ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก

ผู้แต่ง

  • Jirat Tosibphanom
  • Chalermkiat Saheng
  • Nattaya Charoentanochat
  • Apichaya Anukul
  • Kunnika Tichooto
  • Sakchai Chaimakapurk
  • Surachai Dejarkom

คำสำคัญ:

การตกเลือดหลังคลอดระยะแรก, สาเหตุ, ปัจจัยเสี่ยง, มดลูกไม่หดรัดตัว

บทคัดย่อ

ภาวะตกเลือดหลังคลอดในระยะแรกเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของหญิงคลอดบุตร มีหลายปัจจัยที่มีผลต่อภาวะตกเลือด การ ศึกษาแบบกลุ่มตัวอย่าง-กลุ่มควบคุมนี้ สำรวจปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร  พิษณุโลก โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ที่มาคลอด ระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2557 ถึงเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ประกอบ ด้วยกลุ่มผู้ที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอด จำนวน 118 คนและกลุ่มควบคุม 236 คน พบว่า สาเหตุของการตกเลือดเกิดจากภาวะมดลูก ไม่หดรัดตัวมากที่สุด (ร้อยละ 45.8) รองลงมาคือการฉีกขาดของช่องทางคลอด (ร้อยละ 27.1) สาเหตุซึ่งเกิดจากรกพบร้อยละ  14.4 และเกิดจากสาเหตุอื่นๆ หรือพบหลายสาเหตุร่วมกันอีกร้อยละ 12.7 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตกเลือดหลังคลอดอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติได้แก่ การคลอดบุตรตั้งแต่ 4 ครั้งขึ้นไป (OR 2.753; 95%CI 1.209-6.272, p-value 0.013) การตั้งครรภ์แฝด (OR 6.268; 95%CI 1.245-31.548, p-value 0.019) การใช้หัตถการช่วยคลอด (OR 3.142; 95%CI1.447-6.823, p-value 0.003) รก ค้าง (OR 12.142; 95%CI 2.645-55.737) รกเกาะต่ำ (p-value < 0.001) และการคลอดระยะที่สองนานผิดปกติ (OR  2.734;95%CI 2.250-3.324, p-value 0.003) ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปใช้เฝ้าระวังหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวเพื่อ ป้องกันการตกเลือดหลังคลอดและรักษาการตกเลือดหลังคลอดอย่างทันที

Author Biographies

Jirat Tosibphanom

นิสิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000

Chalermkiat Saheng

นิสิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000

Nattaya Charoentanochat

นิสิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000

Apichaya Anukul

นิสิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000

Kunnika Tichooto

หน่วยห้องคลอด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000

Sakchai Chaimakapurk

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000

Surachai Dejarkom

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-13