การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
คำสำคัญ:
โปรแกรมการส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, กายภาพบำบัดบทคัดย่อ
โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสำคัญของสาธารณสุขทั่วโลก การวิจัยเชิงพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการส่ง เสริมความสามารถการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ที่โรงพยาบาลสรรพ สิทธิประสงค์ อุบลราชธานี การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังป่วยจนกลับบ้าน ระยะที่ 2 พัฒนาและนำเสนอโปรแกรม โดยใช้ข้อมูลที่ศึกษาจากระยะที่ 1 ร่วมกับกระบวนการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ในการสร้าง และพัฒนาโปรแกรมและเครื่องมือโปรแกรมประกอบด้วย การประเมินสภาพผู้ป่วย การให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองโดยดูวีดิ ทัศน์ การนวดแผนไทย การประคบร้อน สาธิตและสาธิตย้อนกลับการทำกายภาพบำบัด การบริหารร่างกาย การติดตามปฏิบัติกิจกรรมที่บ้าน โดยมีการเยี่ยมบ้าน ในสัปดาห์ที่ 1 และ 5 และโทรศัพท์ ในสัปดาห์ที่ 2, 4 และ 6 และระยะที่ 3 ทดลองใช้และ ประเมินผลการใช้โปรแกรม ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและผู้ดูแลอย่างละ 30 คน พบว่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการปฏิบัติ กิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังเข้าโปรแกรม ( = 81.67, SD = 20.94) สูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรม ( = 62.5, SD = 16.80) เท่ากับ 19.17 (p < 0.001) สรุปคือการพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมองระยะจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลช่วยให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันดีขึ้น