การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด
คำสำคัญ:
รูปแบบการดูแล, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน, ยาละลายลิ่มเลือดบทคัดย่อ
โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุสำคัญในการเสียชีวิตของผู้สูงวัย การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการดูแลผู้ ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลันที่ได้รับยา rt-PA ที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย ช่วงเดือน มกราคม พ.ศ. 2558-กรกฎาคม พ.ศ. 2560 การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา 2) การพัฒนารูป แบบการดูแลผู้ป่วย 3) การนำรูปแบบที่พัฒนาไปใช้ 4) การประเมินผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยเฉพาะเจาะจงจากกลุ่มเจ้า หน้าที่ทีมสหสาขาวิชาชีพ จำนวน 35 คน และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับยา rt-PA จำนวน 36 ราย สถิติที่ใช้ paired t test ผลการศึกษาพบว่า การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลันโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ มีการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลร้อยละ 96.5 ด้านผู้ป่วย พบว่าระยะเวลาตั้งแต่เกิดอาการจนได้รับยาละลายลิ่มเลือดเฉลี่ย 2 ชั่วโมง 29 นาที ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง เปรียบเทียบแรกรับถึงวันกลับบ้าน คะแนนลดลงเฉลี่ย 8 คะแนน (p < 0.001) ความ สามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเปรียบเทียบแรกรับถึงกลับบ้าน คะแนนดีขึ้นเฉลี่ย 62 คะแนน (p < 0.001) ภาวะทุพพลภาพ จากโรคหลอดเลือดสมอง ระดับ 0-1 ขณะกลับบ้านพบร้อยละ 51.1 พบภาวะแทรกซ้อนจากเลือดออกในสมองร้อยละ11.1 สรุปคือ การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันที่ได้รับยา rt-PA โดยทีมสหสาขาร่วมกันดูแลผู้ป่วย ทำให้มีผลการรักษาที่ดีขึ้น