การพัฒนารูปแบบการจัดการพยาบาล
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การจัดการพยาบาล, การพยาบาลบทคัดย่อ
คุณภาพของการพยาบาล เป็นการสะท้อนของผลลัพธ์ของการจัดการพยาบาลในโรงพยาบาลที่สำคัญ ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการพยาบาลในโรงพยาบาล สำหรับหอผู้ป่วยสามัญ ศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนาในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ระหว่างเดือน กรกฎาคม 2560 ถึงเดือนพฤษภาคม 2561 กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยสามัญ จำนวน 124 คน 2) ข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยในหอผู้ป่วยสามัญจำนวน 240 ราย ใน 8 หอผู้ป่วย การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สำรวจสภาพปัญหา และการจัดรูปแบบการจัดการพยาบาล ในโรงพยาบาลพุทธชินราช ระยะที่ 2 นำข้อค้นพบมาพัฒนารูปแบบการจัดการพยาบาลในโรงพยาบาล ระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แนวคำถามในการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม แบบสอบถามความคิดเห็น แบบการเฝ้าระวังการเกิดแผลกดทับ แบบประเมินคุณภาพการบันทึก ทางการพยาบาล และแบบการเฝ้าระวังความคลาดเคลื่อนทางยา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Wilcoxon Signed Test ผลการวิจัย พบว่าได้รูปแบบการจัดการพยาบาล ประกอบด้วย การมอบหมายงานแบบ Case assignment & Function (CF) กระบวนการดูแลผู้ป่วยแบบ GEN FDAR C และรูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลแบบ Safety goal หลังการ ใช้รูปแบบการจัดการพยาบาลในหอผู้ป่วยสามัญ อัตราความสมบูรณ์การบันทึกการพยาบาลเพิ่มขึ้น อัตราความ คลาดเคลื่อนการบริหารยาระดับ E up ลดลง อัตราการเกิดแผลกดทับลดลง และพยาบาลวิชาชีพมีความคิดเห็นต่อ รูปแบบการจัดการพยาบาลอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน