การตั้งครรภ์ที่มีเนื้องอกรังไข่ชนิด Dysgerminoma

ผู้แต่ง

  • อรรถยา รัตนแก้ว กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

คำสำคัญ:

ตั้งครรภ์, เนื้องอกรังไข่, มะเร็งรังไข่

บทคัดย่อ

ภาวะผู้ป่วยตั้งครรภ์ที่มีเนื้องอกรังไข่ 1 ราย เป็นหญิงอายุ 19 ปี มาโรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลกด้วย ตรวจพบเนื้องอกรังไข่ เมื่ออายุครรภ์ 15+5 สัปดาห์ ได้รับการวินิจฉัยเป็น pregnancy 16+1 weeks of gestation with left ovarian tumor ผู้ป่วยได้รับการทำ Left salpingoohorectomy และ peritoneal washing หลังผ่าตัดไม่มี ภาวะแทรกซ้อน ผลการตรวจทางพยาธิวิทยาทราบว่าเป็น มะเร็งรังไข่ชนิด Dysgerminoma ในระยะ IA ผู้ป่วยเลือก ตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด ภายหลังสามารถคลอดบุตรได้เองทางช่องคลอดที่อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ ได้ทารกเพศหญิง น้ำหนัก 3,020 กรัม บุตรสุขภาพแข็งแรง สามารถกลับบ้านได้พร้อมมารดา โดยไม่พบภาวะแทรกซ้อน จากกรณี ศึกษาของผู้ป่วยพบว่าภาวะมะเร็งรังไข่ในหญิงตั้งครรภ์เป็นภาวะที่พบได้น้อย1 จึงสามารถนำกรณีนี้ไปใช้เป็น มาตรฐานในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ว่าควรได้รับการอุลตร้าซาวด์ บริเวณรังไข่พร้อมกับการอุลตร้าซาวด์ในไตรมาสแรก และการผ่าตัดทางนรีเวชวิทยาในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ ใกล้ไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ควรได้รับยาคลายมดลูก (Tocolytic drug) เพื่อป้องกันการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด คลอด

Author Biography

อรรถยา รัตนแก้ว, กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก



References

1. จิตรากานต์ เจริญบุญ. Ovarian tumor in pregnancy [Internet]. เชียงใหม่: ภาควิชาสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554 [เข้าถึงเมื่อ 29 เม.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก:https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php? option=com_ content&view=article&id=534:ovarian-tumor-in-pregnancy&catid=45&Itemid=561

2. National Comprehensive Cancer Network. Ovarian Cancer (Version 1.2019). 2019 [cited 2 May 2019]. Available from: URL:https://www.nccn.org/professionals/physician_gls/pdf/ovarian.pdf

3. Koo FH, Wang KC, Chen CY, Chang WH, Yeh CC, Yang MJ, et al. An 11-year experience with ovarian surgery during pregnancy. Chin Med J 2013;76(8):452-457.

4. Kafil AK, Shamshad AH, Amit KU, Noor AF. Dysgerminoma with Pregnancy and Viable Baby: A Case Report. Oman Med J 2011;26(3):198-200.

5. Gauza JE, Reberti AG, Silva JC, Pope LZ, Santos JC, Quintana SM. Diagnosis of ovarian dysgerminoma during pregnancy. Rev Assoc Med Bras 2010;56(5):517-519.

6. Solwayo NG. Ovarian dysgerminoma presenting as a pregnancy: case report. Trop Doc 2017; 47(1):69-71.

7. Williams JW, Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Spong CY. Williams obstetrics. 25th ed. New York: McGraw-Hill Education Medical; 2018.

8. Jonathan SB, Berek & Novak's Gynecology. 16th ed. Baltimore: Wolters Kluwer Health;2019.

9. Dennis C, Andrew B, Don SD, Catheryn MY. Principles and Practice of Gynecologic Oncology. 7th ed. Philadelphia: LippincottWilliams & Wilkins; 2017.

10. Jonathan SB, Neville FH. Berek and Hacker's Gynecologic Oncology. 6th ed. Philadelphia:Lippincott Williams & Wilkins; 2014.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-17