ความเกี่ยวข้องระหว่างการออกกำลังกายกับคุณภาพชีวิตของบุคลากรทางการแพทย์
การออกกำลังกายกับคุณภาพชีวิตของบุคลากรทางการแพทย์
คำสำคัญ:
การออกกำลังกาย, คุณภาพชีวิต, บุคลากรทางการแพทย์, SF-36บทคัดย่อ
ในปัจจุบันบุคลากรทางการแพทย์มีจำนวนชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์มาก ทำให้มีเวลาในการนอนหลับพักผ่อนและออกกำลังกายอย่างเหมาะสมลดลง คุณภาพชีวิตที่ไม่ดีจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการทำงานในโรงพยาบาล การวิจัยภาคตัดขวาง ณ เวลาหนึ่งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความชุกของการออกกำลังกายในบุคลากรทางการแพทย์และประเมินความเกี่ยวข้องระหว่างการออกกำลังกายกับคุณภาพชีวิต โดยศึกษาในบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ แพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ และนักกายภาพบำบัดที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 โดยใช้แบบสอบถามประเมินการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมคือออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์และประเมินคุณภาพชีวิตด้วยแบบสอบถาม SF-36 ผลการศึกษาพบว่าบุคลากรทางการแพทย์ 452 คนมีความชุกของการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมร้อยละ 19.9 แพทย์ออกกำลังกายเหมาะสมมากกว่าพยาบาลและเภสัชกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 11.1, 7.7 และ 1.1 ตามลำดับ, p < 0.001) ไม่พบนักเทคนิคการแพทย์และนักกายภาพบำบัดที่ออกกำลังกายเหมาะสม บุคลากรทางการแพทย์ที่ออกกำลังกายเหมาะสมมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าบุคลากรทางการแพทย์ที่ออกกำลังกายไม่เพียงพอและไม่ออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) สรุปได้ว่าบุคลากรทางการแพทย์จำนวนมากยังขาดการออกกำลังกายที่เพียงพอต่อสุขภาพ การออกกำลังกายเหมาะสมเกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
References
Younboonhlim K, Pirunamornpun P, Phothong P, Rungmatcha P. Quality of working life of nursing staffs in hospital for tropical diseases, Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University. J Nurs Health Care 2021;39(1):59-67.
World Health Organization [Internet]. Physical activity. [updated 2022 Oct 5; cited 2023 Jun 6]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/physical-activity
Sattayanurak N, Jirapornjaroen W, Wisetborisut A, Jakkaew N, Rojanasumapong A, Pinyopornpanish K. Exercise and quality of life in medical students. Chiang Mai Med J 2018;57(2):99-108.
Taylor CE, Scott EJ, Owen K. Physical activity, burnout and quality of life in medical students: A systematic review. Clin Teach 2022;19(6):e13525. doi: 10.1111/tct.13525
Dyrbye LN, Satele D, Shanafelt TD. Healthy exercise habits are associated with lower risk of burnout and higher quality of life among US medical students. Acad Med 2017;92(7):1006-11.
Photharos N. Measurement of health-related quality of life. EAU Heritage J Sci Technol 2016;10(3):36-43.
Leurmarnkul W, Meetam P. Properties testing of the retranslated SF-36 (Thai Version). Thai J Pharm Sci 2005;29(1-2):69-88.
Ekwatthanakun C, Intarakamhang P. Reliability of Thai version of SF-36 Questionnaire (revised 2005) for evaluation of quality of life in patients with stroke. J Thai Rehabil Med 2009;19(2):63-7.
Thailand Physical Activity Knowledge Development Centre (TPAK) Institute for population and social research, Mahidol University. Results of the survey of surveillance system to monitor physical activity behavior of the Thai population in 2022 [Internet]. 2022 [cited 2024 Mar 1]. Available from: https://tpak.or.th/en/article/647
Ross A, Yang L, Wehrlen L, Perez A, Farmer N, Bevans M. Nurses and health-promoting self-care: Do we practice what we preach? J Nurs Manag 2019;27(3):599-608.
Mirzaei A, Mozaffari N, Habibi Soola A. Occupational stress and its relationship with spiritual coping among emergency department nurses and emergency medical services staff. Int Emerg Nurs 2022;62:101170. doi: 10.1016/j.ienj.2022.101170
Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Know your numbers and know your risks [Internet]. 2022 [cited 2024 Jun 26]. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1064820201022081932.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ``โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.