ผลของการประสานรายการยาผู้ป่วยนอกหลังการพัฒนาโปรแกรม ต่อระบบงานบริการจ่ายยา โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

Main Article Content

อติภรณ์ ตันธนะเสตะกุล
ธวัช โอวาทฬารพร
รุ่งฟ้า สราญเศรษฐ์
พิณทิพย์ วัฒนสุขชัย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการประสานรายการยาผู้ป่วยนอกหลังการพัฒนาโปรแกรมต่อระบบงานบริการจ่ายยา โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ในด้านการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา เวลารอรับยาผู้ป่วย และความพึงพอใจของเภสัชกรต่อโปรแกรม วิธีการวิจัย: การประสานรายการยาหลังการพัฒนาโปรแกรมของงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกเริ่มปี 2554 ผู้วิจัยวิเคราะห์รายงานความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาในปี 2554 เปรียบเทียบเวลารอรับยาของผู้ป่วยนอกช่วงเวลาเร่งด่วนในระยะก่อนและหลังการใช้โปรแกรม (ปี 2553 และ 2554) และสำรวจความพึงพอใจของเภสัชกร 40 คนด้วยแบบสอบถาม ผลการวิจัย: จากรายงานความคลาดเคลื่อนทั้งหมด 2,712 รายการในปี 2554 ผลการประสานรายการยาพบความคลาดเคลื่อนทางยาที่เภสัชกร ณ จุดจ่ายยาดักจับด้วยโปรแกรมร้อยละ 11 (306 รายงาน) โดยร้อยละ 58 เป็นความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาด้วยปริมาณที่ไม่เหมาะสมกับวันนัด ร้อยละ 18 เป็นความคลาดเคลื่อนที่ผู้ป่วยไม่ได้รับยาเดิมที่ควรได้รับ  ร้อยละ 13 เป็นความคลาดเคลื่อนที่รูปแบบ ความแรง และวิธีใช้ยาต่างจากเดิมโดยแพทย์ไม่ได้ตั้งใจ  ร้อยละ 7 เป็นความคลาดเคลื่อนที่ผู้ป่วยได้รับยากลุ่มเดียวกันซ้ำซ้อน และร้อยละ 4 เป็นปฏิกิริยาระหว่างยากับยา หากไม่มีการประสานรายการยาหลังพัฒนาโปรแกรมดังกล่าว ความคลาดเคลื่อนเหล่านี้อาจไม่ถูกตรวจพบหรือต้องใช้เวลาในการตรวจพบนานขึ้น เวลารอรับยาเฉลี่ยของผู้ป่วยในเวลาเร่งด่วนก่อนและหลังการใช้โปรแกรม คือ 12.17 และ 10.90 นาที  ตามลำดับ แสดงว่า การใช้โปรแกรมดังกล่าวไม่กระทบระบบงานและเป้าหมายของโรงพยาบาลในเรื่องเวลารอรับยา (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 15 นาที) เภสัชกรพึงพอใจในการใช้งานโปรแกรม เพราะใช้งานง่ายและมีประโยชน์ในการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา  สรุป: ผลการประสานรายการยาผู้ป่วยนอกหลังการพัฒนาโปรแกรมในระบบงานบริการจ่ายยาสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย โดยไม่กระทบเวลารอรับยา เภสัชกรมีความพึงพอใจต่อโปรแกรม อย่างไรก็ตาม ฝ่ายเภสัชกรรมควรต้องพัฒนากระบวนการประสานรายการยาควบคู่กับการพัฒนาโปรแกรมนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครอบคลุมการใช้ในทุกจุดที่ต้องมีการประสานรายการยา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ธิดา นิงสานนท์, สุวัฒนา จุฬาวัฒนฑล, ปรีชา มนทกานติกุล. การป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย. กรุงเทพมหานคร: ประชาชน; 2547.

2. ธิดา นิงสานนท์. Medication reconciliation. ใน: ธิดา นิงสานนท์, ปรีชา มนทกานติกุล, สุวัฒนา จุฬาวัฒนฑล, บรรณาธิการ. Medication reconciliation. กรุงเทพมหานคร: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2551. หน้า 1-25.

3. Rozich J, Resar R. Medication safety: one organization’s approach to the challenge. J Clin Outcomes Manag 2001; 8: 27-34.

4. Salemi CS, Singleton N. Decreasing medication discrepancies between outpatient and inpatient care through the use of computerized pharmacy. Perm J 2007; 11: 31-4.

5. ธนิยา ไพบูลย์วงษ์. Medication Reconciliation. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล 2550; 17: 185-92.

6. The Joint Commission on Accreditation of Healthcare Organizations. Using medication reconcilia¬tion to prevent errors: in sentinel event alert [online]. 2008 [cite 2010 Jul 20]. Available from: URL:http://www.jointcommission.org/sentinelevents/sentineleventalert/sea_39.htm.

7. คณะกรรมการบริหารจัดการระบบยาเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. แผนปฏิบัติการปี 2553-2554. รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดยาระบบยาเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ครั้งที่ 2/2552 และ1/2553.

8. Tatro DS. Drug interaction facts. Missouri: Wolters-Kluwer Health; 2008.
9. Schnipper L. Effect of an electronic medic
ation reconciliation application and process redesign on potential adverse drug events. Arch Intern Med 2009; 169: 771-80.
10. อัญชิสา แหลมคม, พีรยา สมสะอาด, สกุลรัตน์ รัตนาเกียรติ. ผลของกระบวนการติดตามความสอดคล้องต่อเนื่องทางยาร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่อความคลาดเคลื่อนทางยา โรงพยาบาลภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ.[ออนไลน์]. 2555 [สืบค้นวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://pharm.kku.ac.th/isan-journal/journal/volumn8-no1/4annual/019-MSU_Pages_150-158.pdf

11. รุ่งฟ้า สราญเศรษฐ์. ระบบป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2552; 27: 415-26.

12. Gleason KM, Groszek JM, Sullivan C, Rooney D, Barnard C, Nosk CA. Reconciliation of discrepancies in medication histories and admission orders of newly hospitalized patients. Am J Health-Syst Pharm 2004; 61: 1689-95.

13. คณิตา ปั่นตระกูล, อัจฉราวรรณ โตภาคงาม. การประสานรายการยา ณ โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2555; 8: 27-40.