การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับ เครื่องมือประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ที่ใช้ในงานวิจัยอาชีวอนามัยของไทย

ผู้แต่ง

  • Weeraporn Suthakorn
  • Wichit Srisupan
  • Wanpen Songkham

คำสำคัญ:

เครื่องมือประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์, การทบทวนวรรณกรรม, งานวิจัยอาชีวอนามัย

บทคัดย่อ

การประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์มีความสำคัญต่อการค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของการเกิด อาการบาดเจ็บในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อของคนทำงาน การศึกษานี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ จากรายงานการวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับอาชีวอนามัยที่ดำเนินการตั้งแต่ปี 2539-2559 เพื่อสรุปและทบทวนเครื่องมือ ที่ใช้ประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ในงานวิจัยของประเทศไทย ค้นจากฐานข้อมูลงานวิจัยทั้งหมด 10 แหล่ง พบจำนวนงานวิจัย 425 เรื่อง จากคำค้นที่เกี่ยวข้อง และทำการคัดกรองตามเกณฑ์ที่กำหนดเหลือจำนวนเรื่องที่ใช้ วิเคราะห์ทั้งหมด 16 เรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี content analysis ประกอบด้วย เนื้อหาข้อมูลที่เครื่องมือใช้เก็บ คุณลักษณะของเครื่องมือ ลักษณะการนำเครื่องมือไปใช้ และ คุณสมบัติทางจิตมิติของเครื่องมือ ผลการวิเคราะห์ พบว่าเครื่องมือประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ที่ใช้ในงานวิจัยของไทยมีทั้ง 3 รูปแบบ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และ แบบสำรวจ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เกิดจากการพัฒนาขึ้นเองโดยผู้วิจัย ตามบริบท การทำงานของสถานประกอบการที่ใช้เก็บข้อมูล ส่วนแบบสำรวจจากทุกงานวิจัยนำมาจากเครื่องมือมาตรฐาน ที่ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศสร้างไว้แล้ว ลักษณะการนำเครื่องมือไปใช้ในการประเมินความเสี่ยงในสถานประกอบ การที่หลากหลายต่างกัน และใช้ในขนาดกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 15 คนถึง จำนวนมากกว่าพันคน โดยแบบสัมภาษณ์ และแบบสำรวจมีอัตราการตอบกลับครบถ้วน ขณะที่แบบสอบถามมีค่าเฉลี่ยการตอบกลับที่ร้อยละ 91.7 ในด้าน คุณภาพของเครื่องมือ ครึ่งหนึ่งของงานวิจัยไม่ได้ระบุการตรวจสอบคุณภาพ อย่างไรก็ตามเครื่องมือที่ได้รับการ ตรวจสอบคุณภาพนั้นพบว่าค่าสถิติของการทดสอบอยู่ในระดับที่ดีถึงดีมาก โดยสรุป การศึกษาทบทวนนี้ชี้ให้เห็น ถึงความหลากหลายของเครื่องมือที่ใช้ประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ ทำให้มีทางเลือกในการนำเครื่องมือมา ใช้ได้ ข้อแนะนำที่เกิดจากผลการค้นพบนี้คือการเลือกเครื่องมือที่มีอยู่แล้วปรับให้เข้ากับลักษณะการทำงาน ของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ควรเลือกใช้เครื่องมือมากกว่าหนึ่งประเภทจะช่วยให้เก็บข้อมูลความเสี่ยงได้ครอบคลุม ทั้งนี้เพื่อให้สามารถนำไปจัดการแก้ไขปัญหาด้านการยศาสตร์ได้อย่างเหมาะสมต่อไป

Author Biographies

Weeraporn Suthakorn

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50200

Wichit Srisupan

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50200

Wanpen Songkham

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50200

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-04