ปริมาณการให้เม็ดเลือดแดงระหว่างผ่าตัดหัวใจผู้ใหญ่โดยใช้ระบบไหลเวียนโลหิต ภายนอกร่างกายอย่างเดียวเปรียบเทียบกับการกรองเลือดแบบมาตรฐานร่วมด้วย

ปริมาณการให้เม็ดเลือดแดงระหว่างผ่าตัดหัวใจผู้ใหญ่

ผู้แต่ง

  • Kreangkrai Bunkhampha ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

การกรองเลือดแบบมาตรฐาน, เม็ดเลือดแดง, การผ่าตัดหัวใจผู้ใหญ่

บทคัดย่อ

การกรองเลือดแบบมาตรฐาน (conventional ultrafiltration: CUF) ระหว่างการใช้ระบบไหลเวียนโลหิตภายนอกร่างกาย  (cardiopulmonary bypass: CPB) มีจุดมุ่งหมายเพื่อดึงน้ำส่วนเกินและเพิ่มฮีมาโตคริต การให้เม็ดเลือดแดงนั้นเกี่ยวข้องกับอัตราการเจ็บป่วยและอัตราการตายหลังผ่าตัดหัวใจ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณการให้เม็ดเลือดแดงระหว่างผ่าตัดหัวใจผู้ใหญ่โดยใช้ระบบไหลเวียนโลหิตภายนอกร่างกายร่วมกับการกรองเลือดแบบมาตรฐานกับการใช้ระบบไหลเวียนโลหิตภายนอกร่างกายอย่างเดียว โดยศึกษาในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ 280 ราย แบ่งเป็นกลุ่มใช้ระบบไหลเวียนโลหิตภายนอกร่างกายร่วมกับการกรองเลือดแบบมาตรฐาน 140 รายและกลุ่มใช้ระบบไหลเวียนโลหิตภายนอกร่างกายอย่างเดียว 140 ราย พบว่ากลุ่มใช้ระบบไหลเวียนโลหิตภายนอกร่างกายร่วมกับการกรองเลือดแบบมาตรฐานกรองได้รับปริมาณเม็ดเลือดแดงเฉลี่ย 1,574.46 มล. กลุ่มใช้ระบบไหลเวียนโลหิตภายนอกร่างกายร่วมกับการกรองเลือดแบบมาตรฐานได้รับเม็ดเลือดแดงมากกว่ากลุ่มใช้ระบบไหลเวียนโลหิตภายนอกร่างกายอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3.31 ± 0.15 ยูนิตและ 2.60 ± 0.14 ยูนิตตามลำดับ, p < 0.001) สรุปได้ว่าการกรองเลือดแบบมาตรฐานระหว่างใช้ระบบไหลเวียนโลหิตภายนอกร่างกายไม่ได้ลดการให้เม็ดเลือดแดง อย่างไรก็ตามสามารถใช้การกรองเลือดแบบมาตรฐานได้อย่างปลอดภัยเพื่อลดการสะสมของของเหลวและเพิ่มระดับฮีโมโกลบิน

References

World Health Organization. Cardiovascular diseases [internet]. 2018 [cited 2018 Oct 1]. Available from: URL: http://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/cardiovascular-diseases-(cvds)

Ministry of Public Health, Bureau of Non-Communicable Diseases. NCDs Annual Report 2017 [Internet]. 2018 [cited 2018 Oct 1]. Available from: URL: http://www.thaincd.com/document/file /download/paper-manual/NCDReport60.pdf

Glenn G, Richard D, Alfred S, Ross U. Cardiopulmonary bypass and mechanical support: Principles & Practice. 4th ed. Philadelphia, Pennsylvania State, USA: Wolters Kluwer; 2016.

Soliman R, Fouad E, Belghith M, Abdelmageed T. Conventional hemofiltration during cardiopulmonary bypass increases the serum lactate level in adult cardiac surgery. Ann Card Anaesth 2016;19(1):45-51.

Yang JC, Sun Y, Xu CX, Dang QL, Li L, Xu YG, et al. Correlation between red blood cell transfusion volume and mortality in patients with massive blood transfusion: A large multicenter retrospective study. Exp Ther Med 2015;9(1):137-42.

Vlot EA, Verwijmeren L, van de Garde EMW, Kloppenburg GTL, van Dongen EPA, Noordzij PG. Intra-operative red blood cell transfusion and mortality after cardiac surgery. BMC Anesthesiol 2019;19(1):1-7.

Leyh RG, Bartels C, Joubert-Hübner E, Bechtel JF, Sievers HH. Influence of modified ultrafiltration on coagulation, fibrinolysis and blood loss in adult cardiac surgery. Eur J Cardiothorac Surg 2001;19(2):145-51.

Manning MW, Li YJ, Linder D, Haney JC, Wu YH, Podgoreanu MV, et al. Conventional ultrafiltration during elective cardiac surgery and postoperative acute kidney injury. J Cardiothorac Vasc Anesth 2021;35(5):1310-8.

Mongero LB, Tesdahl EA, Stammers A, Weinstein S. The influence of ultrafiltration on red blood cell transfusion during cardiopulmonary bypass. Perfusion 2019;34(4):303-9.

Mongero L, Stammers A, Tesdahl E, Stasko A, Weinstein S. The effect of ultrafiltration on end-cardiopulmonary bypass hematocrit during cardiac surgery. Perfusion 2018;33(5):367-74.

Depboylu BC, Yazman S, Harmandar B. Use of conventional ultrafiltration in patients with pulmonary hypertensive Mitral valve disease undergoing valve surgery. Cardiol Cardiovasc Res 2018;2(2):23-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-28