ลักษณะและผลลัพธ์ของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อคริปโตคอกคัส ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยไม่ติดเชื้อเอชไอวี

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อคริปโตคอกคัสในผู้ป่วยติดเชื้อและไม่ติดเชื้อเอชไอวี

ผู้แต่ง

  • ประพาฬรัตน์ แก้วชมภู กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อคริปโตคอกคัส, ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี, ผู้ป่วยไม่ติดเชื้อเอชไอวี, ปัจจัยเสี่ยง, ลักษณะ

บทคัดย่อ

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อคริปโตคอกคัสซึ่งเป็นเชื้อราในสิ่งแวดล้อมในผู้ป่วยติดเชื้อและไม่ติดเชื้อเอชไอวีมีอัตราตายและความพิการสูง การศึกษาแบบวิเคราะห์ชนิดมีกลุ่มเปรียบเทียบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อคริปโตคอกคัส ระหว่างผู้ป่วยที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อเอชไอวีในผู้ป่วยที่มารักษาในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลกทั้งผู้ป่วยเดิมและผู้ป่วยใหม่ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2563 จำนวน 629 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อเอชไอวี คำนวณขนาดตัวอย่างและสุ่มอย่างมีระบบ มีผู้เข้าเกณฑ์การวินิจฉัย 164  ราย พบปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อคริปโตคอกคัสในผู้ป่วยไม่ติดเชื้อเอชไอวี ได้แก่ อายุเฉลี่ย, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, โรคตับจากสุรา หรือประวัติดื่มสุราจัด (p = 0.032, 0.002, 0.036, < 0.001 ตามลำดับ), เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองปกติและจำนวน  lymphocyte เฉลี่ยในน้ำไขสันหลัง (p < 0.001, < 0.001 ตามลำดับ) ส่วนปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อคริปโตคอกคัสในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ได้แก่ ผลตรวจน้ำไขสันหลังพบ positive Indian ink และผลการตรวจเพาะเชื้อในน้ำไขสันหลังพบเชื้อคริปโตคอกคัส (p =  0.001, < 0.001 ตามลำดับ) และมีโอกาสที่ผลการตรวจน้ำไขสันหลังพบโปรตีนมากกว่าหรือเท่ากับ 40 มก./ดล. มากกว่าผู้ไม่ติดเชื้อเอชไอวี 2.44 เท่า (95% CI 1.99-2.99) ดังนั้นผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อคริปโตคอกคัสควรเฝ้าระวังปัจจัยเหล่านี้

References

1. Silva RF. Chapter 8: Fungal infections in immunocompromised patients. J Bras Pneumol 2010;36(1):142-7.

2. Barnes RA. Early diagnosis of fungal infection in immunocompromised patients. J Antimicrob Chemother 2008;61(Suppl 1):i3-6. doi: 10.1093/jac/dkm424.

3. Jahromi SB, Khaksar AA. Deep-seated fungal infections in immunocompromised patients in Iran. Iran J Allergy Asthma Immunol 2005;4(1):27-32.

4. Chayakulkeeree M, Wangchinda P. Clinical characteristics and outcomes of patients with cryptococcal meningoencephalitis in a resource-limited setting. J Med Assoc Thai 2014;97(Suppl 3):26-34.

5. Abhilash KPP, Mitra S, Arul JJJ, Raj PM, Balaji V, Kannangai R, et al. Changing paradigm of cryptococcal meningitis: an eight-year experience from a tertiary hospital in South India. Indian J Med Microbiol 2015;33(1):25-9.

6. Enoch DA, Ludlam HA, Brown NM. Invasive fungal infections: a review of epidemiology and management options. J Med Microbiol 2006;55(7):809-18.

7. Gabriel M, Amy P, Daniel C, Sarah M, Gregory SC, Carlos FP, et al. Increased cryptococcal meningitis mortality among HIV negative, non-transplant patients: a single US center cohort study. Ther Adv Infect Dis 2020;7:2049936120940881.doi: 10.1177/2049936120940881

8. Liao CH, Chi CY, Wang YJ, Tseng SW, Chou CH, Ho CM, et al. Different presentations and outcomes between HIV-infected and HIV-uninfected patients with cryptococcal meningitis. J Microbiol Immunol Infect 2012;45(4):296-304.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-22