ผลการรักษาผู้ป่วยโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบด้วย Triamcinolone Acetonide ระหว่างขนาดยา 5 และ 10 มิลลิกรัม

ผลการรักษาผู้ป่วยโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ

ผู้แต่ง

  • ปิยวัฒน์ จึงสมานุกูล กลุ่มงานการแพทย์ โรงพยาบาลธัญบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี 12000

คำสำคัญ:

โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออกั เสบ, การเปรียบเทียบปริมาณยา, ภาวะด่างขาว

บทคัดย่อ

โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบเป็นภาวะที่พบบ่อย เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็น extensor pollicis brevis (EPB) และ abductor pollicis longus (APL) การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการฉีดยา triamcinolone acetonide 5 มิลลิกรัม และ 10 มิลลิกรัมในการรักษาผู้ป่วยโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนและโทรศัพท์ติดตามอาการของผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลธัญบุรีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 135 คน แบ่งเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยา triamcinolone acetonide 5 มิลลิกรัม 65 คน และ 10 มิลลิกรัม 70 คนตามลำดับ หลังได้รับการรักษาสองสัปดาห์กลุ่ม 10 มิลลิกรัมและ 5 มิลลิกรัมมีอัตราการหายจากอาการปวดร้อยละ 90 และร้อยละ 69.2 ตามลำดับ ที่สี่สัปดาห์ทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน และที่หกสัปดาห์อัตราการหายจากอาการปวดเท่ากัน โดยที่ผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยา triamcinolone acetonide 10 มิลลิกรัมมีอัตราความสำเร็จมากกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยา triamcinolone acetonide 5 มิลลิกรัมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งหลังการรักษาที่สอง สี่ และหกเดือน เกิดภาวะด่างขาวในกลุ่ม 10 มิลลิกรัมร้อยละ 1.4 สรุปได้ว่าผู้ป่วยได้รับการฉีดยา triamcinolone acetonide 10 มิลลิกรัมมีประสิทธิผลในการรักษาจากอาการปวดและอัตราความสำเร็จมากกว่าผู้ป่วยกลุ่ม 5 มิลลิกรัม อย่างไรก็ตามควรคำนึงถึงภาวะด่างขาวด้วย

References

Bunnell S. Injuries of the hand: Surgery of the hand. Philadelphia, Pennsylvania State, USA: J.B. Lippincott;1944. p.496–9.

Finklestein H. Stenosing tendovaginitis at the radial styloid process. J Bone Joint Surg Am 1930;12(3):509–40.

Stahl S, Vida D, Meisner C, Stahl AS, Schaller HE, Held M. Work related etiology of de Quervain's tenosynovitis: A case-control study with prospectively collected data. BMC Musculoskelet Disord 2015;16:126. doi: 10.1186/s12891-015-0579-1

Laoopugsin N, Laoopugsin S. The study of work behaviours and risks for occupational overuse syndrome. Hand Surg 2012;17(2):205-12.

Avci S, Yilmaz C, Sayli U: Comparison of nonsurgical treatment measures for de Quervain’s disease of pregnancy and lactation. J Hand Surg Am 2002;27(2):322–4. doi: 10.1053/jhsu.2002.32084

Ilyas AM. Nonsurgical treatment for de Quervain’s tenosynovitis. J Hand Surg Am 2009;34(5):928-9.

Weiss AP, Akelman E, Tabatabai M: Treatment of de Quervain’s disease. J Hand Surg Am 1994;19(4):595–8.

Jirarattanaphochai K, Saengnipanthkul S, Vipulakorn K, Jianmongkol S, Chatuparisute P, Jung S. Treatment of de Quervain disease with triamcinolone injection with or without nimesulide. A randomized, double-blind, placebo-controlled trial. J Bone Joint Surg Am 2004;86-A(12):2700-6.

Liang J, McElroy K: Hypopigmentation after triamcinolone injection for de Quervain tenosynovitis. Am J Phys Med Rehabil 2013;92(7):639. doi: 10.1097/PHM.0b013e318269ebdc

Kosiyatrakul A, Loketkrawee W, Leunam S. Different dosages of triamcinolone acetonide injection for the treatment of trigger finger and thumb: A randomized controlled trial. J Hand Surg Asian Pac 2018;23(2):163-9. doi: 10.1142/S2424835518500157

Rowland P, Phelan N, Gardiner S, Linton KN, Galvin R. The effectiveness of corticosteroid injection for De Quervain’s stenosing tenosynovitis (DQST): A systematic review and meta-analysis. Open Orthop J 2015;9:437–44. doi: 10.2174/1874325001509010437

Kang SS, Hwang BM, Son HJ, Cheong IY, Lee SJ, Lee SH, et al. The dosages of corticosteroid in transforaminal epidural steroid injections for lumbar radicular pain due to a herniated disc. Pain Physician 2011;14(4):361-70.

Dammers JW, Roos Y, Veering MM, Vermeulen M. Injection with methylprednisolone in patients with the carpal tunnel syndrome: a randomized double blind trial testing three different doses. J Neurol 2006;253(5):574-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-28