ดีขึ้นโดยการประเมินของแพทย์ ผลการวิจัย: ผู้ป่วย 142 รายได้รับยา cefoperazone/sulbactam ในช่วงเวลาที่ศึกษา แพทย์สั่งใช้ยาแบบทราบชนิดและความไวของเชื้อต่อยาแล้ว จำนวน 79 ราย (ร้อยละ 55.63) แบบยังไม่ทราบชนิดและความไวของเชื้อต่อยาที่ใช้รักษา จำนวน 51 ราย (ร้อยละ 35.91) และแบบทราบผลเพาะเชื้อภายหลังใช้ยาไปแล้วโดยเป็นเชื้อที่ไวกับยา จำนวน 12 ราย (ร้อยละ8.45) ในด้านข้อบ่งใช้พบว่า การใช้ยาสอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานในผู้ป่วย 107 ราย (ร้อยละ 75.35) ในด้านผลการรักษาพบว่า ผู้ป่วย 80 ราย (ร้อยละ56.33) มีอาการดีขึ้นหรือหายขาด ผู้ป่วย 47 ราย (ร้อยละ 33.09) เสียชีวิต และผู้ป่วยอีก 15 ราย (ร้อยละ 10.56) ไม่สามารถประเมินผลได้ เนื่องจากผู้ป่วยปฎิเสธการรักษาต่อ มูลค่ายาที่สูญเสียจากปริมาณการใช้ยาที่ไม่สอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานด้านข้อบ่งชี้และผู้ป่วยมีผลการรักษาไม่ดีขึ้น คิดเป็นเงิน 303,434 บาทในช่วงเวลา 6 เดือนที่ศึกษา สรุป: การสั่งใช้ยา cefoperazone/sulbactam ในโรงพยาบาลที่ศึกษามีความเหมาะสมพอสมควร แต่ต้องมีมาตรการควบคุมการใช้ต่อไป และต้องให้ข้อมูลแก่แพทย์เพื่อให้มีการใช้ยาตามเกณฑ์มากขึ้น เพื่อลดปัญหาเชื้อดื้อยา ลดค่าใช้จ่ายที่สูญเสีย และเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยาแก่ผู้ป่วย
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Dejsirilert S, Tienggrim S, Sawanpanyalert P, Aswapokee N, Malathum K. Antimicrobial resistance of Acinetobater baumannii: Six years of National Antimicrobial Resistance Surveillance Thailand (NARST) Surveillance. J Med Assoc Thai 2009; 92(Suppl 4): S34-S45.
3. Choi JY, Park YS, Kim CO, Park YS, Yoon HJ, Shin SY et al. Mortality risk factors of Acinetobacter baumannii bacteremia. Intern Med J 2005; 35: 599-603.
4. Eriksen HM, Iversen BG, Aavitsland P. Prevalence of nosocomial infections in hospitals in Norway, 2002 and 2003. J Hosp Infect 2005; 60: 40-5.
5. Surasarang K, Narksawat K, Danchivijitr S, Siripannichgon K, Sujirarat D, Roungrungrueng Y et al. Risk factors for Multi-Drug Resistant Acinetobacter baumannii nosocomial infection. J Med Assoc Thai 2007; 90: 1633-9.
6. Smolyakov R, Borer A, Riesenberg K, Schlaeffer F, Alkan M, Porath A, et al. Nosocomial multidrug-resistant Acinetobacter baumannii bloodstream infection: risk factors and outcome with ampicillin-sulbactam treatment. J Hosp Infect 2003; 54: 32-8.
7. Chaiwarith R, Mahatthanaphak S, Boonchoo M, Supparatpinyo K, Sirisanthana T. Pandrug-resistant Acinetobacter baumannii at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. J Infect Dis Antimicrob Agents 2005; 22: 1-8.
8. วิษณุ ธรรมลิขิตกุล. Appropriate use of beta–lactams.ใน: สมบัติ ลีลาสุภาศรี, สถาพร ปิติวิเชียรเลิศ, กิตติ ตระกุลฮุน, ธนะพันธ์ พิบูลบรรณกิจ, บรรณาธิการ.Current practice in common infection disease.กรุงเทพฯ: สวิชาญการพิมพ์; 2543. หน้า 38-41.
9. พรรณพิศ สุวรรณกูล. Beta-lactam antibiotics. ใน:พรรณพิศ สุวรรณกุล, ธีรพงษ์ ตัณฑวิเชียร, บรรณาธิการ. Update in antimicrobial agents and vaccinations. กรุงเทพฯ: บีบี.การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์; 2544. หน้า 31-40.
10. Gilbert DN, Moellering RC, Ellopoulos GM, Sande MA. The Sanford guide to antimicrobial therapy, 3rd ed. Sperryville, VA: Antimicrobial Therapy. 2007.