ผลของโปรแกรมการพยาบาลตามทฤษฏีของรอยต่อพฤติกรรมการปรับตัว และระดับการควบคุมโรคหืด

ผู้แต่ง

  • Somporn Meemano
  • Chatuphon Suemee
  • Sunee Jirasamitha

คำสำคัญ:

โปรแกรมการพยาบาลตามทฤษฎีของรอย, พฤติกรรมการปรับตัว, การควบคุมโรคหืด

บทคัดย่อ

โรคหืดเป็นโรคเรื้อรังของหลอดลมที่พบได้บ่อย การควบคุมไม่ให้อาการกำเริบต้องใช้ทั้งยาและการปรับพฤติกรรมร่วมกัน งานวิจัย แบบวัดซ้ำในกลุ่มเดียวกันนี้ มีวัตถุประสงค์สำรวจผลการใช้โปรแกรมการปรับตัวตามแนวทฤษฎีของรอยต่อพฤติกรรมการปรับตัว และการควบคุมความรุนแรงของโรคหืด ศึกษาในผู้ป่วยโรคหืดที่เคยนอนรักษาด้วยโรคหืดกำเริบในโรงพยาบาลพุทธชินราช  พิษณุโลก จำนวน 18 คน ตั้งแต่ เดือนมีนาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2557 ในการปรับพฤติกรรมผู้ป่วยได้รับโปรแกรม 5 ขั้นตอน คือ 1)  ประเมินพฤติกรรมผู้ป่วย 2) วินิจฉัยปัญหา 3) จัดลำดับความสำคัญของปัญหาและการตั้งเป้าหมาย 4) ปฏิบัติกิจกรรมสำหรับผู้ป่วย  และ 5) ประเมินผลเครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามการปรับตัวตามกรอบแนวคิดทฤษฎีของรอย 4 ด้าน คือการปรับตัวด้านร่างกายด้านอัตมโนทัศน์ ด้านบทบาทหน้าที่และด้านการพึ่งพาผู้อื่น และแบบสอบถามการวัดระดับการควบคุมโรคหืดนำเสนอข้อมูลด้วยค่า  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ด้วยวิธี repeated measures one-way ANOVA ผลการวิจัย ค่าเฉลี่ยของ การปรับตัวของผู้ป่วยโรคหืดหลังเข้าโปรแกรมเสร็จสิ้น 3 เดือน และ 6 เดือน เพิ่มขึ้น (152.22 และ 150.55) และค่าเฉลี่ยระดับการ ควบคุมโรคหืดหลัง 3 เดือนและ 6 เดือนเพิ่มขึ้นเช่นกัน (19.94 และ 20.38) นั่นคือโปรแกรมการปรับตัวตามแนวทฤษฎีของรอยมีผล ต่อการควบคุมความรุนแรงของโรคหืด

Author Biographies

Somporn Meemano

กลุ่มงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 65000

Chatuphon Suemee

กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 65000

Sunee Jirasamitha

สำนักงานประกันสุขภาพเขต 2 พิษณุโลก 65000

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-18