ปัจจัยที่ส่งผลต่อการแจ้งประวัติแพ้ยาโดยผู้ป่วย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยแจ้งประวัติการแพ้ยาแก่บุคลากรทางการแพทย์ วิธีการ: ตัวอย่างคือผู้ป่วยนอก 250 คนที่มีประวัติแพ้ยาซึ่งมารับบริการ ณ โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งในช่วงเวลาที่ศึกษา ผู้วิจัยสัมภาษณ์ผู้ป่วยถึงการแจ้งข้อมูลการแพ้ยาแก่บุคลากรทางการแพทย์สำหรับการมารับบริการในครั้งนี้ ทั้งการแจ้งด้วยวาจาหรือด้วยการแสดงบัตรแพ้ยา ความถี่ในการแจ้งประวัติในการมารับบริการในอดีต และการพกบัตรแพ้ยา หลังการสัมภาษณ์ ตัวอย่างตอบแบบสอบถามวัดตัวแปรอิสระต่อไปนี้ ข้อดีและข้อเสียของการให้ประวัติแพ้ยา ความไวของตนเองต่อการแพ้ยา ความเชื่อมั่นต่อระบบป้องกันการแพ้ยาของโรงพยาบาล ความคาดหวังของบุคลากรทางการแพทย์ ความรู้เกี่ยวกับตัวยาที่แพ้และการปฏิบัติตัว อุปสรรคของการให้ประวัติ ความรุนแรงของการแพ้ยา ความเชื่อว่าต้องรับผิดชอบต่อสุขภาพของตนเอง และทัศนคติต่อการแจ้งประวัติ หลังจากนั้นผู้วิจัยสัมภาษณ์ผู้ป่วยเกี่ยวกับความรู้เรื่องการแพ้ยา ผลการวิจัย: ตัวอย่างแจ้งประวัติแพ้ยาร้อยละ 72.4 เป็นการแจ้งโดยวาจาร้อยละ 39.6 แจ้งโดยแสดงบัตรแพ้ยาร้อยละ 29.20 และแจ้งโดยวาจาร่วมกับแสดงบัตรร้อยละ 3.6 ตัวอย่างแจ้งประวัติแพ้ยาเองโดยเจ้าหน้าที่ไม่ต้องถามร้อยละ 49.20 ตัวอย่างพกบัตรแพ้ยามาโรงพยาบาลร้อยละ 52.00 พกบัตรแพ้ยามาโรงพยาบาลทุกครั้งร้อยละ 52.40 พกบัตรแพ้ยาติดตัวตลอดเวลาหรือเกือบตลอดเวลา 68.40 ตัวอย่างร้อยละ 70.4 ทราบชื่อยาที่แพ้ อีกร้อยละ 40 ทราบการปฏิบัติตัวเมื่อแพ้ยาและร้อยละ 16.4 ทราบการป้องกันไม่ให้แพ้ยาซ้ำ การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการแจ้งประวัติการแพ้ยาคือ ความไวต่อการแพ้ยาทัศนคติต่อการแจ้งประวัติ ความรู้เกี่ยวกับตัวยาที่แพ้ และอุปสรรคของการแจ้งประวัติแพ้ยา ปัจจัยที่มีผลต่อการแจ้งประวัติโดยการแสดงบัตรแพ้ยา คือความเชื่อว่าบุคลากรทางการแพทย์คาดหวังให้แจ้งประวัติแพ้ยา ปัจจัยที่มีผลต่อการแจ้งประวัติแม้ไม่ได้รับการซักถามคือทัศนคติที่ดีต่อการแจ้งประวัติแพ้ยา และความรู้เกี่ยวกับตัวยาที่แพ้ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความถี่ของการแสดงบัตรแพ้ยาเมื่อมาโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความรุนแรงของการแพ้ยา และการรับรู้ความไวของตนเองต่อการแพ้ยา ปัจจัยที่มีผลต่อความถี่ของการแจ้งประวัติแพ้ยาโดยวาจาเมื่อมาโรงพยาบาล คือ ความเชื่อในเรื่องข้อดีของการให้ประวัติแพ้ยา ความรู้เกี่ยวกับตัวยาที่แพ้ และอุปสรรคของการแจ้งประวัติแพ้ยา ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความถี่ของการพกบัตรแพ้ยาติดตัวตลอดเวลา คือ ความรุนแรงของการแพ้ยา การรับรู้ความไวของตนเองต่อการแพ้ยา ความเชื่อว่าบุคลากรทางการแพทย์คาดหวังให้แจ้งประวัติ ทัศนคติต่อการแจ้งประวัติแพ้ยา และความเชื่อมั่นต่อระบบป้องกันแพ้ยาของโรงพยาบาล สรุป: ผู้ป่วยจำนวนมากยังไม่ร่วมมือในการแจ้งประวัติการแพ้ยาของตน ผลการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่พบว่ามีผลต่อการแจ้งประวัติการแพ้ยาในการวิจัย จะเป็นข้อมูลในการพัฒนามาตรการแก้ไขปัญหานี้
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Thong BY, Leong KP, Tang CY, Chng HH. Drug allergy in a general hospital: results of a novel prospective inpatient reporting system. Ann Allergy Asthma Immunol. 2003;90:342–7.
3. Gruchalla RS. Drug allergy. J Allergy Clin Immunol 2003;111(2 suppl):s548-9
4. Bates DW, Cullen DJ, Laird N, Petersen LA, Small SD, Servi D, et al. Incidence of adverse drug events and potential adverse drug events: implication for prevention. JAMA.1995;274:29–34.
5. Lesar TS, Briceland L, Stein D. Factors related to errors in medication prescribing. JAMA. 1997;277 :312–7.
6. Jones TA, Como JA. Assessment of medication errors that involved drug allergies at a university hospital. Pharmacotherapy 2003;23:855-860
7. Leape LL, Bates DW, Cullen DJ, Cooper J, Demonaco HJ, Gallivan T, et al. Systems analysis of adverse drug events.JAMA. 1995;274:35–43.
8. Bates DW, Teich JM, Lee J, Seger D, Kuperman GJ, Ma’Luf N, et al. The impact of computerised physician order entry on medication error prevention. J Am Med Inform Assoc. 1999; 6:313–21.
9. นิสา เลาหพจนารถ, ปิยเมธ โตสุขุมวงศ์, พวงเพ็ญ ฤทธีวีรกุล. การประเมินผลงานส่งมอบบัตรแพ้ยาแก่ผู้ป่วยในที่มีประวัติแพ้ยาโดยเภสัชกร. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล 2550; 17 :40-8.
10. วลัยรัตน์ วงศ์เพ็ญทักษ์. การประเมินผลงานส่งมอบบัตรแพ้ยาแก่ผู้ป่วยโรงพยาบาลพระพุทธชินราช. รายงานการประชุมวิชาการงานเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้ยา : ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข; 2550.
11. Green SB. How many subjects dose it take to do a regression analysis?. Multivariate Behavioral Research 1991;26:499-510.
12. Glanz K, Lewis FM, Rimer BK. Health behavior and health education: theory, research and practice. San Franciso: Jossey-Bass Publishers; 1990.
13. ฐิตินันท์ สมุทรไชยกิจ. ความเข้าใจเกี่ยวกับการแพ้ยาของผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีนครินทร์.รายงานการประชุมวิชาการงานเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้ยา : ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข; 2550.