การเตรียมเลือดก่อนการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมกรณีผ่าตัดไม่เร่งด่วน
คำสำคัญ:
การเตรียมเลือดก่อนการผ่าตัด, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, ค่าความเข้มข้นของเลือดบทคัดย่อ
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้มีการพัฒนาให้แผลผ่าตัดเล็กลง เสียเลือดน้อยลง การให้เลือดหลังการผ่าตัดลดลงอย่างมาก ส่ง ผลให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น ปัจจุบันยังมีการเตรียมเลือดก่อนการผ่าตัดทุกราย แต่ไม่ได้ใช้จริงทั้งหมด ทำให้เสียงบประมาณและเวลา ในการเตรียมเลือด งานวิจัยเชิงพรรณนาย้อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าฮีโมโกลบินและความเข้มข้นของเลือดที่เหมาะสมใน การจองเลือดก่อนการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ศึกษาข้อมูลจากผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ที่โรงพยาบาลพุทธชิน ราช พิษณุโลก ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 ผลการศึกษา พบว่ามีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โดยผู้วิจัย 366 ราย เตรียมเลือดก่อนผ่าตัด 380 ยูนิต แต่ให้เลือดจริง 34 ยูนิต ค่าอัตราการเตรียม: การใช้เลือดเท่ากับ 11.17 สัดส่วนของการใช้เลือดจริง: การเตรียมเลือดเท่ากับ 8.9 และพบว่าผู้ป่วยที่มีค่าฮีโมโกลบินน้อยกว่า 12กรัม/เดซิลิตร หรือความ เข้มข้นของเลือด (ฮีมาโตคริต) น้อยกว่า 36% มีการให้เลือดมากเป็น 4.5 และ 5.7 เท่าของผู้ป่วยที่มีค่าฮีโมโกลบินมากกว่า 12 กรัม/เดซิลิตร หรือความเข้มข้นของเลือดมากกว่า 36% ตามลำดับ สรุปว่าการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมีการเตรียมเลือดเกินความ ต้องการใช้เลือด ควรนำไปพัฒนาเป็นแนวทางในการเตรียมเลือดในผู้ป่วยที่ผ่าตัดข้อเข่าเทียมให้มีการจองเลือดเฉพาะในรายที่มีค่า ฮีโมโกลบินน้อยกว่า 12 กรัม/เดซิลิตร หรือความเข้มข้นของเลือดน้อยกว่า 36%