ผลการจัดการรายกรณีร่วมกับการรักษาที่บ้านต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ค่าดัชนีมวลกาย และความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยวัณโรค ที่มีภาวะทุพโภชนาการ

การรักษาที่บ้านของผู้ป่วยวัณโรคที่มีภาวะทุพโภชนาการ

ผู้แต่ง

  • วาสนา เกตุมะ กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • วราภรณ์ ไชยโคตร กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • เชาวกิจ ศรีเมืองวงศ์ กลุ่มภารกิจด้านบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

การจัดการรายกรณี, ผู้ป่วยวัณโรคที่มีภาวะทุพโภชนาการ, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ค่าดัชนีมวลกาย

บทคัดย่อ

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลกก่อให้เกิดความสูญเสียทางสุขภาพ เจ็บป่วย และเสียชีวิต การศึกษากึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังทดลอง (one group pertest-posttest design) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการจัดการรายกรณีร่วมกับการรักษาที่บ้านของผู้ป่วยวัณโรคที่มีภาวะทุพโภชนาการต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ค่าดัชนีมวลกายและความร่วมมือในการรักษา ศึกษาผู้ป่วยวัณโรคในปอดและนอกปอดที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองพิษณุโลก ที่มีค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่า 19 กก./ตร.ม. ที่มารับการรักษาที่คลินิกวัณโรคปอดและหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 จำนวน 30 คน โดยได้รับโปรแกรมการจัดการรายกรณี 7 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) การคัดเลือกผู้ป่วย 2) การประเมินสภาพปัญหา 3) ประสานงานและพัฒนาแผนการรักษา 4) การดำเนินการตามแผน 5) การเฝ้ากำกับติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง 6) การประเมินผล และติดตาม 7) การปิดการให้บริการ ใช้เวลาทดลอง 24 สัปดาห์ เครื่องมือเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุลคล แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง แบบเก็บค่าน้ำหนักส่วนสูงและค่าดัชนีมวลกาย นำเสนอข้อมูลเป็นค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองด้วยสถิติ paired t-test และเปรียบเทียบค่าดัชนีมวลกายก่อนและหลังทดลองด้วยสถิติ repeated measures ANOVA พบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ยหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) สรุปได้ว่าการจัดการรายกรณีร่วมกับการรักษาที่บ้านช่วยส่งเสริมพฤติกรรมการดูตนเอง เพิ่มค่าดัชนีมวลกาย และความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคที่มีภาวะทุพโภชนาการ

References

Namwat C, Khamluang S, Praditsitthikorn N, Laosirithaworn Y, Maakian S, Pindadit W, et al. The value of investment to end TB problems in Thailand: A cost-effects analysis of the World Fund Management Office. Nonthaburi, Thailand: Department of Disease Contorl, Ministry of Public Health; 2017.

World Health Organization. Global tuberculosis report 2021. World Health Organization. [Internet]. 2021 Oct 14 [cited 2023 Jun 20]. Available from: https://iris.who.int/handle/10665/346387.

Division of Tuberculosis. National Tuberculosis Control Programme Guideline,

Thailand 2021. 2nd ed. Bangkok, Thailand: Division of Tuberculosis, Ministry of Public Health; 2021. p.15-24.

Gessl AS, Flörl A, Schulc E. Demand for community-based Case Management in Austria-a qualitative analysis. BMC Nurs 2022;21(1):5. doi: 10.1186/s12912-021-00775-0.

Cohen EL, Cesta TG. Nursing case management from essentials to advanced practice applications. 4th ed. St. Louis, State of Missouri: Elsevier Mosby; 2005.

Division of Tuberculosis, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. National Tuberculosis prevalence survey in Thailand [Internet]. 2017 [cited 2023 Jun 20]. Available from: https://www.tbthailand.org/ download/Manual/การสำรวจความชุกของวัณโรคระดับชาติ-VERSION%202.pdf

Khamrat S, Suggaravetsiri P, Trinnawoottipong K. Factors associated with pulmonary Tuberculosis among Diabetes mellitus patients In Roi Et Province. The Office of Disease Prevention and Control 6 Khon Kaen [online]. 2014 [cited 2023 May 10];22(1):22-32. Available from: https://odpc7.ddc.moph.go.th/journal/files/03สมพร.pdf

Kanyutanont T, Chanpanya W, Papao S, Baochanghan S, Noiprem T, Pali S, at al. Self-care behaviors of diabetic and hypertensive patients at a public health center in Bangmuang Subdistrict, Samutprakarn Province. Association of Private Higher Education Institutions of Thailand Under the Patronage of Her Royal Highness Prince Mahachakri Sirindhorn [online]. 2017 [cited 2023 May 10];6(2):53-62. Available from: https://apheit.bu.ac.th/jounal/science-july-2560/6_09_Self%20-%20Care%20%20Behaviors%20_proof1_formatted%20.pdf

Kanglee K. Factors predicting medication use behaviors of patients with type ll diabetes mellitus at Phramongkutklao Hospital. JRTAN 2018;19(2)170-82.

Inyaphong J, Srithongtham O, Chualee S, Ponboopha A, Naknikorn T, Leungratanamar N. Performance of community care for Multi-Drug Resistant of Tuberculosis (MDR-TB) patient: Case study of province in the area of Office of Disease Prevention and Control Region 10th Ubon Ratchathani. JODPC10 [Internet]. 2021 Dec 29 [cited 2024 Jan. 29];19(2):21-30. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/252606

Khuancharee K, Suggaravetsiri P, Trinnawoottipong K. Factors associated with smear positive pulmonary tuberculosis among diabetes mellitus patients in Thailand: A meta-analysis. J DPC7 Khon Kaen 2016;23(3):1-11.

Harnsomboon P, Sarinnapakorn V, Sangsayan P, Sirabumrungwong M, Panthabordeekorn W, et al. Guideline and standard of care for home ward patients [Internet]. 2022 [cited 2023 Jun 20]. Available from: https://www.dms.go.th/backend//Content/Content_File/Publication/Attach/25650805113031AM_homeward.pdf

Likitluech N, Lappakdee T, Kladchompong. editors. Nursing patients at home. Bangkok, Thailand: Bangkok Agricultural cooperative printing demonstrations of Thai, Ltd [Internet]. 2013 [cited 2023 May 11]. Available from: http://118.174.45.29 /hhc/dowload/หนังสือการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน.pdf

Dheda K, Barry CE 3rd, Maartens G. Tuberculosis. Lancet 2016;387(10024):1211-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-15