การพัฒนาแนวปฏิบัติการประเมินสัญญาณเตือนเริ่มแรกของภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงในผู้ป่วย หลังผ่าตัดเนื้องอกสมอง
ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเนื้องอกสมอง
คำสำคัญ:
สัญญาณเตือนเริ่มแรก, ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง, ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเนื้องอกสมองบทคัดย่อ
ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงพบบ่อยในผู้ป่วยที่สมองมีพยาธิสภาพและเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ การ วิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการประเมินสัญญาณเตือนเริ่มแรกของภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงในผู้ ป่วยหลังผ่าตัดเนื้องอกสมองและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติฯ นั้น ศึกษาในพยาบาลวิชาชีพ 18 คน และผู้ป่วยหลังผ่าตัดเนื้องอก สมอง 52 คนระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติการ ประเมินสัญญาณเตือนฯ ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คนได้ตรวจสอบและมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.95 2) เครื่องมือเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นแบบประเมินความรู้ แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ และแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล/ด้านคลินิกของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเนื้องอกสมองฯ ข้อมูลคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลปริมาณนำเสนอเป็นค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนความรู้เฉลี่ยของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติฯ ด้วยการทดสอบ paired t กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยการประเมินทางการพยาบาล การวินิจฉัยทางการพยาบาล การรายงานแพทย์ และการปฏิบัติการพยาบาลซึ่งผลการใช้แนวปฏิบัติฯ พบว่าพยาบาลวิชาชีพมีคะแนนความรู้เฉลี่ยแต่ละด้านหลังใช้แนวปฏิบัติฯ มากกว่าก่อนใช้แนวปฏิบัติฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติฯ ในระดับมาก นั่นคือ แนวปฏิบัติฯ ที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถประเมินสัญญาณเตือนเริ่มแรกของภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงได้ ทำให้ผู้ ป่วยได้การดูแลรักษาที่ถูกต้อง รวดเร็ว ปลอดภัย และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
References
2. Cahill E, Armstrong S. Caring for an adult with a malignant primary brain tumor. Nursing 2011;41(6):28-34.
3. Parvataneni R, Polley M, Freeman T, Lamborn K, Prados M, Butowski N. Identifying the needs of brain tumor patients and caregivers. J Neuro Oncol 2011;104(3):737-44.
4. Shafi S, Dias-Awastia R, Madden C, Gentilello L. Intracranial pressure monitoring in brain-injury patient are associated with worsening of survival. J Trauma Inj Infect Crit Care 2008;64(2):335-450.
5. Jiamsakul S, Prachusilpa G. A study of nursing outcomes quality indicators for patients with neurosurgery. JRTAN 2017;18(Suppl Jan-April):147-54.
6. Sadoughi A, Rybinnik I, Cohen R. Measurement and management of increased intracranial pressure. BMJ Open 2013;6(Suppl 1):56-65.
7. Prachuablarp C. Increased intracranial pressure in patients with brain pathology:A dimension of evidence-based nursingpractice. JTNMC 2018;33(2):15-28.
8. Wang YA, Fang C, Chen CS, Tsai HS. Periassest modified early warning score (MEWS) predicts the outcome of in-hospital cardiac arrest. J Formos Med Assoc 2016;115(2):76-82.
9. Nakchuay P, Inprasong L, Tuntrakul W, Thongbai P, Chantanu P. MEWS: Adult prearrest sign and nurse role. Siriraj Med Bull 2017;10(3):186-90.
10. Nishima I, Oyadomari S, Maeomari S, Toma R, Igei C, Kobala S, et al. Use of modified early warning score system to reduce the rate of in-hospital cardiac arrest. J Intens Care 2016;12(4):1-6.
11. Namkoa T, Chitsung-noen S, Boonkong N. Development of clinical nursing practice guideline of warning sign assessment for traumatic patients at Traumatic Department, Maharat Nakorn Ratchasima Hospital. J Nurs Assoc Thai, North-Eastern Div 2013;31(3):163-9.
12. Chuaychang S. Effects of using the assessment of the modified early warning signs (MEWS) in the assessment and monitoring change symptom of patients in cardiac catheterization lab, Trang Hospital. Thai J CVT Nurs 2018;29(1):72-83.
13. Phunawakul S, Reungsri N, Montarak O, Kongros J. The development of clinical nursing practice guideline for patients with surgery from traumatic brain injury in Phichit Hospital. J DMS 2017;42(6):102-8.
14. Taweewan S. Effects of using nursing practice guidelines based on "Modified Early Warning Scores" for patients with sepsis in the Medicine Women Department at Buengkan Hospital. Udonthani Hosp Med J 2018;26(3):153-63.