ความสัมพันธ์ของค่าโปรแคลซิโตนินกับ ภาวะการติดเชื้อในโรงพยาบาลของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19

ภาวะการติดเชื้อในโรงพยาบาลของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ เดียวสุรินทร์ กลุ่มงานอายุกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • วัชราภรณ์ ไพโรจน์ งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • มารศรี มีธูป งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

โควิด-19, ภาวะการติดเชื้อในโรงพยาบาล, การเสียชีวิต, ค่าโปรแคลซิโทนิน

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการติดเชื้อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นับเป็นโรคประจำท้องถิ่นของประเทศไทยและผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงเนื่องจากวัคซีนและสายพันธุ์ที่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามยังมีผู้ป่วยบางรายที่จำเป็นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากความรุนแรงของโรคโควิด-19 หรือจากสาเหตุอื่น การศึกษาย้อนหลังครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการเกิดภาวะติดเชื้อในโรงพยาบาลระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 พบว่ามีผู้ป่วย 87 คน เสียชีวิต 42 คน (ร้อยละ 48.3) เป็นเพศชาย 49 คน (ร้อยละ 56.3) มีโรคประจำตัว 81 คน (ร้อยละ 93.1)ซึ่ง69 คน (ร้อยละ 79.3) พบการติดเชื้อปอดอักเสบจากโควิด-19 โดยใส่ท่อช่วยหายใจ 39 คน (ร้อยละ 44.8) อยู่ในกลุ่มรอดชีวิต 14 คน (ร้อยละ 31.1) และในกลุ่มเสียชีวิต 25 คน (ร้อยละ 59.5) (p =0.014) ค่าโปรแคลซิโทนิน> 0.1 μg/L72 คน (ร้อยละ 87.8)ค่าโปรแคลซิโทนิน> 0.25 μg/L 60 คน (ร้อยละ 73.2)จำนวนวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 11 วัน เชื้อก่อโรคที่ตรวจพบได้แก่ Acinetobacter baumannii, Klebsiella pneumoniaeและEscherichia coli ตามลำดับ ส่วนความสัมพันธ์ของค่าโปรแคลซิโทนินกับวันที่ตรวจค่าโปรแคลซิโทนินนับจากวันที่มีอาการโควิด-19พบว่ามีค่าสูงหรือต่ำได้ตั้งแต่วันแรก และยังมีค่าสูงได้หลังมีอาการเกิน 7 วัน สรุปได้ว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้รับการดูแลและควบคุมป้องกันการติดเชื้อหลังการนอนโรงพยาบาลที่เข้มงวดมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลด้วยสาเหตุอื่น เพื่อให้ผลการรักษาที่ดีและระยะเวลานอนโรงพยาบาลลดลง

References

Chen Y, Liu Q, Guo D. Emerging coronaviruses: Genome structure, replication, and pathogenesis. J Med Virol 2020;92(4):418-23.

Ratnarathon A. Coronavirus infectious disease-2019 (COVID-19): A case report, the first patient in Thailand and outside China. J Bamrasnaradura Infect Dis Inst 2020;14(2):116-23.

Ministry of Public Health. Endemic approach to COVID-19. Strategy and Planning Division[Internet]. 2022 [cited 2023 May 30]. Available from: https://drive.google.com/drive/u/0/folders/1AcSDodmZXCjryqEKTXNNNac8EoGCsbqK

Ministry of Public Health, Department of Medical Sciences. Covid-19[Internet]. [cited 2023 Jun 30]. Available from:

https://covid19.dms.go.th/backend///Content//Content_File/Covid_Health/Attach/25660418150721PM_CPG_COVID-19_v.27_n_18042023.pdf

World Health Organization. World Health Organization Coronavirus disease situation dashboard [Internet]. [cited 2023 Jun 30]. Available from:https://covid19.who.int/region/searo/country/th

Ministry of Public Health, Department of Disease Control [Internet]. [cited 2023 Jun 30]. Available from: https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/getFiles/11/1628849610213.pdf

World Health Organization. Tracking SARS-CoV-2 variants [Internet]. [updated2022 May 17,cited 2023 Jun 30]. Available from:

https://www.who.int/thailand/news/feature-stories/detail/tracking-SARS-CoV-2-variants

Ministry of Public Health, Department of Medical Sciences. Covid-19 [Internet]. [updated2023 Apr 24, cited 2023 May 30]. Available from:

https://covid19.dms.go.th/backend///Content//Content_File/Covid_Health/Attach/25640424171849PM_ประกาศกรมการแพทย์%2010%20วัน_Version4_24042021.pdf

Hamade B, Huang DT. Procalcitonin: Where are we now? Crit Care Clin 2020;36(1):23-40.

Assicot M, Gendrel D, Carsin H, Raymond J, Guilbaud J, Bohuon C. High serum procalcitonin concentrations in patients with sepsis and infection. Lancet 1993;341(8844):515-8.

Paudel R, Dogra P, Montgomery-Yates AA, Yataco AC. Procalcitonin: A promising tool or just another overhyped test? Int J Med Sci 2020;17(3):332-7.

Hu R, Han C, Pei S, Yin M, Chen X. Procalcitonin levels in COVID-19 patients. Int J Antimicrob Agents 2020;56(2):106051. doi: 10.1016/j.ijantimicag.2020.106051

Lippi G, Plebani M. Procalcitonin in patients with severe coronavirus disease 2019 (COVID-19): A meta-analysis. Clin Chim Acta 2020;505:190-1. doi: 10.1016/j.cca.2020.03.004

Pink I, Raupach D, Fuge J, Vonberg RP, Hoeper MM, Welte T, et al. C-reactive protein and procalcitonin for antimicrobial stewardship in COVID-19. Infection 2021;49(5):935-43.

Ponti G, Maccaferri M, Ruini C, Tomasi A, Ozben T. Biomarkers associated with COVID-19 disease progression. Crit Rev Clin Lab Sci 2020;57(6):389-99.

Schuetz P, Beishuizen A, Broyles M, Ferrer R, Gavazzi G, Gluck EH. et al. Procalcitonin (PCT)-guided antibiotic stewardship: An international expert consensus on optimized clinical use. Clin Chem Lab Med 2019;57(9):1308-18.

Liu F, Li L, Xu M, Wu J, Luo D, Zhu Y, et al. Prognostic value of interleukin-6, C-reactive protein, and procalcitonin in patients with COVID-19. J Clin Virol 2020;127:104370. doi: 10.1016/j.jcv.2020.104370

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-15