แรงยึดเฉือนของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันโดยใช้เทคนิคกรดกัดและล้าง และสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ในฟันน้ำนม

ผู้แต่ง

  • Wanna Lowphruckmanee
  • Nakharin Khueanpet

คำสำคัญ:

เทคนิคกรดกัดและล้าง, เทคนิคเซลฟ์เอทช์, แรงยึดเฉือน

บทคัดย่อ

โรคฟันผุเป็นโรคที่พบมากที่สุดของฟันน้ำนม การป้องกันฟันผุบนด้านบดเคี้ยวใช้วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันการใช้สารยึดติดทางทันต กรรมทำโดยใช้เทคนิคกรดกัดและล้างหรือเทคนิคเซลฟ์เอทช์ บทรายงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบแรงยึดเฉือนของ วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันจากการใช้เทคนิคกรดกัดและล้างและสารยึดติดเซลฟ์เอทช์ในฟันน้ำนม วิจัยในฟันกรามน้ำนมจำนวน 80 ซี่  ที่ยึดติดในเรซินหล่อใส ในระดับต่ำกว่าขอบท่อพลาสติกประมาณ 2 มิลลิเมตร ขัดผิวเคลือบฟันให้เรียบ มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 2 มิลลิเมตร แบ่งกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่ายออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 20 ซี่ กลุ่มที่ 1 ใช้เทคนิคกรดกัดและล้างและ เฮลิโอซิล กลุ่มที่ 2 ใช้เทคนิคกรดกัดและล้างและเฮลิโอซิลเอฟ กลุ่มที่ 3 เซลฟ์เอทช์และเฮลิโอซิล กลุ่มที่ 4 เซลฟ์เอทช์และเฮลิโอซิลเอฟ จากนั้นทดสอบแรงยึดเฉือนด้วยเครื่องทดสอบสากลอินสตรอนที่ความเร็ว 0.5 มิลลิเมตรต่อนาที วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยแรงยึดเฉือนและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันคือ 13.03 ± 2.68, 12.76 ± 2.97, 12.45 ± 2.90 และ 13.27 ± 2.85 เมกกะปาสคาลตาม ลำดับ (p = 0.819) สรุปว่าแรงยึดเฉือนของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันบนผิวเคลือบฟันโดยใช้ใช้เทคนิคกรดกัดและล้างและสารยึดติด เซลฟ์เอทช์ในฟันน้ำนมมีค่าไม่แตกต่างกัน ดังนั้นการใช้สารยึดติดเซลฟ์เอทช์เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเคลือบหลุมร่องฟัน  เนื่องจากทำง่าย ลดขั้นตอน ลดเวลา ลดการปนเปื้อนจากน้ำและน้ำลายและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำฟันเด็ก

Author Biographies

Wanna Lowphruckmanee

กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก, อำเภอเมือง, จังหวัดพิษณุโลก, 65000

Nakharin Khueanpet

งานห้องปฏิบัติการ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, อำเภอเมือง, จังหวัดพิษณุโลก, 65000

References

etch and rinse technique, self etch technique, shear bond strength

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-14