คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังตามแบบวัดคุณภาพชีวิต ขององค์การอนามัยโลกฉบับย่อภาษาไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อวัดระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังโดยใช้แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกฉบับย่อภาษาไทย วิธีการ: การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ใช้การเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคทางเดินอาหารของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ระหว่างเดือนธันวาคม 2551 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2552 โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ที่ประกอบด้วยแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกฉบับย่อภาษาไทย และคำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย: มีผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังที่ยินยอมเข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้ทั้งสิ้น 85 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 76.5) สมรสแล้ว (ร้อยละ 82.5) กว่าครึ่งของผู้ป่วย (ร้อยละ 55.3) ใช้สิทธิระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ เมื่อพิจารณาระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตามแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก (ฉบับย่อ) พบว่า ผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย จิตใจ สัมพันธภาพทางสังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตโดยรวมเท่ากับ 24.40±3.86, 20.92±5.12, 10.83±2.34, 30.31±4.50 และ 103.51±13.00 ตามลำดับ สรุป: ผลการวิจัยแสดงว่า แม้ความเจ็บป่วยด้วยโรคตับเรื้อรังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย แต่ในภาพรวม ผู้ป่วยในการศึกษาครั้งนี้ยังคงมีคุณภาพชีวิตในระดับดี บุคลากรสุขภาพควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย รวมทั้งมีมาตรการในการเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับสังคมรอบข้าง
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Orley J, Kuyken W. Quality of life assessment: international perspectives. Heidelberg: Springer Verlag, 1994.
3. World Health Organization, Programme on Mental Health. WHOQOL-BREF—introduction, administra- tion, scoring and generic version of the assessment. Geneva: WHO, 1996.
4. Skevington SM, Lotfy M, O’Connell KA. The World Health Organization’s WHOQOL-BREF quality of life assessment: psychometric properties and results of the international field trial. Qual Life Res 2004;13:299-310.
5. Li K, Kay NS, Nokkaew N. The performance of the World Health Organization’s WHOQOL-BREF in assessing the quality of life of Thai college students. Soc Indic Res 2009;90:489-501.
6. Sudnongbua S, LaGrow S, Boddy J. Feelings of abandonment and quality of life among older persons in rural northeast Thailand. J Cross Cult Gerontol 2010;25:257-69.
7. Sakthong P, Schommer JC, Gross CR, Sakulbumrungsil R, Prasithsirikul W. Psychometric properties of WHOQOL-BREF-THAI in patients with HIV/AIDS. J Med Assoc Thai 2007;90:2449-60.
8. Phungrassami T, Katikarn R, Watanaarepornchai S, Sangtawan D. Quality of life assessment in radiotherapy patients by WHOQOL-BREF-THAI: a feasibility study. J Med Assoc Thai 2004;87:1459-65.
9. Afendy A, Kallman JB, Stepanova M, Younoszai Z, Aquino RD, Bianchi G, et al. Predictors of health-related quality of life in patients with chronic liver disease. Aliment Pharmacol Ther 2009;30:469-76.
10. Younossi ZM, Boparai N, Price LL, Kiwi ML, McCormick M, Guyatt G. Health-related quality of life in chronic liver disease: the impact of type and severity of disease. Am J Gastroenterol 2001; 96: 2199-205.
11. Siegel BMR, Younossi ZM, Hays RD, Revicki D, Robbins S, Kanwall F. Impact of hepatitis C on health related quality of life: a systematic review and quantitative analysis. Hepatology 2005;41:790-800.
12. Sobhonslidsuk A, Silpakit C, Kongsakon R, Satitpornkul P, Sripetch C. Chronic liver disease questionnaire: translation and validation in Thais. World J Gastroenterol 2004;10:1954-7.
13. World Health Organization, Programme on Mental Health. WHOQOL-BREF introduction, administra- tion, scoring, and generic version of the assessment. Geneva: WHO, 1996.
14. Nunally JC. Psychometric theory. 2nd ed. New York: McGraw-Hill, 1978.
15. Hawthorn G, Herrman H, Murphy B. Interpreting the WHOQOL-BREF: preliminary population norms and effect sizes. Soc Indic Res 2006;37-59.