การพัฒนาแนวทางป้องกันวัสดุตกค้างในร่างกายผู้ป่วยผ่าตัด โดยประยุกต์ใช้ซิกซ์ ซิกมา

ผู้แต่ง

  • สมพร เจษฏาญานเมธา หัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • วรพักตร์ สวัสดิ์เทพ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • ศิริพร ศิริวัฒนไพศาล กลุ่มงานการพยาบาลศัลยกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

คำสำคัญ:

วัสดุผ่าตัดตกค้าง, ซิกซ์ ซิกมา, ดีมาอิก

บทคัดย่อ

การผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาโรคเพื่อขจัดโรคหรือหยุดยั้งความผิดปกติต่างๆ ปัญหาที่มีโอกาสเกิดขึ้นตามมาคือ วัสดุตกค้างในร่างกายผู้ป่วยหลังผ่าตัดการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางป้องกันวัสดุตกค้างในร่างกาย ผู้ป่วยผ่าตัดโดยประยุกต์ใช้ซิกซ์ ซิกมากลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วย ผ่าตัดช่องท้อง ช่องอก ช่องเชิงกราน 40 คน กลุ่มพยาบาลวิชาชีพ 42 คน บันทึกการพยาบาลผา่ ตัด 35 ชุด เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบตรวจสอบรายการการป้องกันการตกค้างของวัสดุในร่างกายผู้ป่วยผ่าตัด แผนผัง วิเคราะห์กระบวนการ แผนผังก้างปลา วิธีดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอน ได้แก่ กำหนดขอบเขตปัญหา วัดสภาพปัญหา วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ปรับปรุงและควบคุม ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการป้องกันวัสดุตกค้างมี 9 ขั้นตอน ปัญหาที่พบคือมีการปฏิบัติตามกิจกรรมได้น้อยกว่าร้อยละ 80 เกือบทุกขั้นตอน สาเหตุของปัญหามาจาก 4 ปัจจัย ได้แก่ บุคคล วัสดุผ่าตัด วิธีการและสภาพการทำงาน นำไปกำหนดแนวทางป้องกัน 5 มาตรการ ประกอบด้วย กระตุ้นจิตสำนึกรับผิดชอบ บันทึกจำนวนเครื่องมือทันทีและชัดเจน ปรับปรุงการจัดวางและการนับผ้าซับโลหิต ที่ใช้แล้ว ควบคุมกำกับการบันทึกผ้าซับโลหิตที่บรรจุในแผลหลังผ่าตัด ลดการเสียงดังขณะตรวจนับ ผลการนำไปใช้ พบว่าการป้องกันวัสดุตกค้างมีคะแนนเพิ่มจากร้อยละ 80.7 เป็น 97.0 ระดับคุณภาพเพิ่มจาก 2.2 เป็น 3.1 ซิกมา

References

1. The Healthcare Accreditation Institute. (Public Organization) Patient safety goals:SIMPLE Thailand 2018. Bangkok:Famous and successful, 2018.

2. The Joint Commission. Sentinel Event Data General Information 4Q 2018 Update. [cited 2018 November 1]. Available from:URL:https://www.jointcommission.org/assets/1/6/General_Information_4Q_2018.pdf

3. Williams TL, Tung DK, Steelman VM, Chang PK, Szekendi MK. Retained surgicalsponges:findings from incident reports and a cost-benefit analysis ofradiofrequency technology. J Am Coll Surg 2014;219(3):354-64.

4. Chen Q, Rosen AK, Cevasco M, Shin M, Itani KM, Borzecki AM. Detecting patient safety indicators: How valid is "foreign body left during procedure" in theVeterans Health Administration?. J Am Coll Surg 2011;212(6):977-83.
5. AORN. Guidelines for perioperative practice 2018 edition. Association of PeriOperative Registered Nurses (AORN):Denver;2018.

6. Computer center. Intranet program of Adverse event reporting. Buddhachinaraj Phitsanulok hospital. 2018.

7. Butsripoom B, Vajiratanakorn S, Permpech R. Development of Adhesive Blades and Needles Device Counters Using in the Operating Room. Rama Nurs J 2016;22(1):1-8.

8. Kollengode A. How to Achieve Zero Retained Foreign Objects with DMAIC.[cited 2019 August 29]. Available from: URL: https://www.processexcellencenetwork.com/businessprocess-management-bpm/columns/how-to-achieve-zero-retained-foreign-objects-

9. Furterer SL. Lean Six Sigma for the healthcare enterprise. New York:Springer;2012.

10. Polit DF, Hungler BP. Nursing Research Principles and Methods. 6th ed. Philadelphia:Lippincott;1991.

11. Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. ชี้แนวโน้มการฟ้องร้องทางการแพทย์สูงขึ้นเรื่อยๆ. [cited 2019 Jan 24]. Available from: URL https://www.hfocus.org/content/2019/01/16725

12. McGinleyP. Using Six Sigma to Improve Patient Safety in the Perioperative Process. [cited 2019 Jan 22]. Available from: URL:https://www.psqh.com/analysis/usingsix-sigma-to-improve-patient-safety-inthe-perioperative-process/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30