ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาปฏิชีวนะไม่ครบเทอม ของผู้ป่วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
คำสำคัญ:
ยาปฏิชีวนะ, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจบทคัดย่อ
การกินยาปฏิชีวนะไม่ครบเทอมเป็นปัญหาสำคัญในการบริหารยา ส่งผลให้การรักษาไม่ได้ผลหรือเกิดเชื้อ ดื้อยา การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานยา ปฏิชีวนะไม่ครบเทอมของผู้ป่วยในกลุ่มโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ศึกษาผู้ป่วยใน จำนวน 60 คน ในโรงพยาบาล บางระกำ จังหวัดพิษณุโลก แบ่งเป็นผู้ป่วยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม ที่ประยุกต์จากแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานยาปฏิชีวนะให้ได้ ครบเทอม กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามมาตรฐาน เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบ สัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ย ด้วยสถิติ independent t-test และ paired t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยงปัญหาสุขภาพของโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจจากการกินยา ปฏิชีวนะไม่ครบเทอม การรับรู้ความรุนแรงโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจจากการกินยาปฏิชีวนะไม่ครบเทอม การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคของการกินยาปฏิชีวนะให้ครบเทอม ความรู้เรื่องยาปฏิชีวนะและพฤติกรรม การกินยาปฏิชีวนะได้ครบเทอมในการรักษาโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ และ มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปคือโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยา ปฏิชีวนะไม่ครบเทอมมีประสิทธิผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาปฏิชีวนะไม่ครบเทอม ในการรักษาโรค ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจให้ได้ถูกต้อง บุคลากรสาธารณสุขสามารถนำโปรแกรมดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เพื่อลด ปัญหาการกินยาปฏิชีวนะไม่ครบเทอมได้
References
2. World Health Organization. The evolving threat of antimicrobial resistance : options for action. [cited24/10/2018] Avialablefrom URL:https://www.who.int/iris/handle/10665/44812.
3. Phumart P, Phodha T, Thamlikitkul V, Riewpaiboon A, Prakongsai Phusit, et al. Health and Economic Impacts of Antimicrobial Resistant Infection in Thailand: A Preliminary Study. J Health Syst Res 2012; 6(3):352-60.
4. Sumpradit N, Sutthachit S, Poonpholsap S, Chuanchuen R, Pracongsai P. Landscape of antimicrobial resistance situation and action in Thailand. Bangkok:Aksorn graphic and design;2015.
5. Mongkonchaipak J, Ruamsook J, Chaiprateab A. The Study of customer's knowledge and behavior in using antibiotics at community drug store in Pathum Thani Province. EAU Heritage J 2012;6(2):91-100.
6. Ginkajon W, Kanjanawachirakun S. Antibiotics Use Behavior of Patients in Health Promotion Hospital, Regional Health Promotion Center 3. [cited24/10/2018] Avialable from URL:https://hpc3.anamai.moph.go.th/hpc/vijai/tong1.20454.pdf.
7. Pharmaceutical Department. Annual report of Pharmaceutical Department. Bangrakam Hospital, one community;2016. 8. Taweerat P. Research methodology in behavioral sciences and social sciences. 7th ed. Bangkok: Srinakharinwirot University; 1997.
9. Khotcha P. Therawiwat M, Imamee N, Chandanasotthi P, Tuberculosis education program for male prisoner TB patients in medical coreectional institute. J Health Educ 2009;32(111):42-58.
10. Chanvech P. Effects of behavioral modification program for taking antiretroviral drugs adherence among HIV infected young patients Khon Kaen hospital, Khon Kaen province. KKU J Public Health Res 2013;6(1):21-8.
11. Edward L. Machtinger. Adherence to HIV Antiretroviral Therapy HIV InSite Knowledge Base. [cited28/10/2016] Avialable from URL:https://rdhsj.moph.go.th/ejournalEG/62.html.