การพัฒนาระบบจ่ายยาผู้ป่วยนอกโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ บันทึกคำสั่งยาออนไลน์และจัดการคิว

ผู้แต่ง

  • เหม่ยเสียน พงศ์วิไลรัตน์ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

ระบบจ่ายยาผู้ป่วยนอก, โปรแกรมคอมพิวเตอร์, คำสั่งยาออนไลน์

บทคัดย่อ

ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เป็นสังคมผู้สูงอายุในปัจจุบัน และกำลังจะเป็น สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบต่อไป ภาวะผิดปกติที่จะเกิดตามมากับประชากรผู้สูงอายุ คือ ภาวะสมองเสื่อม ซึ่งมีกระบวนการดำเนินโรคยาวนาน และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้สูงอายุอันดับหนึ่ง ผลกระทบที่ตามหลังเกิด ภาวะสมองเสื่อม คือ ต้องพึ่งพาการดูแลและช่วยเหลือจากบุคคลรอบข้างในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันส่งผลให้คุณภาพ ชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวลดลง รวมถึงการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ปัจจุบันภาวะสมองเสื่อมไม่สามารถ รักษาให้หายขาด สิ่งที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดคือ รีบค้นหา วินิจฉัยให้การรักษาอย่างรวดเร็ว ร่วมกับการฝึกการกระตุ้น การทำงานของสมองและหลีกเลี่ยงปัจจัยสี่ยง บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอภาวะความสามารถของ สมองบกพร่องเล็กน้อย การฝึกกระตุ้นการทำงานของสมอง การนำโมบายแอพพลิเคชั่นมาใช้ในการฝึกกระตุ้นและ ฟื้นฟูการทำงานของสมองในภาวะความสามารถของสมองบกพร่องเล็กน้อยก่อนวัยสูงอายุร่วมกับเปรียบเทียบข้อดี ของการฝึกกระตุ้นการทำงานของสมองระหว่างโมบายแอพพลิเคชั่นกับวิธีการดั้งเดิม ในด้านความรวดเร็วในการ ประมวลผล ความเที่ยงตรง ความหยืดหยุ่น ความสะดวกสบายความประหยัดและความสร้างสรรค์ที่สามารถใช้งาน ได้บนสมาร์ทโฟนทั้งระบบไอโอเอส และแอนดรอยด์ ในยุคไทยแลนด์ 4.0 สรุปว่าการใช้โมบายแอพพลิเคชั่นมีข้อดี กว่าวิธีการแบบดั้งเดิมในเกือบทุกด้าน หากมีการออกแบบที่เหมาะสมและปรับให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน รวมถึงการเตรียมความพร้อมของผู้ใช้งานเพื่อลดความตื่นกลัวเทคโนโลยี

References

1. BuddhachinarajPhitsanulok Hospital. Annual Report 2016 [internet]. [cited 2018 Jul 1]. Available from: URL: http://www.budhosp.go.th/home/wp-content/uploads/2018/06/Report59-1.pdf

2. Office of the Public Sector Development Commission. The government's assessment guidelines in accordance with measures to improve the efficiency of government agencies. Fiscal year 2017.Bangkok:Office of the Public Sector Development Commission; 2017.

3. Chanbancherd P, Wajajamroen B, Kumkaew J, Thaipanich A, Plangsaguan A, Papsamoot N. Study on system design for efficiency enhancement by Waste Reduction Technique in Out-patient Pharmacy Unit at NopparatRajathanee Hospital. Thai Pharm Health Sci J 2012;7(4):162-6.

4. Pongvilairut M. Novel queuing system of drug dispensing in Outpatient Department. Buddhachinaraj Med J 2015;32(3):261-8.

5. Soontornpas C, Soontornpas R, Chanatepaporn P, Areemite P. Work measurement of Pharmacy Service by Stop watch Technique. TJHP 2007;17(Suppl):S17-26.

6. Chinvarakorn C. Reduction of drug dispensing time for Out-patients at Somdet phraphutthalertla Hospital. J Health Sci 2016;25(4):664-72.

7. Prayoonhong T, Doasodsai P. Work Study and Work Design of an Outpatient Dispensing Service at Phimai Hospital, Nakornratchasima. Isan J Pharm Sic 2008;4(2):24-35.

8. Khongmuengphet K. The development of pharmaceutical queuing management and operational data storage using computer systems of Outpatient pharmacy Krabi Hospital. Clin Pharm Bull 2012;18 (1): 71-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30