การจัดการอาการปวดข้อของวัยรุ่นโรคธาลัสซีเมียที่ได้รับยาขับเหล็กดีเฟอริโพรน

ผู้แต่ง

  • เรืองฤทธิ์ โทรพันธ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี 34000
  • รัสวรรณ แสนคำหมื่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี 34000

คำสำคัญ:

การจัดการอาการ, ปวดข้อ, วัยรุ่นโรคธาลัสซีเมีย, ยาขับเหล็ก

บทคัดย่อ

โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคที่พบบ่อยในประเทศไทย และเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ การรักษาส่วนใหญ่เป็น การรักษาแบบประคับประคองโดยการให้เลือด ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญและเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ คือ ภาวะเหล็กเกิน และก่อให้เกิดผลเสียต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ และระบบต่อมไร้ท่อ นำไปสู่โรคแทรกซ้อน อื่นๆ ตามมา ดังนั้น วัยรุ่นโรคธาลัสซีเมียที่มีภาวะเหล็กเกินจึงต้องได้รับการรักษาโดยการให้ยาขับเหล็กและ ต้องเผชิญกับภาวะสุขภาพและอาการปวดข้อจากการรักษา ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดและมีความทุกข์ทรมาน การจัดการกับอาการปวดข้อที่มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านสุขภาพและการเจ็บป่วย และ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อประสบการณ์การรับรู้ของวัยรุ่นโรคธาลัสซีเมีย เพราะบุคคลจะมีการ รับรู้และรู้สึกว่าร่างกายหรือพฤติกรรมมีการเปลี่ยนแปลงหรือผิดปกติไปจากเดิม และมีการประเมินถึงความรุนแรง ของอาการ และผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต รวมทั้งมีการตอบสนองต่ออาการที่บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจ วัฒนธรรม และสังคม ถ้าวัยรุ่นโรคธาลัสซีเมียมีการจัดการอาการที่ดีและมีประสิทธิภาพจะทำให้อาการ นั้นทุเลาลง และบรรเทาความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้น ทำให้สามารถดำเนินชีวิตในการทำกิจกรรมได้ปกติ และมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น

References

1. วิปร วิประกษิต. แนวทางเวชปฏิบัติในการรักษาภาวะเหล็กเกินด้วยยาดีเฟอริโพรน:Clinical Practice Guideline for Deferiprone in Patients with Iron Overload. [cited 2018 Jun 19]. Availabel from: URL: https://www. gpo.or.th/LinkClick.aspx? fileticket =i%2BB HkV36HNw% 3D&tabid= 118&language=en-US

2. Laosombat W. Thalassemia. Bangkok:O.S. Printing House;1998.

3. กิตติ ต่อจรัส. การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดในธาลัสซีเมีย:Allogeneic stem cell transplantation of thalassemia major. [อินเตอร์เนต]. 2555. [เข้าถึงเมื่อ 19 มิถุนายน 2561]. เข้าถึง ได้จาก URL:http://www.thalassemia.or.th/magazine/18-1/tf-magazine-12-06.pdf

4. จิตสุดา บัวขาว, บรรณาธิการ. แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียในเวชปฏิบัติทั่วไป:Guidelines for the care of thalassemia patients in general practice. [cited 2018 Jun 19]. Availabel from: URL: http://www.thalassemia.or.th/Guidelines%20for%20thalassemia% 20care.pdf

5. Thoraphan R, Teerarungsikul N, Sananreungsak S. Factors Related to Discomfort Symptom Management of Thalassemia Children Treatedby Iron Chelation. J Boromarajonani Coll Nurs Nakhon Ratchasima 2017;23(2)32-46.

6. Dodd MJ, Miaskowski C, Paul SM. Symptom clusters and their effect on the functional status of patients with cancer. Oncol Nurs Forum 2001;28(3):465-70.

7. World Health Organization [WHO]. Child and adolescent-health health and development [Internet].2004. [cited 2019 December 20] :Available from URL: http://www.who.int/child-adolescenthealth/OVERVIEW/AND/ad hove.html

8. Piaget J. The child and reality.New York:Grossman;1973.

9. Bunsithi W. Coping with chronic illness in the adolescent. In: Mahachotlertwattana P, Kanchanaset S, Bunsithi W, Areekun W, editors. Strategic care and health promotion "teenagers". Bangkok:Chai charoen;2004: P.209-13.

10. Khanthana K. Unwanted symptoms and management of symptoms of children with acute leukemia While being treated with chemotherapy. J Nurs Assoc Thai North-Eastern Div 2005;23(2)17-27.

11. Collins JJ, Byrnes ME, Dunkel IJ, Lapin J, Nadel T, Thaler HT, et al. The measurement of symptoms in children with cancer. J Pain Symptom Manage 2000;19(5):363-77.

12. Lenz ER, Pugh LC, Milligan RA, Gift A, Suppe F. The middle-range theory of unpleasant symptoms: an update. ANS Adv Nurs Sci 1997;19(3):14-27.

13. Fox SW, Lyon DE. Symptom clusters and quality of life in survivors of lung cancer. Oncol Nurs Forum 2006;33(5):931-6.

14. Grey M, Knafl K, McCorkle R. A framework for the study of self- and family management of chronic conditions. Nurs Outlook 2006;54(5):278-86.

15. Hiranthep T, Phasutharachat K, Wisisa P. Association between depression, anxiety and quality of life in patients with pain symptoms. Ramathibodi Med J 2013;36(1):13-22.

16. Kidhen S, Siripool P, Sakdisthanon S. Perception of pain and pain management children with thalassemia. J Nurs Sci Health 2016;39(1):1-11

17. Lamcharoen N, Photisuksuk C, NuiSi M. Effects of a self-care to reduce knee pain program among elderly with knee osteoarthritis, Chaisatan Subdistrict, Muangnan District, Nan Province. J Nurs Health Care 2018;36(3):107-16.

18. Ngoendee M, Rodcumdee B, Tantikosoom P. The effect of a self management program combined with reflexology on joint pain among adult patients with knee osteoarthritis. J Police Nurs 2017;9(2):163-72.

19. Kongsanae P, Kespichayawattana C. The Effect of a Mindfulness Meditation Program on Knee Painamong Older Persons with Knee Osteoarthritis. J Nurs Sci Chulalongkorn Univ2015;27(3):68-78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30