ทัศนคติของนิสิตแพทย์ต่อการเรียนแบบขวนขวายเรียนรู้ด้วยตนเองในรายวิชารังสีวิทยา

ผู้แต่ง

  • Chalakot Dejarkom กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 65000
  • Kosa Sudhorm กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

การเรียนแบบขวนขวาย, ทัศนคติ, รังสีวิทยา

บทคัดย่อ

การเรียนแบบขวนขวายเรียนรู้ด้วยตนเองได้นำมาใช้ในโรงเรียนแพทย์ แต่ยังไม่พบวิจัยเกี่ยวกับทัศนคติ ต่อการเรียนแบบขวนขวายทุกรูปแบบในวิชารังสีวิทยา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินทัศนคติของนิสิตแพทย์ ต่อการเรียนแบบขวนขวายเปรียบเทียบกันในแต่ละรูปแบบในวิชารังสีวิทยาโดยศึกษาในนิสิตแพทย์ชั้นปี 5 ศูนย์แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพุทธชินราช ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาเลือกรังสีวิทยาในปีการศึกษา 2559 จำนวน 59 คน ซึ่งได้รับการเรียนแบบเป็นทีม การเรียนรู้จากฟิล์มผู้ป่วย การเรียนจากตัวอย่างผู้ป่วยการนำเสนอกลุ่ม และ การเรียนอัลตราซาวด์ภาคปฏิบัติ และได้ตอบแบบสอบถามหลังเลิกเรียนเพื่อประเมินทัศนคติต่อการเรียนแบบ แบบขวนขวายเรียนรู้ด้วยตนเอง 11 หัวข้อ พบว่าการเรียนแบบเป็นทีมได้คะแนนรวมเฉลี่ยสูงสุด (3.37 ± 0.82) และการเรียนอัลตราซาวด์ภาคปฏิบัติได้คะแนนรวมเฉลี่ยน้อยสุด (2.43 ± 0.84) การเรียนจากตัวอย่างผู้ป่วย ได้คะแนนสูงสุดในห้าหัวข้อ เนื่องจากต้องมีการเตรียมตัวและการประสานงานที่ดีเพื่อการนำเสนอที่ดีที่สุดการเรียน แบบเป็นทีมได้คะแนนสูงสุดในหัวข้อการทำงานเป็นทีมซึ่งเข้าได้กับวัตถุประสงค์ของการเรียนนี้ขณะที่นักศึกษา ได้ประโยชน์โดยตรงจากผู้สอนในการเรียนรู้จากฟิล์มผู้ป่วย ทำให้ได้คะแนนสูงสุดในหัวข้อการให้ข้อมูลสนับสนุน จากอาจารย์ การเรียนอัลตราซาวด์ภาคปฏิบัติได้รับคะแนนต่ำสุดในแปดหัวข้อเนื่องจากการมีส่วนร่วมน้อยและ เวลาน้อย โดยสรุปการเรียนแบบขวนขวายในแต่ละรูปแบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน จึงควรนำการเรียนแบบขวนขวาย ทุกรูปแบบมาใช้ร่วมกันเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-20