ความแตกต่างของการประเมินขนาดของพื้นที่ผิวไหม้ ระหว่างโรงพยาบาลแรกรับกับโรงพยาบาลที่รับส่งต่อ
ความแตกต่างของการประเมินขนาดของพื้นที่ผิวไหม้ระหว่างโรงพยาบาล
คำสำคัญ:
แผลไหม้, พื้นที่ผิวร่างกาย, การให้สารน้ำทดแทนบทคัดย่อ
การประเมินขนาดของพื้นที่ผิวไหม้มีความสำคัญใน การกำหนดปริมาณสารน้ำทดแทนที่จะให้แก่ผู้ป่วยแผลผิวไหม้เพราะการให้สารน้ำที่มากหรือน้อยเกิน ไปจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น น้ำท่วมปอด หรือไตวาย การศึกษาแบบวิเคราะห์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการประเมินขนาด ของพื้นที่ผิวไหม้ระหว่างโรงพยาบาลแรกรับกับโรง พยาบาลที่รับส่งต่อ โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลังจาก เวชระเบียนของผู้ป่วยแผลผิวไหม้ทุกรายที่ได้ส่งต่อ มายังหน่วยแผลไหม้โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลกระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2563 นำเสนอเป็นจำนวน ค่าร้อยละ และค่ามัธยฐาน (ค่าต่ำสุด-ค่าสูงสุด) เปรียบเทียบ ข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลด้วยสถิติ Wilcoxon signed-rank และ paired t กำหนดค่าระดับนัย สำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งมีผู้ป่วย 112 ราย พบว่า ประเมินขนาดของพื้นที่ผิวไหม้แตกต่างกันมากกว่าที่ ประเมินได้เท่ากันเป็นอัตราส่วน 2.4: 1 โดยเป็นการ ประเมินที่มากเกินไป 59 ราย (ร้อยละ 52.7) ซึ่งมีค่า มัธยฐานของขนาดของพื้นที่ผิวไหม้ที่ประเมินโดย โรงพยาบาลแรกรับเท่ากับ 20% TBSA มากกว่าที่ ประเมินโดยโรงพยาบาลที่รับส่งต่อซึ่งเท่ากับ 13%TBSA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ดังนั้นการเพิ่มการสื่อสารระหว่างโรงพยาบาลให้มาก ขึ้น รวมถึงการร่วมสร้างแนวทางการประเมินขนาด ของพื้นที่ผิวไหม้ให้เป็นรูปแบบเดียวกันน่าจะช่วยลด ปัญหาการประเมินที่แตกต่างกันและช่วยให้การดูแล รักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น
References
Freiburg C, Igneri P, Sartorelli K, Rogers F. Effects of differences in percent total body surface area estimation on fluid resuscitation of transferred burn patients. J Burn Care Res 2007;28(1):42-8.
Collis N, Smith G, Fenton OM. Accuracy of burn size estimation and subsequent fluid resuscitation prior to arrival at Yorkshire Regional Burns Unit. A three years retrospective study. Burns 1999;25(4):345-51.
Hammond JS, Ward CG. Transfers from emergency room to burn center: error in burn size estimate. J Trauma Injury Infect Crit Care 1987;27(10):1161-5.
Baartmans MG, Van Baar ME, Boxma H, Dokter J, Tibboel D, Nieuwenhuis MK. Accuracy of burn size assessment prior to arrival in Dutch burn centers and its consequences in children: A nationwide evaluation. Injury 2012;43(9):1451-6.
Chan QE, Barzi F, Chenry L, Harvey JG, Holland AJ. Burn size estimation in children:still a problem. Emerg Med Australiasia 2012;24(2):181-6.
Berry CCP, Wachtel TMD, Frank HAMD. Differences in burn size estimates between community hospitals and burn center. J Burn Care Rehabil 1982;3(3):176-8.
Gillenwater J, Garner WL. Thermal, chemical, and electrical injuries. In: Chung KC, editor. Grabb & Smith's plastic surgery. 8th ed. Philadelphia, Pennsylvania State, USA: Wolters Kluwer; 2020. p.177-88.
Hagstrom M, Wirth GA, Evan GRD, Ikeda CJ. A review of emergency department fluid resuscitation of burn patients transferred to a regional, verified burn center. Ann Plast Surg 2003;51(2):173-6.
Wong K, Heath T, Maitz P, Kennedy P. Early in-hospital management of burn injuries in Australia. ANZ J Surg 2004;74(5):318-23.
Haris V, Raymon AP, Issler AC, Lajevardi SS, Chang LY, Maitz PKN, et al. Accuracy of burn size estimation in patients transferred to adult Burn Units in Sydney, Australia:An audit of 689 patients. Burns 2015;41(1):91-9.
Wachtel TL, Berry CC, Wachtel EE, Frank HA. The inter-rater reliability of estimating the size of burns from various burn area chart drawings. Burns 2000;26(2):156-70.
Cheah AKW, Kangkorn T, Tan EH, Loo ML, Chong SJ. The validation studyon a three-dimensional burn estimation smart-phone application: accurate, free and fast?. Burns & Trauma[serial on the Internet]. 2018 [cite 2021 Jan 28];6(1):7. doi.org/10.1186/s41038-081- 0109-0
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 พุทธชินราชเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.