ความหลากหลายของรหัสลายพิมพ์ริมฝีปากในประชากรไทย

ความหลากหลายของรหัสลายพิมพ์ริมฝีปาก

ผู้แต่ง

  • ธนวัฒน์ สุคันธวณิช
  • กานดา เมฆใจดี
  • จาตุรงค์ กันชัย

คำสำคัญ:

การระบุบุคคล, การศึกษาลายพิมพ์ริมฝีปาก, รหัสลายพิมพ์ริมฝีปาก

บทคัดย่อ

การเก็บลายพิมพ์ริมฝีปากจากวัตถุพยานเพื่อตรวจดีเอ็นเอเป็นวิธีตรวจที่ดีที่สุดเพื่อระบุตัวผู้ต้องหา แต่ในกรณีที่มีผู้ต้องสงสัยหลายคนการตรวจเปรียบเทียบทำให้เสียค่าใช้จ่ายมาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความหลากหลายในการเรียงตัวของรหัสลายพิมพ์ริมฝีปากว่ามีมากพอที่ใช้จะคัดกรองผู้ต้องสงสัยก่อนตรวจเปรียบเทียบดีเอ็นเอ โดยเก็บลายพิมพ์ริมฝีปากจากอาสาสมัครคนไทยชายและหญิงกลุ่มละ 50 คนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 โดยใช้ลิปสติกสีแดงเข้มที่ไม่มีความวาวหรือประกายทาริมฝีปากทั้งบนและล่างนำเทปกาวใสแปะแนบกับริมฝีปากดึงออกแล้วแปะลงในกระดาษบันทึก สแกนกระดาษบันทึกเป็นไฟล์รูปภาพจากนั้นแบ่งส่วนของลายพิมพ์ริมฝีปากเป็น 6 ส่วนแล้วให้รหัสเป็นอักษร a ถึง f โดยอ้างอิงลักษณะลายพิมพ์ริมฝีปากตามการศึกษาของ Suzuki และ Tsuchihashi พบว่ารูปแบบของรหัสลายพิมพ์ริมฝีปากรวมกันทั้งบนและล่างมี 98 รูปแบบ ขณะที่ริมฝีปากบนมี 63 รูปแบบและริมฝีปากล่างมี 50 รูปแบบ เมื่อประเมินความถูกต้องในการให้รหัสด้วยวิธีประเมินความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินตามแนวทางของ Landis และ Koch พบค่าแคปปาเท่ากับ 0.645 จัดอยู่ในระดับความสอดคล้องดี ดังนั้นสามารถใช้รหัสลายพิมพ์ริมฝีปากช่วยคัดกรองผู้ต้องสงสัยที่ต้องส่งตรวจดีเอ็นเอเพื่อเปรียบเทียบกับดีเอ็นเอจากวัตถุพยานได้

Author Biographies

ธนวัฒน์ สุคันธวณิช

ภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กานดา เมฆใจดี

ภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จาตุรงค์ กันชัย

ภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

References

1. Verghese AJ, Mestri SC. A study of efficacy of lip prints as an identification tool among the people of Karnataka in India. J Indian Acad Forensic Med 2011;33(3):200-2.

2. Singh YK, Pandey P, Srivastava A, Solanki S. New insights of cheiloscopy. Ann Int Med Dent Res 2017;3(3):11-5.

3. Augustine J, Barpande SR, Tupkari JV. Cheiloscopy as an adjunct to forensic identification: a study of 600 individuals. J Forensic Odontostomatol 2008;27(2):44-52.

4. Segui MA, Feucht MM, Ponce AC, Pascual FA. Persistent lipsticks and their lip prints:new hidden evidence at the crime scene. Forensic Sci Int 2000;112:41-7.

5. Suzuki K, Tsuchihashi Y. New attempt of personal identification by means of lip print. J Indian Dent Assoc 1970;42(1):8-9.

6. Sharma P, Sharma N, Wadhwan V, Aggarwal P. Can lip prints provide biologic evidence.J Forensic Dent Sci 2016;8:175-6.

7. Cochran WG, editor. Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons; 1977.

8. Phasunon P. Evaluation of inter-rater reliability using kappa statistics. FAA Journal 2015;8(1):2-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01