การพัฒนาแบบวัดความไวต่อประเด็นจริยธรรมสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ตอนที่ 2: ความเที่ยงและการศึกษาในตัวอย่างกลุ่มใหญ่

Main Article Content

สงวน ลือเกียรติบัณฑิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : งานวิจัยนี้เป็นรายงานตอนที่สองของการศึกษาที่สร้างแบบประเมินความไวต่อจริยธรรมสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเที่ยงของแบบวัดและประเมินความไวทางจริยธรรมในนักศึกษาเภสัชศาสตร์ วิธีการ : การวัดความเที่ยงทำโดยสัมภาษณ์นักศึกษา 20 รายสองครั้งเป็นเวลาหนึ่งเดือน การประเมินคะแนนทำโดยผู้ประเมินสองท่าน ส่วนการทดสอบแบบวัดในตัวอย่างกลุ่มใหญ่ ทำโดยสัมภาษณ์นักศึกษาทุกชั้นปีรวม 105 คน ตัวอย่างต้องอ่านกรณีศึกษาทั้งสี่ และตอบว่ามีประเด็นใดที่ตนเองคิดว่ามีความสำคัญต่อการประกอบวิชาชีพ โดยที่ผู้วิจัยมิได้บอกว่า การสัมภาษณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับจริยธรรม การวิจัยนี้ใช้ผู้สัมภาษณ์lทั้งหมดสามท่านที่ผ่านการอบรมวิธีการสัมภาษณ์ ผลการวิจัย : ความเที่ยงแบบ test-retest คือ 0.64 คะแนนของผู้ประเมินสองคนที่ประเมินตัวอย่างคนเดียวกันมีค่าสหสัมพันธ์มากกว่า 0.90 ความเที่ยงแบบครอนบาช มีค่า 0.73 นักศึกษาในชั้นปี 4-6 มีคะแนนรวมความไวทางจริยธรรม (9.16+2.45 จากคะแนนเต็ม 14) มากกว่านักศึกษาในชั้นปี 1-3 (7.73+3.10) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.013) นักศึกษาชั้นปีหลัง ๆ มองเห็นประเด็นที่ซ่อนไว้มากกว่านักศึกษาชั้นปีแรก ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในสามเรื่อง คือ การโฆษณาร้านยาของตน การเปิดเผยความลับของผู้ป่วยเพื่อปกป้องผู้อื่น และการร่วม มือผลิตยาอย่างผิดกฎหมาย สรุป: งานวิจัยนี้ทำให้ได้เครื่องมือวัดความไวทางจริยธรรมในนักศึกษาเภสัชศาสตร์ที่มีความเที่ยง งาน วิจัยนี้ยังชี้ประเด็นการสอนจริยธรรมที่ควรปรับปรุงในคณะเภสัชศาสตร์ที่เป็นสถานที่วิจัย ในอนาคต ควรมีการศึกษาความตรงของแบบวัดและปัจจัยทำนายความไวทางจริยธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1) Rest JR. A psychologist looks at the teaching of ethics. Hastings Cent Rep 1982; 12: 29-36.

2) Kohlberg L. Stage and sequence: the cognitive–developmental approach to socialization. In Goslin DA , editor. Handbook of socialization and research. Chicago: Rand McNally; 1969. p. 347–480.

3) Rest J. Development in judging moral issues. Minneapolis: University of Minnesota Press; 1979.

4) Clarkeburn H. A test for ethical sensitivity in science. J Moral Educ 2002; 31: 440–53.

5) Sparks JR, Hunt SD. Marketing researcher ethical sensitivity: conceptualization, measurement, and exploratory investigation. J Marketing 1998; 62: 92-109.

6) Rest J, Narvaez D, Bebeau MJ, Thoma SJ. Postconventional moral thinking: a neo-Kohlbergian approach. Mahwah, NJ: Erlbaum; 1999.

7) Bebeau MJ, Rest JR, Yamoor CM. Measuring dental students' ethical sensitivity. J Dent Educ 1985; 49:225-35.

8) Hébert P, Meslin EM, Dunn EV, Byrne N, Reid SR. Evaluating ethical sensitivity in medical students: using vignettes as an instrument. J Med Ethics. 1990; 16: 141-5.

9) Hébert PC, Meslin EM, Dunn EV. Measuring the ethical sensitivity of medical students: a study at the University of Toronto. J Med Ethics. 1992; 18:142-7.

10) Akabayashi A, Slingsby BT, Kai I, Nishimura T, Yamagishi A. The development of a brief and objective method for evaluating moral sensitivity and reasoning in medical students. BMC Med Ethics 2004; 5: 1-6.

11) สงวน ลือเกียรติบัณฑิต. การพัฒนาแบบวัดความไวต่อประเด็นจริยธรรมสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ตอนที่ 1: การพัฒนากรณีศึกษาและวิธีการวัด. วารสารเภสัชกรรมไทย 2553; 2: 90-105.

12) Bebeau MJ, Brabeck MM. Integrating care and justice issues in professional moral education: a gender perspective. J Moral Educ 1987; 16: 189–203.